สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสาร

Communication Network and Transmission Lines

1. เข้าใจเกี่ยวกับคำจำกัดความคุณสมบัติต่าง ๆ ของสายส่งสัญญาณ
2. เข้าใจคุณสมบัติของสายส่งสัญญาณ
3. เข้าใจการทำงานเบื้องต้นของสายส่งสัญญาณชนิดต่าง ๆ
4. เข้าใจการ วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณสื่อสาร การออกแบบและวิเคราะห์วงจรสมมูลของโครงข่ายชนิด 1 และ 2 พอร์ต การแปลงค่าอิมพีแดนซ์ และการแมตช์ค่าอิมพิแดนซ์ของสายส่ง 
5. สามารถการประยุกต์ใช้สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสารได้
6. เห็นความสำคัญของวิชาวิศวกรรมสายส่งและโครงข่ายการสื่อสาร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เกี่ยวกับการสื่อสารแบบมีสายและไร้สาย  โครงสร้างสายส่งสัญญาณ วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณสื่อสาร  ความสัมพันธ์ของเมทริกซ์แบบ Y, Z, F, G, H  การเชื่อมต่อกันของวงจรโครงข่ายพื้นฐาน  การแปลงโครงข่าย  ปริมาณการส่งผ่าน  เทคนิควงจรการส่งผ่านสัญญาณ  การกรองคลื่น  การลดทอน  การแมตช์ค่าอิมพิแดนซ์  ทฤษฎีสายนำสัญญาณ  สมการ  กฏและวิธีการ  ตัวกลาง  ความถี่สูง  และค่าคงที่ต่างๆ  การตกกระทบและการสะท้อนคลื่น  อัตราส่วนคลื่นนิ่ง  คุณสมบัติของสายปลายเปิด ปิด และต่อโหลด  สายนำสัญญาณที่มีการสูญเสียและไม่มีการสูญเสีย  การสะท้อนในโดเมนเวลา  แผนภาพการตีกลับ (bounce diagrams)  การเกิดครอสทอล์กแบบขอบเขตใกล้ (Near end crosstalk: NEXT) และครอสทอล์กแบบขอบเขตไกล (Far end crosstalk: FEXT)  สัญญาณความแตกต่าง  สายนำสัญญาณแบบรวม  ชนิดของสายเคเบิล  สายบิดคู่ตีเกลียวชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  สายโคแอ็กเชียล  มาตรฐานการต่างสำหรับสายนำสัญญาณในปัจจุบัน  การประยุกต์ใช้สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสาร
ศึกษาเกี่ยวกับการสื่อสารแบบมีสายและไร้สาย  โครงสร้างสายส่งสัญญาณ วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณสื่อสาร  ความสัมพันธ์ของเมทริกซ์แบบ Y, Z, F, G, H  การเชื่อมต่อกันของวงจรโครงข่ายพื้นฐาน  การแปลงโครงข่าย  ปริมาณการส่งผ่าน  เทคนิควงจรการส่งผ่านสัญญาณ  การกรองคลื่น  การลดทอน  การแมตช์ค่าอิมพิแดนซ์  ทฤษฎีสายนำสัญญาณ  สมการ  กฏและวิธีการ  ตัวกลาง  ความถี่สูง  และค่าคงที่ต่างๆ  การตกกระทบและการสะท้อนคลื่น  อัตราส่วนคลื่นนิ่ง  คุณสมบัติของสายปลายเปิด ปิด และต่อโหลด  สายนำสัญญาณที่มีการสูญเสียและไม่มีการสูญเสีย  การสะท้อนในโดเมนเวลา  แผนภาพการตีกลับ (bounce diagrams)  การเกิดครอสทอล์กแบบขอบเขตใกล้ (Near end crosstalk: NEXT) และครอสทอล์กแบบขอบเขตไกล (Far end crosstalk: FEXT)  สัญญาณความแตกต่าง  สายนำสัญญาณแบบรวม  ชนิดของสายเคเบิล  สายบิดคู่ตีเกลียวชนิดไม่มีการกั้นสัญญาณรบกวน  สายโคแอ็กเชียล  มาตรฐานการต่างสำหรับสายนำสัญญาณในปัจจุบัน  การประยุกต์ใช้สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสาร
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
                พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
              1.1.1    มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
              1.1.2    มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
              1.1.3    มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม
              1.1.4      เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
          1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
                1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
                1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
                1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
                1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
                1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
               1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
                1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
                1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
                1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
                1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
               1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ ลักษณะโครงสร้างสายส่งสัญญาณ วิเคราะห์ค่าพารามิเตอร์สายส่งสัญญาณสื่อสาร
การออกแบบและวิเคราะห์วงจรสมมูลของโครงข่ายชนิด 1 และ 2 พอร์ต
การแปลงค่าอิมพีแดนซ์ และการแมตช์ค่าอิมพิแดนซ์ของสายส่ง        
 การประยุกต์ใช้สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสาร
บรรยาย  อภิปราย การทำรายงานและการนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดความเข้าใจหลักการ การคำนวณเพื่อการวิเคราะห์
2.3.2   ประเมินจากการรายงานและการนำเสนอรายงาน
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี
3.2.1    การมอบหมายงาน/การบ้านที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์
3.2.2   การมอบหมายงานให้ศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสาร
3.2.3   การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
3.3.1   สอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการเข้าใจหลักการ และการคำนวณเพื่อการวิเคราะห์ บรูณาการองค์ความรู้ในเนื้อหาของรายวิชาวิศวกรรมสายอากาศ
3.3.2   ประเมินผลจากการทำงาน/การบ้าน
3.3.3   วัดผลจากการประเมินจากรายงาน  การนำเสนอผลงาน
3.3.4   สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1   พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
4.1.2   พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
4.1.3   พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าเนื้อหาวิชาในส่วนของคุณสมบัติของสายส่งสัญญาณชนิดต่างๆ 
การนำสายส่งสัญญาณชนิดต่างๆ ไปใช้งานจริง  หรืออ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา
4.2.2   การนำเสนอรายงาน
4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
4.3.3   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1   ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
5.1.2   พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในด้านการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.3   พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ผลของตัวอย่างวงจรที่กำหนดให้
5.1.4   พัฒนาทักษะในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเรียนรู้ สืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นระบบ
5.1.5   พัฒนาทักษะในการแสวงหาความรู้ ข้อมูลสารสนเทศในการพัฒนาตนเองผู้เรียน และการปฏิบัติงานได้อย่างเหมาะสม
5.1.6   พัฒนาทักษะในการนำเสนอรายงานโดยสามารถเลือกรูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.1.7  พัฒนาทักษะในการใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษาได้
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมนำเสนอผลงาน
2.6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้ อย่างมีประสิทธิภาพ 2.6.1.2 มีทักษะในการออกแบบทางวิศวกรรม ซึ่งต้องใช้ทักษะพื้นฐานทางฝีมือและ ประสบการณ์การท างาน และฝึกทักษะการวิเคราะห์ปัญหาโดยใช้ความรู้เชิงลึกหรือหลักการทางวิศวกรรม  
2.6.2.1 สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน 2.6.2.2 สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ  
2.6.3.1 มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน 2.6.3.2 มีการประเมินผลการท างานในภาคปฏิบัติ  
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 4. ทักษะ ความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคล และความ รับผิดชอบ 5. ทักษะการ วิเคราะห์เชิง ตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยี สารสนเทศ 6.ทักษะ พิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึง ปัจจุบัน สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ มีจิตสํานึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทํางาน และการรักษา สภาพแวดล้อมต่อสังคม สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกัน เป็นอย่างดี
1 ENGEE204 สายส่งสัญญาณและโครงข่ายการสื่อสาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.3, 3.1, 5.2 สอบกลางภาค ทดสอบย่อย สอบปลายภาค 9 13 17 20% 20% 30%
2 1.3, 2.1, 3.1, 5.2 การส่งการบ้านตามที่มอบหมาย การส่งงาน ตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1-1.3, 5.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง ตลอดภาคการศึกษา 10%
              1.  กิตติพัฒน์  ตันตระรุ่งโรจน์.  ทฤษฎีสายส่งไฟฟ้า.  กรุงเทพฯ :  บริษัทพิมพ์ดี จำกัด, 2541.
               2.  ถวิล  กิ่งทอง.  ทฤษฎีโครงข่ายไฟฟ้าและสายส่ง.  พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยี
               พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง, 2538.
               3.  ปรีชา  ทรัพย์สมบูรณ์.  สายส่งกำลัง.  กรุงเทพฯ : อักษรทองการพิมพ์, 2522.
               4.  พิชัย  ภักดีพานิชเจริญ.  ทฤษฎีและการใช้งานความถี่ย่านไมโครเวฟ.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์
               ฟิสิกส์เซ็นเตอร์.
ไม่มี
ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี
        1.  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
        2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
5.2   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4