การค้นคว้าอิสระ

Independent Study

เพื่อให้นักศึกษาสามารถออกแบบงานวิจัย ดำเนินการวิจัย สรุปผลการวิจัย และรายงานผลการวิจัยในหัวข้อที่นักศึกษาสนใจภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา
เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์่หน่วยงานหรือชุมชนได้
การศึกษาค้นคว้าเพื่อกำหนดประเด็นปัญหาสำหรับการทำวิจัยตามความสนใจ โดยได้รับความเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา ประกอบด้วยการศึกษาค้นคว้า โดยการออกแบบเครื่องมือ การเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลข้อมูล การวิเคราะห์วิจารณ์ และการสรุปผล และการเรียบเรียงเป็นรายงาน ภายใต้การดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษา ที่ได้รับการแต่งตั้ง
2 ชั่วโมง/สัปดาห์ (ตามแต่ที่นักศึกษาสนใจ)
○ 1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม ○ 1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน ○ 1.4 มีความเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
○ 2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีวินัย โดยเน้นการเข้าเรียนให้ตรงต่อเวลา ตลอดจนการแต่งกาย ที่ถูกต้องตามระเบียบของมหาวิทยาลัย ○ 2.4 ให้การยกย่องชมเชยผู้ที่มีความซื่อสัตย์ เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดี ○ 2.6 มีกิจกรรมที่ส่งเสริมในเรื่องความเสียสละเพื่อส่วนรวม และบำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม
○ 3.1 ประเมินจากเวลาการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา และเวลาการส่งงานที่ได้รับมอบหมาย ○ 3.2 ประเมินจากผลงานกลุ่ม และความมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน ○ 3.4 ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์
— 2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ○ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์ — 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผน ○ 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
○ 2.1 ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ○ 2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง โดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ
○ 3.3 ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา ○ 3.4 ประเมินจากการนำเสนอผลงาน ○ 3.5 ประเมินจากแผนธุรกิจ หรือโครงการที่นำเสนอ
○ 3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษา และมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรม หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ ○ 3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม — 3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้ ○ 3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
○ 2.1 กรณีศึกษาทางการจัดการ  โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม ○ 2.4 เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมทั้งรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง
○ 3.1 ประเมินจากนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา ○ 3.3 ประเมินจากผลงาน และการปฏิบัติงานของนักศึกษา
○ 4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์ และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา ○ 4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ ○ 4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อี่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม — 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
○ 2.1 มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา ○ 2.2 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา ○ 2.3 มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
○ 3.1 ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม ○ 3.2 ประเมินจากผลงานนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
○ 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจเชิงธุรกิจ ○ 5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทย และภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ ○ 5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน ○ 5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา — 5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อ เทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย ○ 5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงาน และทราบข้อจำกัดของเทคโนโลยี ○ 5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
○ 2.2 ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ ○ 2.3 มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
○ 3.3 ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3.1,1.3.2,1..3.3,2.3.3,2.3.4,2.3.5,3.3.1,3.3.2,4.3.2,5.3.3 การรายงาน การทำงานเป็นทีม และการนำเสนองาน 1-17 80%
2 1.3.4,4.3.1 ความร่วมมือร่วมใจในการทำงาน การเข้าชั้นเรียน 1-3,14-17 20%
- (ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษา)
 
- (ขึ้นอยู่กับที่ปรึกษา)
-เอกสารประกอบการนำเสนอผลงานวิจัย (คู่มือการทำโครงร่างการวิจัย และคู่มือรูปเล่มงานวิจัย)
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน การสะท้อนความคิดจากพฤติกรรมของผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ผลการวิจัย การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลแบบประเมินผู้สอน
สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยใน/นอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา
   จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์ท่านอื่นๆ