การจัดการผลิตภัณฑ์และตราสินค้า

Product and Brand Management

ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์ แนวคิดการจัดการส่วนผสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์ ความหมายความสำคัญของตราสินค้า การรับรู้ของผู้บริโภคต่อภาพลักษณ์ตราสินค้า องค์ประกอบของตราินค้าในมิติต่าง ๆ คุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจเกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของผู้จัดการผลิตภัณฑ์ มีความรู้เกี่ยวกับกรจัดการกลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์และตราสินค้า และสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานการบริหารตราสินค้า การกำหนดกลยุทธ์ผลิตภัณฑ์และกลยุทธ์การสร้างตรา โดยมุ่งเน้นให้ผุ้เรียนได้มองเห็นแนวทางการนำหลักการไปประยุกต์ใช้กับการประกอบธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในอนาคตได้
ศึกษาบทบาทของผลิตภัณฑ์ แนวความคิดการจัดการส่วนผสมผลิตภัณฑ์ การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับวงจรชีวิตผลิตภัณฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ การศึกษาสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกที่มีผลกระทบต่อการกำหนดนโยบายผลิตภัณฑ์ ควาหมาย ความสำคัญของตราสินค้าในมิติต่าง ๆ คุณค่าโดยรวมของตราสินค้า
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล และรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2. มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม
3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาย สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4. เคารพในสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
6. สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
1. บรรยายพร้อมยกตัวอย่างสอดแทรกในเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้อง แล้วให้นักศึกษาร่วมอภิปรายแนวปฏิบัติที่ดี และเหมาะสม 2. อภิปรายกลุ่ม 3. กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง 4. ศึกษากรณีตัวอย่างจากการนำเสนอ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้องและเหมาะสม
3. ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
5. ประเมินจากการสอบ / แบบทดสอบ
6. ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรม / โครงการของนักศึกษา
มีความรู้ในหลักการ และความเข้าใจในสารถสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด การเงิน การผลิต และการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์กรและทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผนการปฏิบัติการ การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ มอบหมายให้ทำรายงาน โครงงาน และนำเสนอหน้าชั้นเรียน นักศึกษาทุกคนศึกษาประสบการณ์ตรงจากสถานประกอบการโดยผ่านการฝึกประสบการณ์สหกิจศึกษา หรือการฝึกงานด้านบริหารธุรกิจ
1. ประเมินผลจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติ ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการ
2. ประเมินจากการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น การบ้าน งานที่มอบหมาย รายงาน การค้นคว้าหน้าชั้นเรียน
1. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ 
2. สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3. สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
4. มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1. การศึกษาค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร และรายงานหน้าชั้นเรียน
2. การมอบหมายงาน การแก้ปัญหาจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
3. การสอบแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ที่เปิดโอกาสให้นักศึกษามีส่วนร่วมในชั้นเรียนและมีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
4. ให้นักศึกษาปฏิบัติจากสถานการณ์จริง
1. สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบ นำทฤษฎีความรู้มาประยุกต์ใช้กับกรณีศึกษาหรือกรณีตัวอย่างที่มอบให้
2. ประเมินจากการรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โครงงาน โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียนและเอกสารรายงาน
3. ประเมินจากกรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
1. มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้งสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยข้องอย่างมีจิตวิทยาที่ช่วยพัฒนาทักษะในการสร้างความสัมภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2. พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำ
3. มีความกระตือรือร้น พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วยตามกำหนดเวลา
4. มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรร
1. กำหนดการทำงานกลุ่ม โดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่ม และผลัดกันเป็นผู้รายงาน
2. ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
3. ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นแบบระดมสมอง (Bainstoming) เพื่อส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1. ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
2. ประเมินพฤติกรรม ภาวการณ์เป็นผู้นำ และผู้ติดตามที่ดี
3. สังเกตพฤติกรรมการะดมสมอง (Bainstorming)
4. ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะตามลักษณะงาน
1. สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในกาวิเคราะห์และตัดสินใจทางธรกิจ
2. สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.  สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
4. สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงนและการนำเสนอด้วยวาจา
5. สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิค วิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
6. ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
1. ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนพื้นฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
2. การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการงานที่ได้รับมอบหมาย
3. ส่งเสริมการค้นคว้า เรียบเรียงข้อมูลและนำเสนอให้ผู้อื่นเข้าใจได้ถูกต้องและให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
1. ประเมินจากผลงาน/กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์เชิงตัวเลข
2. ประเมินผลงานจากการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายแต่ลบุคคล
3. ประเมินทักษะการสื่อสารด้วยภาษา จากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 ึ7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6
1 BBABA603 การจัดการผลิตภัณฑ์และตราสินค้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 2.1 3.1 5.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 30% และ 30%
2 1.1 2.1 3.1 4.1 5.1 การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนรวบรวมโดย อาจารย์พันทิพา ปัญสุวรรณ  
 
 Brand Portfolio /ผศ.วงหทัย ตันชีวะวงศ์  - การบริหารตราสินค้าเชิงกลยุทธ์ และการสร้างคุณค่าตราสินค้า. (2554). ศิริวรรณ เสรีรัตน์
http://www.marketeer.co.th  http://www.brandage.com  www.tpaemagazine.com  www.positioningmag.com
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.2  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้ 3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน 3.2   จัดเวลานอกเวลาเรียนเพื่อให้คำปรึกษาเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการให้อาจารย์ในสาขาวิชาร่วมตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ