ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว

English for Tourism Industry

               เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคำศัพท์ สำนวน และการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ออกแบบและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ ในงานด้านธุรกิจการท่องเที่ยว โดยเน้นการเรียนการสอนด้วยภาคทฤษฎีและปฏิบัติ อีกทั้งเพื่อสร้างเสริมสติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบโดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การเรียนรู้คำศัพท์ สำนวน และการฝึกทักษะการใช้ภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว ออกแบบและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับ  อุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
-อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล รายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
พัฒนาผู้เรียนให้มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเอง ให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึงประสงค์ของผู้ประกอบการ
- ให้ความรู้โดยสอดแทรกในเนื้อหาของบทเรียนต่าง ๆ
- กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
- ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง
- ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
- การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา
- การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด
- การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
- การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
             พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาของรายวิชา โดยทางทฤษฎีเน้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องวัฒนธรรม ภาษา การสื่อสาร และความแตกต่างทางวัฒนธรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ความรู้เกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในสังคม วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศต่าง ๆ ส่วนในหลักการปฏิบัติเน้นการนำภาษาอังกฤษไปใช้ในการสื่อสารอย่างเหมาะสม ในแต่ละสถานการณ์              พัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่นการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม ความรู้เกี่ยวกับการขนบธรรมเนียมประเพณีของไทย   
-    ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดย  -    ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน -    ร่วมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด -    ศึกษาความรู้จากสื่อประกอบการสอน เช่น เนื้อหาเรื่องขนบธรรมเนียมประเพณีไทยบนเว็บไซต์ -    ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาโดยการนำเสนอ การแสดงบทบาทสมมติเป็นมัคคุเทศก์ การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน  
              - ทดสอบกลางภาคและปลายภาค               - การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน               - การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง               - การฝึกปฏิบัติในการนำเสนอ การแสดงบทบาทสมมติเป็นมัคคุเทศก์   
พัฒนาผู้เรียนให้เกิด (1) ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการหรือวิชาชีพ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนดให้ตามกรณีศึกษา และ (2) ทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์และบริบททางวัฒนธรรมที่เปลี่ยนไป
ให้นักศึกษาฝึกแก้ไขปัญหาการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษในสถานการณ์การสื่อสาร ตามเงื่อนไขทางวัฒนธรรมที่กำหนด ทั้งเป็นรายบุคคลและเป็นกลุ่มย่อย

- ให้นักศึกษาระดมสมองเป็นกลุ่มย่อย เพื่อเสนอแนะวิธีการสื่อสารด้วยภาษาอังกฤษ ที่เหมาะสมกับสถานการณ์ ตามบริบทของวัฒนธรรมเฉพาะที่กำหนดในกรณีศึกษา จากนั้นอภิปรายเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและเสนอแนะให้แก่กัน
- แบบฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
- การทำกิจกรรมในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่น ๆ เพื่อให้นักศึกษาเกิดความตระหนักรู้และมีความเคารพในวัฒนธรรมที่แตกต่างกันของกลุ่มสังคมต่าง ๆ รู้แนวทางการปฏิบัติตนตามมารยาทสังคมที่เหมาะสมกับบริบทของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ รวมถึงสามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
- ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่าง ๆ
- จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์
- ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่าง ๆ ที่มีวัฒนธรรมแตกต่างกัน
- การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน
- แบบฝึกหัดเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้อง ตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล เพื่อให้นักศึกษาสามารถปฏิบัติตนได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์การสื่อสารเฉพาะ ตามบริบทของวัฒนธรรมสากล
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด
- ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางเว็บไซต์ที่กำหนด
- ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ทั้ง off-line และ on-line
- การฝึกปฏิบัติในชั้นเรียน
- การฝึกปฏิบัติในบทเรียนออนไลน์
- การร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
- การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทกัษะทางปัญญา 4.ทกัษะความสมัพนัธ์ ระหว่างบุคลและความ รับผิดชอบ 5.ทกัษะการวเิคราะห์ เชิงตวัเลขและการใช้ เทคโนโลยสีารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031044 ภาษาอังกฤษเพื่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยว
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Unit 1-5 Unit 6-10 ทดสอบกลางภาค ทดสอบปลายภาค 9และ 17 50 (25/25)
2 การฝึกปฏิบัติ การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่ม แบบฝึกหัดเพิ่มเติม การทำงานมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10
       English for Tourism Industry  (เอกสารประกอบการสอน)
1. ขนิษฐา  อุทวนิช. 2546. Communicative English for Tourism.  กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์               มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์               .
2. Dubicka, Iwonna and Margaret O’Keeffe. 2003. English for International Tourism. England: Pearson               Education Limited.
3. Walker, Robin and Keith Harding. 2007. Oxford English for Careers: Tourism 2.  UK: Oxford              University Press.
4. Mol, Hans. 2008. English for Tourism and Hospitality. UK: Garnet Publishing Ltd.
5. Wannaporn Wanichanugorn. 2009. English for Tourism. กรุงเทพมหานคร: Chulalongkorn University               Press.
6. Lertporn Parasakul. 2002. English for Tourist Guides-1. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย              ธุรกิจบัณฑิต.
    - เว็บไซค์ต่างๆทีเกี่ยวข้องกับเนื้อหาตลอดจนแบบฝึกหัดออนไลน์

http://www.buddha-images.com/ http://en.wikipedia.org/wiki/Ayutthaya_Historical_Park http://www.thailandsworld.com/index.cfm?p=382 http://en.wikipedia.org/wiki/Culture_of_Thailand http://www.allthaifood.com/ http://www.thailandlife.com/thai-buddhist/index.php
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
     - การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
     - ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
     การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
     - สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
     - สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
     - ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
     - ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
     การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
     - ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
     - สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
     - สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
       ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
     - ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียน ตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
     -  มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
     -  ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
      - ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษา และของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี