โครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ

Industrial Technical Education Project

1. รู้เกี่ยวกับรูปแบบการศึกษาปัญหาในการจัดทำโครงงานอุตสาหกรรม
2. เข้าใจกระบวนการทำงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์
3. เข้าใจขั้นตอนการดำเนินงานการเขียนโครงงาน
4. เข้าใจแนวคิด การแก้ปัญหา การวางแผนในการจัดทำโครงงาน
5. พิจารณาเลือกทฤษฎีและหลักการประกอบเหตุผลการจัดทำโครงงาน
6. จัดทำโครงงานอุตสาหกรรม
7. ตระหนักถึงความสำคัญของโครงงานอุตสาหกรรม
8.  นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการเพื่อประเมินผลการทำโครงการ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษาทางด้านโครงงานวิศวกรรมอุตสาหการ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปแก้ปัญหาและประยุกต์กับวิชาชีพและเทคโนโลยีใหม่ๆ มีการทำงานเป็นกลุ่ม  สร้างความสามัคคี  มีน้ำใจในการทำงานและรู้จักช่วยเหลือเพื่อนร่วมงาน  รู้จักผ่อนปรนในการทำงานร่วมกับผู้อื่น  สามารถปรับตัวกับปัญหาที่เกิดขึ้น  และสามารถแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นได้  โดยใช้วิชาการ  และทักษะชีวิตเข้ามาใช้  สามารถนำเสนอการทำงานทั้ง 5 บทได้โดยใช้ความรู้ที่ได้ทำงานงานได้ดี  และสามารถนำงานที่เรียนไปเป็นประโยชน์แก่ชุมชน  สถานศึกษา  และผู้ที่สนใจได้
ศึกษาและปฎิบัติเกี่ยวกับขั้นตอนการวางแผนการสร้างโครงงาน  ตามหัวข้อโครงงานในรายวิชา  การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอุตสาหการ  ออกแบบโครงงาน สร้างโครงงานตามแบบ ตลอดจนประยุกต์ใช้เทคโนโลยีการสร้างผลงาน อันเกิดประโยชน์ต่อสายวิชาที่ศึกษา  หรือต่อสังคม  และนำผลงานเสนอต่อคณะกรรมการเพื่อสอบวิชาโครงงาน
8 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ผลการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนาส่งเสริมให้นักศึกษามีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม ส่งเสริมให้นักศึกษามีการพัฒนาจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพโดยการสอดแทรกจรรยาบรรณวิชาชีพตลอดระยะเวลาในการเรียนการสอน
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านคุณธรรม จริยธรรม กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา ตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย สอดแทรกและส่งเสริมด้านคุณธรรม จริยธรรมตลอดระเวลาที่ดำเนินการสอน ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ สนับสนุนให้นักศึกษาเข้าร่วมโครงการบริการวิชาการและวิชาชีพแก่สังคม ปลูกจิตสำนึกในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม ยกย่องเชิดชูนักศึกษาที่ทำความดีและเสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลา การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
2. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
3. ประเมินจากงานที่มอบหมายให้นักศึกษา เช่น การทำรายงาน การอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล ไม่ลอกงานเพื่อน
4. ประเมินผลพฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียน    และการสอบ เช่น การแต่งกายที่ถูกระเบียบ  การมีสัมมนาคารวะต่อผู้ใหญ่  การทุจริตในการสอบ
5. ประเมินจากการรับฟังคิดเห็นร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน
6. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรม
ใบเช็คคะแนนของครูผู้สอน
 
 
* เกณฑ์คุณภาพ (Rubric)
นักศึกษาต้องได้รับการเรียนรู้ในเรื่องของ งานที่เรียนมาสามารถประยุกต์เข้ากับวิชาโครงการได้ 
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านความรู้ ประกอบด้วยการบรรยาย  การอภิปราย การทำงานกลุ่ม  การนำเสนอรายงาน การศึกษานอกสถานที่ การเชิญวิทยากรมาบรรยายในหัวข้อที่เหมาะสมแก่การเรียนรู้เกี่ยวกับครู   
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากการจัดกิจกรรมด้านต่าง ๆ
3. ประเมินจากการสอบถามพูดคุยกับนักศึกษา  โดยครูจะเป็นผู้ประเมิน
4. ประเมินความรู้จากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
 
1. แบบประเมินจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
2. แบบประเมินจากอาจารย์ที่สอบโครงการ
3. สังเกตจากการทำงานของแต่ละกลุ่ม
4.แบบประเมินเพื่อนร่วมงานภายในกลุ่มถึงการทำงานงานร่วมกัน  การช่วยเหลือกัน  การมีน้ำใจ  การน้ำความรู้มาประยุกต์
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาส่งเสริมให้นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพได้เมื่อจบการศึกษา โดยเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเองเป็นสำคัญ มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง เหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือองค์ความรู้ต่อยอดจากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
           
1. ประเมินจากการตอบข้อซักถามแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2. ประเมินจากแบบฝึกหัด รายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค และการทดสอบหลังเรียน
แบบประเมินการนำเสนอตอนสอบโครงการ
ผลการเรียนรู้ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบส่งเสริมให้นักศึกษา ได้รับการฝึกประสบการณ์ในการปรับตัวให้เข้ากับบุคคลและกลุ่มบุคคลต่าง ๆ เช่น การวางตัว มารยาทในการเข้าสังคม สภาวะผู้นำและผู้ตาม การทำงานเป็นทีม
1. ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย
2. ประเมินจากการนำเสนอและอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4. ประเมินความรับผิดชอบงานกลุ่ม การส่งงานตามเวลา
การช่วยเหลือในการทำงาน
 
1. สังเกตจากการทำงานของนักศึกษา  โดยครูผู้สอนเป็นผู้ประเมิน
2.แบบประเมินเพื่อนร่วมงานภายในกลุ่มถึงการทำงานงานร่วมกัน  การช่วยเหลือกัน  การมีน้ำใจ  การน้ำความรู้มาประยุกต์
5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือ
สื่อสารที่เหมาะสม (รอง)
5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์  และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม (หลัก)
5.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ
1. ประเมินจากแบบฝึกหัด
2. ประเมินจากรายงาน และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
3. ประเมินทักษะการใช้ภาษาจากเอกสาร การรายงานและงาน
มอบหมาย
4. ประเมินทักษะการใช้สื่อ การใช้ภาษา จากการแสดงความ
คิดเห็น
 
1. แบบประเมินจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
2. แบบประเมินจากอาจารย์ที่สอบโครงการ
3. สังเกตจากการทำงานของแต่ละกลุ่ม
4.แบบประเมินเพื่อนร่วมงานภายในกลุ่มถึงการทำงานงานร่วมกัน  การช่วยเหลือกัน  การมีน้ำใจ  การน้ำความรู้มาประยุกต์
 
ผลการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยส่งเสริมให้นักศึกษามีทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข การใช้เครื่องจักร เครื่องมือ อุปกรณ์ ได้อย่างถูกต้องและปลอดภัย ตลอดจนการดูและบำรุงรักษาอย่างต่อเนื่อง
          กลยุทธ์การสอนที่ใช้ในการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัยในรายวิชา โครงการ กำหนดให้นักศึกษาต้องมีการจัดทำโครงการ ในด้านต่าง ๆ  ตามที่นักศึกษาได้ทำการเสนอหัวข้อ  โดยจะต้องทำงานถึง  5 บท
 
-ประเมินจากทักษะการปฏิบัติตามใบงานที่กำหนดแต่ละสัปดาห์
- ประเมินจากพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
1. แบบประเมินจากอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ
2. แบบประเมินจากอาจารย์ที่สอบโครงการ
3. สังเกตจากการทำงานของแต่ละกลุ่ม
4.แบบประเมินเพื่อนร่วมงานภายในกลุ่มถึงการทำงานงานร่วมกัน  การช่วยเหลือกัน  การมีน้ำใจ  การน้ำความรู้มาประยุกต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 1.1 มีจิตสำนึกสารธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (รอง) 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม(หลัก) 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ ประเมินจาก - การตรงต่อเวลา - ความรับผิดชอบ - การมีวินัย - การเข้าร่วมกิจกรรม - พฤติกรรมที่แสดงออก ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (หลัก) 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (รอง) 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (รอง) - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 3. ประเมินจากการสอบกลางภาค 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค ทุกสัปดาห์ 20%
3 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและวิชาชีพ (รอง) 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ (หลัก) - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี ทุกสัปดาห์ 10%
4 4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี (รอง) 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ (รอง) 4.3 สามารถทำงานเป็นทีม และสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (หลัก) 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือ สังคมในประเด็นที่เหมาะสม 1. ประเมินจาก - การทำงานเป็นทีม - ตนเองและเพื่อน - ความรับผิดชอบงานกลุ่ม ทุกสัปดาห์ 40%
5 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือ สื่อสารที่เหมาะสม (รอง) 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ปัญหาอย่างเหมาะสม (หลัก) 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ - รายงานและคุณภาพของข้อมูลที่รายงาน - การนำเสนอ - การอภิปราย - การตอบข้อซักถามและทำแบบฝึกหัด - การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน - ทักษะการใช้ภาษา - ทักษะการใช้สื่อและเทคโนโลยี 3. ประเมินจากการสอบกลางภาค 4. ประเมินจากการสอบปลายภาค ทุกสัปดาห์ 5%
6 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้าน เวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (หลัก) 6.2 สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติ ตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอน ได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของ กลุ่มผู้เรียนได้อย่างเหมาะสม ประเมินจากการทำงานตามที่มอบหมายที่กำหนด ทุกสัปดาห์ 30%
      การประเมินประสิทธิผลรายวิชาโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมเพื่อดำเนินการดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 การสะท้อนความคิดของนักศึกษา
                1.3 เปิดโอกาสให้นักศึกษาสอบถามผลคะแนนในการทำงานเพื่อเรียนรู้ถึงข้อผิดพลาดจะสามารถนำไปปรับปรุงตนเองและเตรียมพร้อมในการสอบต่อไป
                1.4 ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
                1.5 ให้นักศึกษาประเมินวิธีการสอน การจัดกิจกรรมทั้งในและนอกห้องเรียน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอนที่ส่งผลกระทบกับการเรียนรู้ของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
                 2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
                 2.4 สาขาวิชาตั้งคณะกรรมการประเมินการสอนจากการสังเกตการสอน การสัมภาษณ์นักศึกษา
 
       การปรับปรุงการสอน ดำเนินการดังนี้
3.1 การประชุมเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การปรับปรุงรายละเอียดรายวิชา
                 3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
                 3.4 ให้ผู้สอนเข้ารับการอบรมกลยุทธ์การสอน การวิเคราะห์ผู้เรียน การวิจัยในชั้นเรียน ในรายวิชาที่มีปัญหาอย่างน้อยภาคการศึกษาละ 1 รายวิชา มีการประชุมผู้สอนเพื่อหารือปัญหาการเรียนรู้ของนักศึกษาและหาแนวทางแก้ไข
        ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยมีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมของวิชาดังนี้
            4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
                 4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบวิธีสอน ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
         5.1  ปรับปรุงประมวลรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
              5.2 ผู้สอนมีการทบทวนการเรียนการสอนทุกครั้งที่ทำการสอน เพื่อพัฒนาการเรียนการสอนในครั้งถัดไป และมีการประเมินผลการสอนโดยผู้เรียนเป็นผู้ประเมินทุกภาคการศึกษา       และนำผลที่ได้มาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชาในปีการศึกษาถัดไป
              5.3 ขั้นตอนการทบทวนและวางแผนปรับปรุงรายวิชา
                   1) พิจารณาผลประเมินการสอนโดยนักศึกษา
                   2) การทบทวนเนื้อหาที่สอน กลยุทธ์การสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้
                   3) เสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนารายวิชาเสนอต่อประธานหลักสูตร
                   4) เสนอหัวหน้าสาขาและกรรมการคณะเพื่อวางแผนในการปรับปรุง