การออกแบบเครื่องจักรกล 2

Mechanical Design 2

เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจหลักการพื้นฐานในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล  ได้แก่  คัปปลิง  เฟืองแบบต่างๆ  ระบบรองลื่นและการหล่อลื่น  ระบบเบรคและระบบส่งกำลังผ่านคลัทซ์  สายพาน  และโซ่  รู้จักการเลือกใช้วัสดุสำหรับทำชิ้นส่วนตามความเหมาะสมกับการใช้งานที่ออกแบบไว้  มีทักษะในการออกแบบเกี่ยวกับเฟืองแบบต่างๆ  ระบบรองลื่นและการหล่อลื่น  ระบบเบรคและระบบส่งกำลังผ่านคลัทซ์  สายพาน  และโซ่  และเห็นคุณค่าของวิชาการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่มีต่อวิชาชีพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน  เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในการออกแบบเครื่องจักรกล  เพื่อเป็นพื้นฐานการการประกอบวิชาชีพด้านวิศวกรรมเครื่องกล
ศึกษาถึงการออกแบบเครื่องจักรกลเกี่ยวกับคัปปลิง  เฟืองตรง  เฟืองเฉียง  เฟืองดอกจอก  ชุดเฟืองตัวหนอน  เจอร์นัลแบริ่งและการหล่อลื่น  โรลลิ่งแบริ่ง  เบรกและคลัทช์  การเชื่อมต่อ  สายพาน  โซ่  และการเลือกใช้ให้ได้อย่างเหมาะสมกับเครื่องจักรกล  พร้อมทั้งสามารเขียนแบบของงานเครื่องกลได้
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล  หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพวิศวกรรมทางเครื่องกล อย่างมีคุณภาพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื้อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่องานที่รับผิดชอบ สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการคำนวณความแข็งแรงทางวิศวกรรมเครื่องกล มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องคุณธรรม จริยธรรม ด้านความชื่อสัตย์สุจริตและ การเสียสละ ให้ความสำคัญในเรื่องการมีวินัย  การตรงต่อเวลา  การส่งงานภายในระยะเวลาที่กำหนด ปลูกฝังเรื่องการปฏิบัติตามกฎระเบียบมหาวิทยาลัยฯ  รวมทั้งกฎระเบียบของสังคม แบ่งกลุ่มให้นักศึกษาทำงานเกี่ยวกับการออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกล  กลุ่มละ 1 ชิ้น  แล้วนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน ปลูกฝังเรื่องจรรยาบรรณทางวิชาชีพ  และความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ
1.    ประเมินจากพฤติกรรมของนักศึกษาภายในห้องเรียน  และการเข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ
2.    การขานชื่อ  การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานตรงเวลา
3.    สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบ  และข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง
4.    ประเมินผลจากการทางานกลุ่ม และการนาเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
5.    ประเมินจากเนื้อหาของแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน  และการทุจริตในการสอบ
มีความเข้าใจหลักการพื้นฐานในการออกแบบชิ้นส่วนของเครื่องจักรกล  ได้แก่  คัปปลิงเฟืองแบบต่างๆ  ระบบรองลื่นและการหล่อลื่น  ระบบเบรคและระบบส่งกำลังผ่านคลัทซ์  สายพาน  และโซ่  รู้จักการเลือกใช้วัสดุสำหรับทำชิ้นส่วนตามความเหมาะสมกับการใช้งานที่ออกแบบไว้  มีทักษะในการออกแบบเกี่ยวกับเฟืองแบบต่างๆ  ระบบรองลื่นและการหล่อลื่น  ระบบเบรคและระบบส่งกำลังผ่านคลัทซ์  สายพาน  และโซ่  และสามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหาด้วยวิธีการที่เหมาะสม
1.  บรรยายด้วยสื่อการสอนทางอิเล็กทรอนิกส์ สื่อการสอนที่เป็นชิ้นงานจริง
2.  ให้ค้นคว้าบางหัวข้อส่งเป็นรายงาน
3.  มอบหมายแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน
1. ทดสอบย่อย  สอบกลางภาค  สอบปลายภาค  ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2. ประเมินจากแบบฝึกหัดท้ายบทเรียน รายงาน และ การนาเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
สามารถคิด  วิเคราะห์  สรุปประเด็นปัญหาในการออกแบบเครื่องจักรกล  และสามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างเป็นระบบ  รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการออกแบบเครื่องจักรกลได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ทางด้านวิศวกรรมเครื่องกลเพื่อใช้ในการออกแบบเครื่องจักรกล  สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยต้นเองเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้านการออกแบบเครื่องจักรกล
1.  ให้นักศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการเสียหายของชิ้นส่วนเครื่องจักรกลที่ใช้งานจริงและแนวทางในการออกแบบเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าว
2.   มอบหมายงานกลุ่มให้ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลกลุ่มละ 1 ชิ้น
ประเมินจากรายงาน  การนำเสนอรายงานและงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมาย
รู้จักบทบาท  หน้าที่  และความรับผิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย  สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ  มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน
1.  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับการเสียหายของชิ้นส่วนเครื่องจักรกล
2.   มอบหมายงานกลุ่มให้ออกแบบชิ้นส่วนเครื่องจักรกลกลุ่มละ 1 ชิ้น
1.   ประเมินตนเองและเพื่อน  ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
2.  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  และพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
มีทักษะในการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ได้  สามารถใช้คอมพิวเตอร์  เครื่องมือการคำนวณ  และเครื่องมือทางวิศวกรรม  เพื่อช่วยในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบเครื่องจักรกลได้
1.   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning
2.   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยในการออกแบบเครื่องจักรกลเบื้องต้น
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1,1.6, 1.7,2.1, 2.4 – 2.6, 3.2,4.1 – 4.6,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.1  วริทธิ์ อึ้งภากรณ์ และชาญ ถนัดงาน. การออกแบบเครื่องจักรกล เล่ม 1. ซีเอ็ดยูเคชั่น, กรุงเทพฯ. 2556.
1.2  Richard G. Budynas and J. Keith Nisbett. Shigley’s Mechanical Engineering Design. 8th ed. The McGraw-Hill Companies, Inc, New York. 2006.
2.1  Ferdinand P. Beer, E. Russell Johnston, Jr., John T. Dewolf, and David F. Mazurek. Mechanics of Materials. 6th ed., The McGraw-Hill Companies, Inc, New York. 2012.
2.2  Khurmi R. S. and Gupta J.K. Mechine Design. 1st ed., Eurasia Publishing House, Ram Nagar, New Delhi. 2005.
2.3  Robert C. Juvinall and Kurt M. Marshek. Fundamentals of Machine Component Design. 5th ed., John Wiley & Sons, Inc, New Jersey. 2012.
Website ที่เกี่ยวกับวิชา Mechanical Design 2
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนคิด  จากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.   ผลการเรียนของนักศึกษา
3.   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
1.   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2.   การอบรมความรู้ใหม่ๆ  ด้านการออกแบบเครื่องจักรกลของผู้สอน
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ  รายงาน  วิธีการให้คะแนนสอบ  และการให้คะแนนพฤติกรรม
ปรับปรุงรายวิชา ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ที่ได้จากข้อ 4