การบริหารโครงการ

Project Management

1. รู้วิธีการจัดทำโครงการ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบการดำเนินการ และการบริหารโครงการ การบริหารโครงการในรูปแบบต่าง ๆ
2. เข้าใจการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ
3. วิเคราะห์และสรุปผลความเป็นไปได้ของโครงการ
4. ประยุกต์ใช้เทคนิคในการวางแผน การควบคุมโครงการ การประเมินผล และยุติโครงการ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจ ในด้านการบริหารโครงการไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการบริหารโครงการและการบริหารทั่วไปที่ได้มีความก้าวหน้าและเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย
ศึกษาการจัดทำโครงการ การวางแผน การวิเคราะห์ระบบการดำเนินการ และการบริหารโครงการ การบริหารโครงการในรูปแบบต่าง ๆ การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมของโครงการ การวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ ความสำเร็จที่สำคัญในการบริหารโครงการ เทคนิคในการวางแผน การควบคุมโครงการ การประเมินผล และยุติโครงการ
- อาจารย์ประจำรายวิชา ตั้งกลุ่มรายวิชาในเฟซบุ๊คแยกตามกลุ่มเรียน (Section) เพื่อเป็นช่องทางการให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษา
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศแจ้งให้นักศึกษาทราบถึงช่องทางการให้คำปรึกษาในชั่วโมงแรกของการสอน กรณีเร่งด่วนสามารถสอบถามผ่านทางโทรศัพท์
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1 ผลการเรียนรู้
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม โดยผู้สอนต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรม เพื่อให้นิสิตสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับการศึกษาการบริหารโครงการโดยมีคุณธรรมจริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
1) ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
2) มีวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
3) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ
4) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
5) เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1) บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับการบริหารโครงการ
2) อภิปรายกลุ่ม
3) กำหนดให้นักศึกษาหาตัวอย่างที่เกี่ยวข้อง
1) พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2) มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3) ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.1 ผลการเรียนรู้
ความรู้เกี่ยวกับแนวคิดโครงการ การบริหารโครงการ การวิเคราะห์โครงการ และเทคนิคการบริหารโครงการ การเขียนโครงการ การนำโครงการไปปฏิบัติ การควบคุมและการประเมินผลโครงการ
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และมอบหมายให้ค้นคว้าหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (Student Center)
1) ประเมินจากประสิทธิผลของการศึกษาค้นคว้า การรายงานการศึกษาค้นคว้า และงานที่
มอบหมาย
2) ทดสอบกลางภาค และปลายภาค
3) ประเมินจากการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
3.1 ผลการเรียนรู้
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีความสามารถในการวิเคราะห์ เนื้อหาเกี่ยวกับการบริหารโครงการ สามารถพัฒนารูปแบบการบริหารโครงการที่สอดคล้องกับบริบทของสังคม ก่อให้เกิดแนวคิดใหม่ๆในการทำความเข้าใจกับเทคนิคการบริหารโครงการ โดยอาศัยฐานความรู้จากแนวคิดการบริหารโครงการที่ได้ศึกษา
3.2 วิธีการสอน
1) บรรยายและอภิปรายร่วมกันในชั้นเรียน
2) การมอบหมายให้นักศึกษาทำโครงงาน และนำเสนอผลการศึกษา
1) สอบย่อย โดยข้อสอบเน้นการใช้ทักษะการวิเคราะห์สถานการณ์ปัจจุบัน
2) สังเกตพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน
4.1 ผลการเรียนรู้
1) พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
2) พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
3) พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
1) มอบหมายงานกลุ่มในการศึกษาค้นคว้า
2) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
1) ประเมินจากกระบวนการทำงาน และผลงานกลุ่ม
2) รายงานการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
3) พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1 ผลการเรียนรู้
1) พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
2) พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
3) พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
4) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่างๆ
5) ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
1) มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website และทำรายงานโดยเน้นการใช้ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
2) นำเสนอผลงานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีสารสนเทศที่เหมาะสม
1) การจัดทำรายงาน และนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2) การมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 4 5 1 2 3 4 2 3 4 1 2 4 1 2 5 6
1 12011403 การบริหารโครงการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 5.1.1, 5.1.2, 5.1.4, 5.1.5, 5.2.1 แบบทดสอบย่อย, การส่งแบบฝึกหัด ตลอดภาค การศึกษา 10%
2 5.2.1, 5.3.2, 5.3.4, 5.4.1, 5.4.2, 5.4.4 การศึกษาค้นคว้าและทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย รายบุคคลและรายกลุ่ม ตลอดภาค การศึกษา 30%
3 5.1.1, 5.1.2, 5.1.4, 5.1.5, 5.4.2 พฤติกรรมการเข้าเรียน การตอบคำถามและอภิปราย การมีส่วนร่วมในการทำงานเป็นทีม ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 5.2.1, 5.2.2, 5.2.3, 5.2.4, 5.3.2, 5.5.1 สอบกลางภาค 9 25%
5 5.2.1, 5.2.2, 5.2.3, 5.2.4, 5.3.2, 5.5.1 สอบปลายภาค 17 25%
1) ชนงกรณ์ กุณฑลบุตร. (2557). การศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2) ชัยยศ สันติวงษ์. (2539). การศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ. กรุงเทพฯ : บริษัทโรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช จำกัด
3) ฐาปนา ฉิ่มไพศาล และ อัจฉรา ชีวะตระกูลกิจ. (2545). การบริหารโครงการและการศึกษาความเป็นไปได้. กรุงเทพฯ : ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์ จำกัด
4) ณรงค์ นันทวรรธนะ. (2547). การบริหารโครงการ. กรุงเทพฯ : ฟิสิกส์เซ็นเตอร์
5) พรรณนุช ชัยปินชนะ. (2552). การบริหารโครงการธุรกิจ. เชียงใหม่ : ยูเนี่ยนออฟเซท
6) รัตนา สายคณิต. (2546). การบริหารโครงการ : แนวทางสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพฯ : คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วิสูตร จิระดำเกิง. (2548). การบริหารโครงการสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ : วรรณกวี.
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น
Wikipedia คำอธิบายศัพท์
YouTube
สื่อการเรียนรู้ทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการบริการสังคม มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชhttp://www.stou.ac.th/stouonline/LOM
ให้นักศึกประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมีผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบ ความรู้ ทักษะในการประมวล/คิดวิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุปพัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1) ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
2) ควรส่งเสริมให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอนเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน
3) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
4) การวิจัยในชั้นเรียน
การสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา ได้แก่ แบบฝึกหัด รายงาน ข้อสอบ โดยคณะกรรมการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษา
1) การปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของการประเมินการสอน และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์
2) แนวทางการวางแผนการปรับปรุงจากรายงานผลการดำเนินการของรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน