ภาษาไทย 1

Thai 1

๑. มีความรู้และความเข้าใจหลักภาษาไทย  ๒. มีความรู้และความเข้าใจภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร  ๓. สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ  ๔. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร  ๕. สามารถนำภาษาที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
 
๑. พัฒนาพื้นฐานการใช้ภาษาในการสื่อสารของนักศึกษา  ๒. พัฒนาทักษะการใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารของนักศึกษาให้มีประสิทธิภาพ  ๓. มุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร อย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
ศึกษาความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับภาษาไทย ได้แก่ ความสำคัญ ประเภท ลักษณะเฉพาะของภาษาไทย ศึกษาหลัก และกระบวนการสื่อสาร ศิลปะการสื่อสาร ทั้งทักษะการฟัง การอ่าน การเขียน และการพูด คุณธรรมจริยธรรมในการสื่อสาร
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์ เพื่อขอคำปรึกษาและแนะนำสัปดาห์ละ ๑ ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
1.1 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา
๑)  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม  ๒)  มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ  ๓)  มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม  ๔)  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  ๕)  มีความรักและหวงแหนวัฒนธรรมที่ดีงาม
 
๑) ให้วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรม โดยใช้ทักษะทางภาษา  ๒) อภิปรายกลุ่ม  ๓) ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในการสอบ  ๔) กำหนดหลักเกณฑ์ต่างๆ เช่น ให้เข้าห้องเรียนตรงเวลา และเข้าเรียนอย่างสม่ำเสมอ  ๕) จัดให้มีโครงการทำบุญสาขาศิลปศาสตร์
๑) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรง     เวลา  ๒) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม  ๓) ไม่มีการทุจริตในการสอบ  ๔) ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
๑) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา   ๒)  สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขาวิชาที่ศึกษา   ๓)   สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
๑) บรรยายร่วมกับอภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์งาน และมอบหมายงานที่เกี่ยวข้อง  ๒) ให้ทำแบบฝึกหัด แบบทดสอบ  ๓) นักศึกษาไปค้นคว้าเพิ่มเติม จัดทำเป็นรายงาน และนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
 
๑) สอบย่อยระหว่างเรียนด้วยแบบทดสอบ  ๒) ประเมินจากประสิทธิผลของการศึกษาค้นคว้า การรายงานการศึกษาค้นคว้า และงานที่มอบหมาย  ๓) ทดสอบกลางภาค และปลายภาค  ๔) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
๑)  มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 
 ๒)   มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
 
๑) บรรยายและอภิปรายกรณีศึกษาร่วมกันในชั้นเรียน  ๒) การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
๑) สอบย่อย โดยข้อสอบเน้นการใช้ทักษะทางภาษา 
 ๒) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
๑)   มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 
๒)   มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม  ๓)   สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
๔)   สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 
๑) มอบหมายงานกลุ่มในการศึกษาค้นคว้า  ๒) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
๑) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม  ๒) รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  ๓) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
๑)   สามารถเลือกใช้วิธีการ และเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม  ๒)   สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันอย่างเหมาะสม  ๓)  สามารถใช้ภาษาไทยในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
๑) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ  ๒) นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
 
๑) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  ๒) การมีส่วนร่วมในการอภิปราย และวิธีการอภิปราย          
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ๑. มีความรู้และความเข้าใจหลักภาษาไทย ๒. มีความรู้และความเข้าใจภาษาที่ใช้ในการสื่อสาร ๓. สามารถใช้ภาษาเป็นเครื่องมือในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ๔. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ๕. สามารถนำภาษาที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม และเอกลักษณ์ของชาติไปเผยแพร่ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม สอบกลางภาค สอบปลายภาค งาน แบบฝึกหัดประจำบท และ สอบย่อยประจำบทก่อนสอบกลางภาค งาน แบบฝึกหัดประจำบท และ สอบย่อยประจำบทหลังสอบกลางภาค การเข้าชั้นเรียน ความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย ๙-๑๘ สอบกลางภาค สอบปลายภาค ๙ ๑๗ ๒๐ % ๒๐ % งาน แบบฝึกหัดประจำบท และ สอบย่อยประจำบทก่อนสอบกลางภาค ตลอดภาค การศึกษา ๒๕ % งาน แบบฝึกหัดประจำบท และ สอบย่อยประจำบทหลังสอบกลางภาค ตลอดภาค การศึกษา ๒๕ % ก
ระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวง. 2541. ทักษะภาษานานาวิธี. กรุงเทพฯ : คุรุสภาลาดพร้าว. คณาจารย์ภาควิชาภาษาไทย. 2539. การใช้ภาษาไทย 2. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. ชนะ เวชกุล. 2524. การเขียนรายงานจากการค้นคว้า. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ชวน เพชรแก้ว, ปรีชา นุ่นสุข และ ปราณี ถาวระ. 2524. การใช้ภาษา, ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์. ดนัย ไชยโยธา. 2551. รู้รักภาษาไทย : สำนวนโวหาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ธนู ทดแทนคุณ. 2551. รู้รักษ์ภาษาไทย : ภาษาร่วมสมัย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ธีระพล อรุณะกสิกร และคณะ. 2540. ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยงานสารบรรณ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน. นพดล จันทร์เพ็ญ. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ: ต้นอ้อ แกรมมี จำกัด. ประภัสสร ภัทรนาวิก. 2545. การเขียนเอกสารสำนักงาน. สงขลา : มหาวิทยาลัยทักษิณ. ปรีชา ช้างขวัญยืน. 2525. ศิลปการเขียน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิชาการ. ปรีชา ทิชินพงศ์. 2523. ลักษณะภาษาไทย, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. ไพโรจน์ อยู่มณเฑียร. 2540. สำนวนไทยใช้ให้เป็น, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ทฤษฎี. สมพร มันตะสูตร แพ่งพิพัฒน์. 2540. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์. 2522. การเขียน. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช. วิเศษ ชาญประโคน. 2550. ภาษไทยเพื่อการสื่อสาร, ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. เอกฉัท จารุเมธีชน. 2539. การใช้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้  ๑) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน  ๒) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้  ๓) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
- ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน  - กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนหรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน  - สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา  - การวิจัยในชั้นเรียน
- ให้อาจารย์แสดงตัวอย่างการประเมินผลในรายวิชาเพื่อการทวนสอบ  - ให้กรรมการทวนสอบ สุ่มตรวจสอบการให้คะแนนในรายวิชาหรือรายงานของผู้เรียน  - เปรียบเทียบการให้คะแนนข้อสอบแต่ละข้อในรายวิชา ตามเกณฑ์ที่กำหนด  - จัดทำข้อสอบมาตรฐานสำหรับรายวิชา (หรือกับสถาบันในเครือข่าย)
สาขาวิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานรายวิชา เสนอต่อที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงพร้อมนำเสนอภาควิชา / คณะ