การเขียนความเรียง

Essay Writing

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการเขียนความเรียงชนิดต่างๆ โดยเขียนโครงร่าง จัดลำดับเนื้อหา คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป พัฒนางานเขียนโดยใช้ทักษะในการ ถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
เพื่อให้นักศึกษาของมหาวิทยาลัยมีศักยภาพในการสื่อสารภาษาอังกฤษ โดยทักษะการเขียนในระดับหลายย่อหน้า และการใช้ ICT เพื่อการเรียนรู้ การพัฒนาตนเองและการทำงาน
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงชนิดต่างๆ โดยเขียนโครงร่าง จัดลำดับเนื้อหา คำนำ เนื้อเรื่อง สรุป พัฒนางานเขียนโดยใช้ทักษะในการ ถอดความ สรุปความ เรียบเรียง และการอ้างอิงแหล่งข้อมูล
- จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- สร้างชั้นเรียนใน Google Classroom เพื่อเป็นช่องทางติดต่อกับนักศึกษา และเป็นพื้นที่สำหรับให้คำแนะนำแหล่งข้อมูลเพิ่มเติม รวมถึงงานมอบหมายต่าง ๆ
ส่งเสริมผู้เรียนให้พัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการ โดยเน้นที่
1.1.1 มีความพอเพียง มีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม ตรงต่อเวลา รับผิดชอบ ต่อตนเอง วิชาชีพ สังคมส่วนรวม และสิ่งแวดล้อม
1.1.2 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม
1.2.1    เสริมสร้างความมีวินัย ขยัน อดทน เพียรพยายาม และความตรงต่อเวลา โดยกำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและสม่ำเสมอ รวมถึงการส่งงานตรงตามกำหนดเวลา
1.2.2    เสริมสร้างความตระหนักในผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กร และสังคม รวมถึงความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพ และสังคมส่วนรวมให้กับนักศึกษา โดยให้นักศึกษาใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการศึกษาค้นคว้า โดยไม่ลอกเลียนผลงานของผู้อื่น
1.3.1 ความมีวินัยและความขยัน วัดจากความตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียน ความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด
1.3.2 ความตระหนักในผลกระทบของคอมพิวเตอร์ และความรับผิดชอบต่อตนเอง วัดจากผลงานมอบหมายและการร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความเข้าใจทั้งในด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ โดยเน้นให้นักศึกษา
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่ สำคัญในเนื้อหาของรายวิชา สามารถบูรณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตาม ความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง ประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับรายวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ ทักษะ และสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
ยึดหลักการเรียนการสอนแบบ active learning โดย
2.2.1    ให้ความรู้แก่นักศึกษา แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2    มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม นำเสนอและถ่ายทอดความรู้แก่เพื่อนร่วมชั้นเรียน
2.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียงทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1    ความรู้ด้านทฤษฎี วัดจากกิจกรรม / การสอบกลางภาค / การสอบปลายภาค
2.3.2    ความรู้ด้านการปฏิบัติ วัดจากผลงานการเขียนความเรียงที่มอบหมาย
2.3.3    การถ่ายทอดองค์ความรู้ วัดจากผลงานจากการค้นคว้าของนักศึกษา และการนำมาถ่ายทอดในรูปของความเรียงตามที่ได้รับมอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะในการประยุกต์ใช้ความรู้จากสิ่งที่เรียน โดยมุ่งเน้นที่ทักษะด้าน
3.1.1    การสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อม และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
3.1.2    การคิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์และมีเหตุผล สามารถบูรณาการความรู้จากรายวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์ เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ทั่วไป
ยึดหลักการเน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดยใช้งานเป็นฐาน (Task-based learning)
3.2.1    ให้นักศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และอ้างอิงข้อมูลจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในความเรียง
3.2.2    ให้นักศึกษาฝึกทักษะการสรุปความคิดรวบยอด และนำความคิดมาประยุกต์และถ่ายทอดในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics)
3.2.3    ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการเขียนความเรียง
3.3.1    ผลงานการเขียนความเรียง
3.3.2    ผลงานการถ่ายทอดความรู้ในรูปแบบอินโฟกราฟิกส์ (Infographics)
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และ แสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในรายวิชามา ช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
สังเกตจากความสนใจ ความตั้งใจและการมีส่วนรวมของนักศึกษา
ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยี โดยมุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักค้นคว้า ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในการค้นคว้าหาข้อมูลมาใช้ในการเขียนความเรียงอย่างเหมาะสม
กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูล และใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการเขียนความเรียง
ประเมินจากผลงานการเขียนความเรียงและกิจกรรมอื่น ๆ
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในรายวิชาที่ศึกษา มาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงาน นำมาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง  
สอดแทรกการพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ในกิจกรรมต่างๆ ในชั้นเรียน เช่น การคิดวิเคราะห์ การรู้เท่าทันสารสนเทศ การค้นคว้าวิจัย เป็นต้น
ประเมินจากผลงานการเขียนความเรียงและกิจกรรมอื่น ๆ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5 6 7 8 9 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 6 7 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 5
1 BOAEC117 การเขียนความเรียง
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2 การเข้าชั้นเรียน และการส่งงานมอบหมายตรงเวลาที่กำหนด ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1,2.2 การสอบกลางภาค 8 15%
3 2.1,2.2 การสอบปลายภาค 17 15%
4 2.1,2.2 กิจกรรมในและนอกชั้นเรียน 2-7, 9-16 20%
5 3.1,3.2,4.4,5.4,6.2 ผลงานการเขียนความเรียง 9-16 40%
เอกสารประกอบการสอนวิชาการเขียนความเรียง
Anker, S. 2010. Real Writing: Paragraphs and Essays for College, Work an Everyday Life. Fifth edition. New York: Bedford/St. Martin’s. Blanchard, K. and Root, C. 1994. Ready to Write: A First Composition Text. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Blanchard, K. and Root, C. 1997. Ready to Write More: From Paragraph to Essay. New York: Addison-Wesley Publishing Company. Connelly, R. 2013. Get Writing: Paragraphs and Essays. 3rd ed. Boston: Wadsworth, Cengage Learning. Davis, Jason & Lies, Rhonda. 2006. Effective Writing 3. New York: Oxford University Press. Folse, K. S. and Pugh, T. 2007. Greater Essays. USA: Thomson Heinle. Greetham, B. 2001. How to Write Better Essays. New York: Palgrave. Ingram, B and King, C. 2004. From Writing to Composing. Cambridge: CUP. Robitaille, J & Connelly, R. 2007. Writer’s Resources: From Paragraph to Essay. 2nd ed. Boston: Thomson Higher Education. Savage, A. and Mayer, P. 2005. Effective Writing 2. New York: Oxford University Press. Taylor, G. 2009. A Student’s Writing Guide: How to Plan and Write Successful Essays. Cambridge: Cambridge University Press. Veit, R., Gould, C. and Clifford, J. 2001. Writing, Reading and Research. 5th ed. USA: Allyn & Bacon (Longman). Wyrick, J. 2005. Steps to Writing Well. 9th ed. USA: Thomson Wadsworth. Zemach, D. E. and Rumisek, L. A. 2003. College Writing: From Paragraph to Essay. Oxford. Macmillan Publishers Limited. เว็บไซต์ต่าง ๆ ซึ่งมีข้อมูลเกี่ยวกับการเขียนความเรียง และข้อมูลที่นักศึกษาสนใจ

 
การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จากกิจกรรมดังต่อไปนี้
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.2 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอนมีกลยุทธ์ดังต่อไปนี้
2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2 การทวนสอบประเมินผลการเรียนรู้
นำผลการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอนเรื่อง “การพัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ผ่านการเรียนรู้โดยใช้งานอินโฟกราฟิกส์เป็นฐาน” มาบูรณาการในกิจกรรมการเรียนการสอน
4.1 ก่อนเริ่มการสอน มีการตรวจสอบมคอ.3 โดยหัวหน้าหลักสูตรและหัวหน้าสาขา ว่ามีมาตรฐานผลสัมฤทธิ์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในมคอ. 2 ของหลักสูตร
4.2 ในระหว่างการสอน มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากกิจกรรมการเรียนรู้ต่าง ๆ ในรายวิชา และข้อสอบที่จะใช้สอบวัดผลสัมฤทธิ์ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ
4.3 หลังการสอน มีการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบการประเมินผลการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบมคอ. 3 มคอ. 5 ข้อสอบ เกณฑ์การให้คะแนน ผลการเรียน และผลจากงานมอบหมาย
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น โดยมีการปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 1-4