หลักการตลาด

Principles of Marketing

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจความหมาย ขอบเขต วัตถุประสงค์ และความสำคัญของการตลาดที่มีต่อธุรกิจ รวมถึงจริยธรรมทางการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคมที่พึงประสงค์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางการตลาดที่ทันสมัยและทันต่อเหตุการณ์เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันของธุรกิจในอนาคตได้
 ศึกษาบทบาทและความสำคัญของการตลาดที่มีต่อสังคม เศรษฐกิจ พัฒนาการของแนวความคิดทางการตลาด กิจกรรมและหน้าที่ต่างๆทางการตลาด ระบบข้อมูลสารสนเทศและการวิจัยการตลาด ลักษณะและพฤติกรรมการซื้อแต่ละตลาด ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกำหนดส่วนประสมการตลาด การวางแผนกลยุทธ์การตลาดที่เหมาะสมสำหรับแต่ละส่วนประสมเข้าใจการประยุกต์เทคโนโลยีสมัยใหม่ในกิจกรรมการตลาด จริยธรรมการตลาดและความรับผิดชอบต่อสังคม
1 ชั่วโมง/สัปดาห์   
 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 
มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 
มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม 
ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1    ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา  1.3.2    การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
1    ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา  2    การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
 จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะทางด้านการตลาดอย่างเป็นรูปธรรม โดยมอบหมายงานให้นักศึกษาจัดทำโครงงานทางการตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ที่จะนำมาออกร้านค้าในงานกาดหมั้วฯ  จัดทำรูปเล่มรายงาน และนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนหลังเสร็จสิ้นงานกาดหมั้วฯ
1    ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี  2    ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้รับประสบการณ์ทางด้านการตลาดอย่างเป็นรูปธรรม โดยมอบให้นักศึกษาทำโครงการทางด้านการตลาดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่นำมาออกร้านในงานกาดหมั้ว ซึ่งเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดสร้างสรรค์ได้อย่างเต็มที่ในการร่วมกิจกรรมออกร้านค้า  การจัดทำรายงาน และนำเสนอผลงาน
ประเมินจากการเข้าร่วมกิจกรรมออกร้านค้า  การทำรายงาน และการนำเสนอผลงาน
4.1.1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา  4.1.2    มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ  4.1.3    มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่
4.2.1    จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน 
4.3.1    ประเมินจากงานที่มอบหมาย   4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
5.1.1     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ  5.1.2     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน  5.1.3     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
-
-
-
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1.2 การทดสอบ - การสอบกลางภาค - การสอบปลายภาค 8 17 30% 30%
2 3.1.2, 4.1.2, 5.1.4 วิเคราะห์กรณีศึกษา รายงาน และการนำเสนอ - รายงาน /งานที่มอบหมาย - การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
3 1.1.4 การเข้าชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 30%
ชรัญญา  สุวรรณเสรีรักษ์ และศิริรักษ์  ยาวิราช, บรรณาธิการ.  หลักการตลาด.  เชียงใหม่ : สาขาวิชาการตลาด คณะบริหารธุรกิจและศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ภาคพายัพ เชียงใหม่, 2554.
สิทธิ์  ธีรสรณ์. การตลาด : จากแนวคิดสู่การปฏิบัติ.  กรุงเทพฯ: แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2552.  สุวสา  ชัยสุรัตน์.  หลักการตลาด (ฉบับปรับปรุง).  กรุงเทพฯ: ภูมิบัณฑิต.  รองศาสตราจารย์พิบูล  ทีปะปาล.  หลักการตลาด ยุคใหม่ในศตวรรษที่ 21.  กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค, 2545.  ประไพศรี  อินทรองพล และไพโรจน์  ทิพมาตร์.  หลักการตลาด.   กรุงเทพฯ:  ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ, 2543
สุวิมล  แม้นจริง, ผศ., การจัดการการตลาด. กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, 2546.  Kotler, Philip and Kelvin Keller.  Marketing  Management.  12th edition.  New Jersey : Pearson Education, 2006.  หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่าง ๆ เช่น ประชาชาติธุรกิจ ฐานเศรษฐกิจ ผู้จัดการ ฯลฯ  วารสาร นิตยสาร บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ  
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้ 
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้  2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา  2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้  3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้  4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น  4.2  การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้  5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น