การบัญชีชั้นสูง 1

Advanced Accounting 1

ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน   การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์  และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐาน ผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติ เกี่ยวกับการบัญชีเกี่ยวกับธุรกิจฝากขาย ธุรกิจขายผ่อนชำระ สัญญาเช่า การบัญชีสำนักงานใหญ่สาขาและตัวแทนทั้งในและต่างประเทศ รายการที่เป็นเงินตราต่างประเทศและการแปลงค่างบการเงิน   การบัญชีเกี่ยวกับสัญญาก่อสร้าง การจัดทำงบการเงินจากรายการที่บันทึกไว้ไม่สมบูรณ์  และการบัญชีสำหรับการปรับโครงสร้างหนี้กิจการที่มีปัญหายุ่งยากทางการเงิน การบัญชีกองทุนและกิจการไม่หวังผลกำไร
7 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิธีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึกถึงประโยชน์ส่วนรวมมากว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1). สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน
2). ให้ความสำคัญในการมีวินัย การตรงต่อเวลา และการปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
3). เปิดโอกาสให้นักศึกษาจัดกิจกรรมที่แสดงถึงการมีเมตตา กรุณา ความเสียสละและการทำประโยชน์ให้แก่ชุมชน
4). การเรียนรู้และการสอนจากรณีศึกษา
 
1). ประเมินโดยการสังเกตพฤติกรรมนักศึกษาเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การทำงานทันตามกำหนด และความพร้อมเพรียงของการเข้าร่วมกิจกรรม
2). ประเมินการกระทำทุจริตในการสอบ
3). ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4). สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆโดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1). ใช้วิธีการสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชาโดยเน้นแนวคิดหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ เช่น การสอนแบบบรรยายและอภิปราย การสอนแบบสาธิต การสอนแบบใช้สถานการณ์จำลอง การสอนแบบเน้นกรณีปัญหา
2). การถาม-ตอบปัญหาทางวิชาการในห้องเรียน
3). มอบหมายให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล จัดทำรายงาน
1). ประเมินผลการเรียนรู้ระหว่างภาค เช่น งานที่มอบหมาย การทดสอบย่อย รายงาน การค้นคว้า และการนำเสนอ
2). การประเมินจากการสอบข้อเขียน หรือ การสอบปฏิบัติ
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆเพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหา รวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ ในสถานการณ์ต่างๆอย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3 สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
 1). ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบจากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลอง
2). สอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เปิดโอกาสให้นักศึกษาค้นคว้า รายงานทางเอกสารและรายงานหน้าชั้นเรียน รวมทั้งอภิปรายแสดงความคิดเห็นได้มากขึ้น
1). ประเมินจากผลการแก้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือ สถานการณ์จำลองที่ได้รับมอบหมาย
2). ประเมินจากการสอบที่ต้องใช้ทักษะทางปัญญาของแต่ละรายวิชา
 
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเร่ิมสร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบในการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
 1).  มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัดกันเป็นผู้รายงาน 
2). มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
3). ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากกรณีศึกษาต่างๆ
1). ประเมินจากการรายงานหน้าชั้นเรียน
2). ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยเวลาในการส่งงาน
3). สังเกตุพฤติกรรมในชั้นเรียน
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
1). มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์หรือคำนวณเชิงตัวเลข
ไม่มีการประเมินผลในหัวข้อนี้
ไม่มี
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. 2. 3 4 5
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 2.4 3.1 3.2 3.3 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1
1 BACAC130 การบัญชีชั้นสูง 1
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2, 2.1, 2.2 การทดสอบย่อยครั้งที่ 1 การสอบกลางภาค การทดสอบย่อยครั้งที่ 2 การสอบปลายภาค 3 9 11 18 10% 30% 10% 30
2 1.2, 2.3, 2.4, 3.2, 4.2 การวิเคราะห์กรณีศึกษา ค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2, 2.4, 3.2, 4.2 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
กัญนิภัทธิ์ นิธิโรจน์ธนัท, ศิริรัตน์ พ่วงแสงสุข, และ นันทนา แจ้งสว่าง. (2560). การบัญชีชั้นสูง 1. กรุงเทพฯ:     วิทยพัฒน์.
ดลกณิศ เต็งอำนวย. (2558). รู้บัญชีขั้นสูง (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: ภาควิชาบัญชี คณะบริหารธุรกิจ        มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วรศักดิ์ ทุมมานนท์ และ ณัฐวุฒิ  สุวรรณยั่งยืน. (2557). การบัญชีขั้นสูง 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์        จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิศรุต ศรีบุญนาค, พิมพ์พนา ปีตธวัชชัย, และ ณัฐชานนท์ โกมุทพุฒิพงศ์. (2554). ตราสารอนุพันธ์ : การวัด    มูลค่า การรับรู้และการบัญชีป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ. กรุงเทพฯ:     สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิลปพร  ศรีจั่นเพชร และ อนุวัฒน์  ภักดี. (2561). การบัญชีชั้นสูง. กรุงเทพฯ:ห้างหุ้นส่วน ทีพีเอ็น เพรส.
 
      มาตราฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9     การวัดมูลค่าและการรับรู้รายการเครื่องมือทางการเงิน
          มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 15     รายได้จากสัญญาที่ทำกับลูกค้า
          มาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 16    สัญญาเช่า
        ข้อมูลเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวทางวิชาชีพบัญชี ประกาศเกี่ยวกับมาตรฐานการรายงานทางการเงิน การตีความมาตรฐานการรายงานทางการเงิน  และกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องซึ่งได้จากเว็ปไซต์ต่อไปนี้
           www.fap.or.th
           www.set.or.th
 
ใช้การทดสอบปฏิบัติในแต่ละบท
ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
 
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
นำเสนอข้อสอบ และการตัดเกรด  ก่อนที่จะมีการสอบและการประกาศผล 
นำผลการประเมินในข้อ 1 และข้อ 2  ประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน  วิธีการประเมิน  
และ เนื้อหารายวิชา