การฝึกพื้นฐานทางวิศวกรรมอุตสาหการ

Basic Industrial Engineering Training

1.1  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานตามหลักการพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการเบื้องต้นได้
1.2  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานในการใช้เครื่องมือวัด เครื่องมือกลพื้นฐานได้
1.3  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานในการเชื่อมพื้นฐานได้
1.4  เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปฏิบัติงานและสามารถใช้เครื่องมือได้อย่างถูกต้องปลอดภัยตามทฤษฏีของวิศวกรรมความปลอดภัยได้
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านงานวิศวกรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ  ในงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการด้านธุรกิจภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในประเทศไทย
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐานด้านงานวิศวกรรม เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมด้านความรู้ ความเข้าใจ  ในงานพื้นฐานทางด้านวิศวกรรมอุตสาหการ เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นเนื้อหารายวิชาให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการด้านธุรกิจภาคอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีในประเทศไทย
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะ
 -    อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย และสร้างให้เกิดเป็นวัฒนธรรมองค์กร
- มีวินัย  ตรงต่อเวลา และการแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย
- มีความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และไม่ทุจริตในการสอบ
- ปลูกฝังให้รู้จักหน้าที่การเป็นผู้นำและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
- มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม ให้ความสำคัญในวินัยในการตรงต่อเวลาการมาเรียนและการปฏิบัติตามกฎระเบียบ

- สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมและความซื่อสัตย์สุจริตทั้งตนเองและผู้อื่น
- มอบหมายหน้าที่ผ่านทางหัวหน้าชั้นที่ต้องปฏิบัติเป็นทีมหลังจากเสร็จสิ้นการเรียนในวิชา
- สอดแทรกจรรยาบรรณของวิศวกรร่วมกับการเรียน
-  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
-   การขานชื่อก่อนเริ่มเรียน การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการแต่งกายในการมาเรียน
 -  ประเมินปริมาณการทุจริตในการสอบ
 -  ประเมินจากพฤติกรรมการลงมือฝึกปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายของนักศึกษาด้วยตนเอง และสังเกตพฤติกรรมอย่างต่อเนื่อง
-   สังเกตุพฤติกรรมในการรายงานผลการปฎิบัติงานร่วมกับงานที่ทำได้จริง
- มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบแนวคิดและหลักการนำเอาวิศวกรรมพื้นฐานไปใช้งานและการประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
- ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและตัวอย่างลักษณะการนำไปใช้งาน มาประกอบในการเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
-  มอบหมายให้ทำรายงานในเชิงบูรณาการโดยจำลองสถานการณ์และรูปแบบความต้องการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
-  มอบหมายให้ทำรายงานการวิเคราะห์และการแก้ไขโดยการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
- มุ่งเน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบแนวคิดและหลักการนำเอาวิศวกรรมพื้นฐานไปใช้งานและการประยุกต์ใช้กับวิศวกรรมที่เกี่ยวข้อง
-  ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและตัวอย่างลักษณะการนำไปใช้งาน มาประกอบในการเรียน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้
-  มอบหมายให้ทำรายงานในเชิงบูรณาการโดยจำลองสถานการณ์และรูปแบบความต้องการที่เกี่ยวเนื่องกับสาขาวิชาที่ศึกษากับศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้อง
 - มอบหมายให้ทำรายงานการวิเคราะห์และการแก้ไขโดยการจำลองสถานการณ์ขึ้นมา
 -  เน้นการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการนำเอาความรู้และทักษะมาประยุกต์ใช้
- พิจารณาจากการตอบคำถามในชั้นเรียน
-  ประเมินจากผลจากการสอบกลางภาคและปลายภาค
-  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
-   ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
-  ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ
- มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
- สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหา
- สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ
- มีความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม
- สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง
- มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ในการนำเทคนิควิธีการปฏิบัติงานพื้นฐานทางอุตสาหกรรมมาประยุกต์ใช้
 - ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเน้นการนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง
-  ออกข้อสอบที่เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
  - มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ
- ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย
 -  ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา
  - ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและผลการนำเสนอ
-  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
- สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
- มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
- สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี
- มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
- มีภาวะผู้นำ
- ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล
- ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับในงานกลุ่ม
- ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ
- ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
- กำหนดการทำงานกลุ่มโดยให้หมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน
- ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม
- ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล
-  สังเกตผลจากการายงานหน้าชั้นเรียนโดยอาจารย์และนักศึกษา
-  สังเกตพฤติกรรมการระดมสมอง
-  สังเกตพฤติกรรมภาวการณ์เป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
- มีทักษะการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพ
- มีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์และการสื่อสารที่ทันสมัย
- สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม
- มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งการพูด การเขียน และการสื่อสาร
- สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
- มุ่งเน้นการใช้เครื่องมือด้านวิศวกรรมพื้นฐาน งานด้านเครื่องมือวัดและเครื่องมือกล เพื่อใช้สำหรับงานด้านวิศวกรรมอุตสาหการ
- มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนองาน
- สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการใช้งานเทคโนโลยีด้านงานวิศวกรรมและการประยุกต์ใช้ทางวิชาชีพ
-  ประเมินจากผลงานและการนำเสนองานทางด้านปฏิบัติที่ได้รับมอบหมาย
- มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- สาธิตด้านการปฏิบัติการ โดยอาจารย์ผู้สอน
 - ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและถูกต้อง
- ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจดบันทึก
  -พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9,17 15%,15%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์ผลการปฏิบัติงาน การนำเสนองาน การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วมงานกลุ่ม การเสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1]  บรรเลง  ศรนิลและประเสริฐ ก๊วยสมบูรณ์,ตารางโลหะ,กรุงเทพฯ :สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า, 2535
[2]  วิโรจน์  สุวรรณรัตน์,งานเครื่องมือกลเบื้องต้น 1,กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2538
[3]  สาคร คันธโชติ “กรรมวิธีการผลิต” พิมพ์ครั้งที่ 2, บ.โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์ (จำกัด), 2541
[4]  วิทยา ทองขาว “ทฤษฎีงานฝึกฝีมือ” พิมพ์ครั้งที่ 1, บ.ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด (มหาชน) 2535
[5]  สมบูรณ์ เต็งหงษ์เจริญ “วิศวกรรมการเชื่อม” พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2548
- ไม่มี
- ไม่มี
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ