การสำรวจเส้นทาง

Route Surveying

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการคำนวณโค้งทางราบและทางดิ่ง เข้าใจวิธีการยกโค้งทางราบ การทำระดับตามแนวศูนย์กลาง การขยายโค้งทางราบ รวมถึงเข้าใจการคำนวณงานดินและเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างและการสำรวจเพื่อการก่อสร้าง มีทักษะในการออกแบบโค้งทางราบและโค้งทางดิ่งในสนาม และเห็นความสำคัญของงานด้านการสำรวจเส้นทาง
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในการคำนวณโค้งราบ และโค้งดิ่ง สามารถคำนวณออกแบบการยกโค้งทางราบได้, ตระหนักถึงความสำคัญของการสำรวจเพื่อวางแนวโค้ง สามารถประยุกต์งานสำรวจเพื่อใช้ในงานวิศวกรรมโยธา การวางโค้งตามสภาพภูมิประเทศและรู้จักการประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวกับการสำรวจ เป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ สามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในการสำรวจและกำหนดตำแหน่งของโค้ง หรือนำไปประยุกต์กับหลักวิชาอื่นได้
เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการคำนวณโค้งทางราบและทางดิ่ง เข้าใจวิธีการยกโค้งทางราบ การทำระดับตามแนวศูนย์กลาง การขยายโค้งทางราบ รวมถึงเข้าใจการคำนวณงานดินและเข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างและการสำรวจเพื่อการก่อสร้าง มีทักษะในการออกแบบโค้งทางราบและโค้งทางดิ่งในสนาม และเห็นความสำคัญของงานด้านการสำรวจเส้นทาง
6 ชั่วโมง
1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.1.3 มีความสามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน วิชาชีพวิศวกร ตามข้อบังคับสภาวิศวกร
1.2.1 แสดงความเป็นตัวอย่างของการมีวินัย การตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม และเคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคมแก่นักศึกษา
1.2.2 กำหนดและชี้แจงกติกาของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชา ได้แก่ วิธีการให้คะแนนเข้าชั้นเรียน การส่งงาน
1.2.3 ส่งเสริมให้มีความเป็นผู้นำ และผู้ตาม มีความสามัคคีในการทำงาน และการยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.2.4 ตั้งคำถามและให้โอกาสนักศึกษาได้วิเคราะห์และประเมินผล หรือให้นักศึกษายกตัวอย่างการใช้ความรู้ที่ได้เรียนมาให้เป็นประโยชน์ต่อองค์กร หรือแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ในชั้นเรียน
อภิปรายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาการกระทำผิดจรรยาบรรณของวิศวกร และให้มีการอภิปรายกลุ่มในชั่วโมงแรก และสรุปภาพรวมในชั่วโมงสุดท้าย
1.3.1 ให้คะแนนจากการเข้าเรียน ส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ตรงเวลา และ
ความซื่อสัตย์ที่มีต่อชิ้นงาน
1.3.2 มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
1.3.3 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติงานตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ
ที่กำหนดไว้
1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1 เข้าใจการทำระดับตามแนวศูนย์กลาง เข้าใจและสามารถคำนวณโค้งทางราบและทางดิ่ง เข้าใจวิธีการยกโค้งทางราบ การขยายโค้งทางราบ
2.1.2 เข้าใจการคำนวณงานดิน
2.1.3 เข้าใจถึงลักษณะโครงสร้างและการสำรวจเพื่อการก่อสร้าง
2.1.4 มีทักษะในการออกแบบโค้งทางราบและโค้งทางดิ่งในสนาม
2.1.5 เห็นความสำคัญของงานด้านการสำรวจเส้นทาง
บรรยาย อภิปราย การทำงานเดี่ยวและกลุ่ม การนำเสนอผลงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และโครงงาน Problem – based Learning และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3.1 ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏีนำไปแก้ปัญหาโจทย์
2.3.2 ประเมินจากผลงานการศึกษาและค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – based Learning
2.3.3 ประเมินจากผลการนำเสนองาน
3.1.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
3.1.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
3.1.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.1.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ
3.2.1 ส่งเสริมการอ่าน การสืบค้นข้อมูล เพื่อให้มีแนวคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์การจัดทำโครงงานที่ได้รับมอบหมาย
3.2.2 ให้มีการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา (Problem Based Instruction)
3.2.3 ทำการอภิปรายผลที่ได้ให้ทุกคนในห้องทราบและเข้าใจ พร้อมทั้งรับฟังข้อซักถามจากเพื่อนและอาจารย์
3.3.1 วัดผลจากการประเมินโครงงาน การนำเสนอผลงาน และความถูกต้องของโครงงาน
3.3.2 สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม
4.1.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่าง ๆ
4.1.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.1.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานเดี่ยวและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
4.1.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคมตามกำหนดเวลา
4.2.1 จากโครงงานที่นักศึกษาทำต้องให้แต่ละบุคคลในกลุ่มหมุนเวียนกันมาอภิปราย ซึ่งในหัวข้อต้องมีการบอกการวางแผนของการทำรายงาน การเก็บข้อมูล และบทบาทหน้าที่แต่ละคนที่ได้รับมอบหมาย
4.2.2 สอดแทรกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัย การปรับตัวต่อสังคม และความรับผิดชอบต่องานที่ทำ
4.2.3 มีการยกตัวอย่างแล้วให้นักศึกษาได้คิดและเสนอแนวทางในการแก้ไข
4.3.1 ประเมินคะแนนจากการอภิปรายของแต่ละบุคคล
4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี
5.1.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
5.1.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญญลักษณ์
5.1.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้
5.2.1 ให้ศึกษางานที่มีการใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาใช้ในการวิเคราะห์และแปลความหมายโดยใช้โปรแกรมประยุกต์ที่เกี่ยวข้อง และให้ส่งรายงานโดยทั้งในรูปแบบดิจิตอลไฟล์และรูปแบบเอกสาร
5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.2.3 ให้นักศึกษาใช้เครื่องมือที่เหมาะสมในการเก็บข้อมูลและการคำนวณ
ประเมินจากวิธีการที่นักศึกษาใช้เทคโนโลยีในการประยุกต์เพื่อคำนวณ และแก้ปัญหาที่ได้รับมอบหมาย
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมี
ประสิทธิภาพ
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
6.2.1 สรุปเนื้องานที่ต้องลงปฏิบัติในสนามและกำหนดระยะเวลาแล้วเสร็จ
6.2.2 ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มและหน้าที่ความรับผิดชอบกันเอง
6.3.1 ประเมินจากระยะเวลาแล้วเสร็จของแต่ละงานที่ลงปฏิบัติ
6.3.2 ประเมินจากนำเสนอผลการดำเนินงาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หมวด 4 (2.1-2.5) สอบกลางภาค บทที่ 1-4 สอบปลายภาค บทที่ 5-9 และแนวข้อสอบ ของสภาวิศวกร 8 17 30% 30%
2 หมวด 4 (3.1-3.5, 4.1,5.1, 6.1,6.2) รายงาน/โครงงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย การอภิปรายกลุ่ม การตอบข้อซักถาม 1,9,13,16 30%
3 หมวด 4 (1.2) การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน อภิปรายและการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ตลอดภาคการศึกษา 10%
เจิมศักดิ์ หัวเพชร, Route Survey การสำรวจเส้นทาง, อักษรประเสริฐ, มปป. วิชัย เยี่ยงวีรชน, การสำรวจทางวิศวกรรม1, พิมพ์ครั้งที่ 1, 2555 ปราณี สุนทรศิริ, การรังวัดแผนที่ภูมิประเทศ, 2543 ยรรยง ทรัพย์สุขอำนวย, การสำรวจเส้นทาง,พิมพ์ครั้งที่ 10, กรุงเทพมหานคร, 2545 Hickerson , T .F., Route Location and Design , McGraw – Hill , New York , 1964. Barry F. Kavanagn., S. J. Glenn Bird., Surveying Principles and Applications, Pearson Education, 1996 C. J. Vandegrift, L. E. Luke Wilson and E. Zimmerman, ROUTE SURVEY, California Department of Transportation, update 2015 Department of Transportation, Chapter 11: Circular Curve, Highway Surveying manual, Washington State Department of Transportation, 2005
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านสื่อต่างๆ ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอนและผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 นักศึกษามีการหาคำตอบ ที่ได้จากกิจกรรมนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ