การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ในที่ทำงาน

Enhancing Workplace Learning Capabilities

 

1.เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับแนวคิดการทำงานเป็นทีม และสามารถนำแนวคิดไปพัฒนาตนเองและองค์การได้
2.เพื่อให้ผู้เรียนสามารถวางแผนและออกแบบการพัฒนาทีมงานได้ และสามารถขจัดความแย้งที่เกิดจากการทำงานเป็นทีมได้
3.เพื่อให้ผู้เรียนทราบถึงทักษะและภาวะผู้นำที่จำเป็นในการสร้างทีมงานและสามารถนำไปพัฒนาการทำงานเป็นทีมให้มีประสิทธิผล
 1. เพื่อให้นักศึกษามีฐานความรู้ที่เป็นรูปธรรมในการศึกษาวิชาอื่น ๆ ในสาขาวิชาการจัดการทั่วไป
 2. เพื่อให้นักศึกษาสามารถประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับการทำงานในองค์การ
ศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงาน ผลกระทบจากระดับชั้นการบังคับบัญชา บทบาทของอำนาจการปกครอง สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมกับการทำงาน ความยุติธรรมในที่ทำงาน การมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ องค์การแห่งการเรียนรู้และการออกแบบองค์การ ผลกระทบจากสถานการณ์โลก การจัดการเปลี่ยนแปลง การเรียนรู้เพื่อการเปลี่ยนแปลง การสะท้อนความคิด การประเมินผล จิตวิทยาองค์การและการให้คำปรึกษาองค์การ
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
 

 ตระหนักในคุณค่า คุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต  มีวินัย ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีม สามารถแก้ไขข้อขัดแย้ง และลำดับความสำคัญ  เคารพสิทธิ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  เคารพกฎระเบียบ ข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กร และสังคม  มีจรรยาบรรณทางวิชาการ และวิชาชีพ
ให้ทำโครงการ หรือกรณีศึกษาที่ต้องประยุกต์ความรู้ในวิชากับปัญหาจริง โดยให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่มสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในระหว่างที่ทำโครงงาน โดยการพูดคุยกับนักศึกษาเน้นความรับผิดชอบต่องาน วินัย จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในกลุ่ม ความถ่อมตนและความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และความซื่อสัตย์
สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษาที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อ (2) ข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่คาดหมาย ก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์หรือปรับโครงการให้เหมาะสมมากขึ้น
         มีความรู้เกี่ยวกับกระบวนการ/วิธีการการสร้างทีมงาน การขจัดความขัดแย้งในทีมงานและระหว่างทีมงาน และสร้างความภาคภูมิใจในทีมงาน โดยสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้

 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ และทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา  สามารถวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจ และอธิบายเกี่ยวกับกระบวนการ/วิธีการการสร้างทีมงาน การขจัดความขัดแย้งในทีมงานและระหว่างทีมงาน และสร้างความภาคภูมิใจในทีมงาน  มีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของสภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง  สามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
บรรยายหัวข้อรายละเอียดต่าง ๆ โดยใช้สื่อ PowerPoint ประกอบการบรรยายโดยให้นักศึกษาร่วมอภิปรายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้และตามด้วยตัวอย่างในการศึกษา อภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
    
1.ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ
 2.นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง
 3.วิเคราะห์กรณีศึกษา
 คิดอย่างมีวิจารณญาณ และอย่างเป็นระบบ  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ  สามารถประยุกต์ความรู้และทักษะกับการแก้ไขปัญหาการสร้างทีมงานได้อย่างเหมาะสม
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานที่กำหนดโดยใช้ความรู้วิชานี้ และนำเสนอผลงานในรูปของการอภิปรายกลุ่ม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษาและสภาพเนื้อหาในบทเรียนที่ได้ศึกษา
1.สามารถสื่อสารทั้งภาษาไทย และภาษาต่างประเทศกับกลุ่มคนหลากหลาย ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
3.สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาชี้นำสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.มีความรับผิดชอบในการกระทำของตนเอง และรับผิดชอบงานในกลุ่ม
5.สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์ทั้งส่วนตัว และส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม
6.มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
ให้ทำโครงการร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอน โดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นของรายวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
1. ประเมินรายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
2.ประเมินพฤติกรรมในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียน การทำงานส่ง
1.มีทักษะในการสร้างทีมงานที่จำเป็นที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงาน
2.สามารถแนะนำประเด็นการแก้ไขปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
3.สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งปากเปล่า และการเขียน พร้อมทั้งเลือกใช้รูปแบบของสื่อการนำเสนอได้อย่างเหมาะสม
4.สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม
ให้นักศึกษาจัดทำรายงานและนำเสนอในแต่ละคาบ
ให้คะแนนโดยวัดจากการการมีส่วนร่วม คุณภาพงาน และการนำเสนองาน
 
สามารถรับรู้ และเข้าใจการวิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
ให้ทำโครงการร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนดแทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอน โดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นของรายวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
ให้คะแนนโดยวัดจากการการมีส่วนร่วม คุณภาพงาน และการนำเสนองาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 7
1 12011409 การเสริมสร้างศักยภาพการเรียนรู้ในที่ทำงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 3.1, 3.3, 4.1, 5.1, 5.2, 5.3 การนำเสนองานเดี่ยววิเคราะห์กรณีศึกษา 3 - 6 10%
2 1.1, 2.1, 3.1, 3.3 สอบกลางภาค 9 20%
3 1.1, 1.2, 1.3, 2.1, 2.2, 2.3, 3.2, 3.3, 4.1, 5.2, 5.3 การนำเสนอผลงานกิจกรรมกลุ่ม 11-12 20%
4 1.1,1.3, 2.1, 3.1, 3.3 ทดสอบย่อย 15 10%
5 1.1, 2.1,3.1 สอบปลายภาค 17 40%
1.เนตร์พัณณา  ยาวิราช.การจัดการสมัยใหม่ (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ทริปเพิ้ลกรุ๊ป จำกัด.
2.ภานุ  ลิมมานนท์.(2547). กลยุทธ์การจัดการนวัตกรรมทางธุรกิจ (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: พี ดับบลิวพริ้นติ้ง.
3.วิฑูรย์  สิมะโชคดี. (2550).  TQM คู่มือพัฒนาองค์กรสู่ความเป็นเลิศ.กรุงเทพฯ: เนชั่นบุ๊คส์.
4.วัลลี  พุทโสม. (2550).ทฤษฎีองค์การสำหรับองค์การสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์ วิทยาลัยมิชชัน สระบุรี
5.ศลิษา  ภมรสถิต. (2551). การจัดการดำเนินงาน Operations Management (พิมพ์ครั้งที่ 3).กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์ท้อป.
6.ศิริวรรณ เสรีรัตน์ และคณะ(2541). การบริหารการตลาดยุคใหม่.  ระฟิล์มและไซเท็กซ์.
7.สมยศ  นาวัการ. (2544). Management. กรุงเทพฯ:  สำนักพิมพ์บรรณกิจ..
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาที่กำหนด
การประเมินประสิทธิผลในรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการน าแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.การสนทนากลุ่มระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
2.แบบประเมินผู้สอน แกเป็นรายวิชา
1.การประเมินผลการอภิปรายกลุ่ม
2.การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
              หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
1.การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป
2.การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์
3.การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
                   ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1.ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด
2.ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด
3.ทบทวนรายงานกลุ่มว่ามีความเหมาะสม คุณประโยชน์ต่อนักศึกษาที่จะได้รับไปประยุกต์ใช้กับตนเองภายหลังจบการศึกษาไปแล้วว่ามีประโยชน์ต่อผู้เรียนมากน้อยเพียงใด
 
               จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดรายวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 1.ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะ
2.นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
3.นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง