ภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายทางวิชาการ

English for Academic Purposes

1. เพื่อพัฒนาทักษะการอ่าน การพูด การฟัง และการเขียน ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับวิชาการ
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจภาษาอังกฤษในการเขียนบทความ บทคัดย่อ รายงานทางวิชาการ
3. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจวิธีการนําเสนอบทความ และอภิปรายบทความทางวิชาการภาษาอังกฤษได้อย่างเหมาะสม
4. ตระหนักในความสําคัญของการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อจุดมุ่งหมายทางวิชาการ
เพื่อปรับปรุงเนื้อหาวิชาให้ทันกับความเปลี่ยนแปลงโดยเน้นโดยเน้นทักษะการฟัง พูด อ่าน เขียน
ทางวิชาการ รวมทั้งเพื่อให้สอดคล้องกับระเบียบและแนวปฏิบัติ เรื่อง กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ของกระทรวงศึกษาธิการและสํานักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (2552) และการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
ศึกษาและฝึกทักษะภาษาอังกฤษเพื่อสามารถฟัง พูด อ่าน เขียน เชิงวิชาการ
Study and practice listening, speaking, reading, and writing English skills for academic purposes
- จัดเวลาให้คําปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามเวลาที่นักศึกษาต้องการ 1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
- ติดต่อทางโทรศัพท์
มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
ให้ความรู้โดยสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมในเนื้อหาของบทเรียนต่างๆ กำหนดให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้นักศึกษานำความรู้ที่ค้นคว้ามาแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มในช่วงการอภิปรายระดมสมอง ให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นและช่วยกันระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด
การเข้าชั้นเรียนอย่างสม่ำเสมอและตรงต่อเวลา การส่งงานมอบหมายตามเวลาที่กำหนด การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน การเข้าร่วมกิจกรรมซึ่งมหาวิทยาลัยฯ คณะฯ สโมสรนักศึกษาฯ สาขาฯ หลักสูตรฯ และชมรมได้จัดขึ้น
1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา   2. มีความรู้ความสามารถในใช้ทักษะด้านฟัง พูด อ่าน เขียน เชิงวิชาการ   3. มีความรู้และความเข้าใจในการใช้สื่อต่าง ๆ ช่วยในการค้นคว้าข้อมูลทางวิชาการ   4. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
ศึกษาความรู้จากเนื้อหาในบทเรียนต่างๆ แล้วทำกิจกรรมประกอบเนื้อหาตามที่กำหนดในบทเรียน ระดมสมองและรวมกลุ่มอภิปรายคำตอบและระดมสมองเพื่อหาคำตอบที่เหมาะสมที่สุด การทํางานที่ได้รับมอบหมายนอกชั้นเรียน นักศึกษาฝึกปฏิบัติทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การทำแบบฝึกหัดเพิ่มเติมด้วยตนเอง การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย ทดสอบกลางภาคและปลายภาค
ทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ โดยนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในสถานการณ์ที่กำหนด การใช้งานภาษาอังกฤษผ่านทักษะต่างๆ เพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ
1. ให้นักศึกษาฝึกทักษะเกี่ยวกับทางวิชาการโดยเน้นผู้เรียนค้นคว้าด้วยตัวเองทั้งในและนอกห้องเรียน 2. นําความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้เพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการ
การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การพิจารณาจากงานที่มอบหมาย การสรุปความคิดรวบยอดของแต่ละหน่วยเรียน การทดสอบกลางภาคและปลายภาค
พัฒนาผู้เรียนให้มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี ทั้งต่ออาจารย์ผู้สอน เพื่อนร่วมชั้นเรียน สังคมภายนอกชั้นเรียน และกลุ่มสังคมอื่นๆ รวมถึงส่งเสริมการนำความรู้นั้นมาช่วยเหลือสังคมในสถานการณ์การสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติที่ดีตามมารยาทสังคมของกลุ่มสังคมเฉพาะต่างๆ จัดกิจกรรมแบบกลุ่มย่อยในชั้นเรียนและกระตุ้นให้นักศึกษาเข้าร่วมกลุ่มอย่างสร้างสรรค์ ทำแบบฝึกหัดนอกชั้นเรียน โดยกำหนดให้นักศึกษาแสวงหาความรู้จากการค้นคว้าหรือสังเกตพฤติกรรมของกลุ่มสังคมต่างๆ และนําเสนอผลงานกลุ่ม
การร่วมกิจกรรมกลุ่มในชั้นเรียน การพิจารณาจากพฤติกรรมการทํางานภายในกลุ่มของนักศึกษา การพิจารณาจากผลงานที่มอบหมาย
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถใช้ภาษาอังกฤษเพื่อจุดประสงค์ทางวิชาการได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศและ สอดคล้องกับวัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์การสื่อสารที่กำหนด ให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่างๆ
ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติในชั้นเรียนตามสถานการณ์ที่กําหนด ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติเพิ่มเติมด้วยตนเองนอกชั้นเรียนผ่านทางบทเรียนออนไลน์และเว็บไซต์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ทดสอบกลางภาค ทดสอบปลายภาค 9, 17 20%, 20%
2 - การทดสอบทักษะย่อยในรายวิชา - การร่วมกิจกรรมเดี่ยว/กลุ่มในชั้นเรียน - ผลงานที่ได้รับมอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 - จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
Emma & Gary Pathare 2011, Headway Academic Skills – Listening, Speaking and Study Skills Richard Harrison (2011), Headway Academic Skills – Reading, Writing, and Study Skills
Internet
การประเมินผลของรายวิชาโดยนักศึกษากระทำโดย
1) การประเมินผลการสอนโดยใช้แบบประเมินของฝ่ายวิชาการ กองการศึกษา
2) ให้นักศึกษาเสนอแนะเนื้อหาในรายวิชาและกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อนำไปปรับปรุง
การเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน มีกลยุทธ์ดังนี้
1) สอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาเมื่อสิ้นสุดการเรียนแต่ละหน่วยเรียน
2) สังเกตจากพฤติกรรมของนักศึกษาในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ในชั้นเรียน
3) ประเมินจากคะแนนแบบฝึกหัดแต่ละบทเรียนและความเข้าใจในเนื้อหา
4) ประเมินจากผลการสอบกลางภาคและปลายภาคของนักศึกษา
การปรับปรุงการสอนในรายวิชา กระทำโดย
1) ปรับปรุงเนื้อหาให้มีความทันสมัยและมีระดับภาษาที่เหมาะสมกับกับระดับของผู้เรียน
2) สำรวจรูปแบบการเรียนรู้ของนักศึกษาก่อนเรียน และปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้เหมาะสม
3) สรุปผลการทำกิจกรรมในชั้นเรียนแต่ละครั้ง เพื่อนำมาปรับปรุงครั้งต่อ ๆ ไป
ในระหว่างการเรียนการสอนมีการตรวจแบบฝึกหัดและงานกลุ่ม โดยตรวจสอบคะแนนของนักศึกษาแต่ละคนว่ามีการพัฒนาก้าวหน้า หรือไม่มีการพัฒนา จากนั้นแก้ไขโดยการอธิบายทำความเข้าใจกับนักศึกษาทั้งชั้น หรือเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งแจ้งผลคะแนนจากแบบฝึกหัดและคะแนนสอบเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง
1) ทบทวนเนื้อหาในบทเรียน โดยเลือกระดับของภาษาให้เหมาะสมกับระดับของผู้เรียนตามที่ได้ทดสอบไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
2) มีการปรับปรุงเนื้อหาทุกปี ตามสภาวการณ์ใหม่ ๆ และความน่าสนใจ
3) ปรับปรุงรูปแบบกิจกรรมให้มีความหลากหลาย และสนองตอบต่อรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายของกลุ่มผู้เรียน ตามที่ได้สำรวจไว้ตั้งแต่สัปดาห์แรก
4) ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะของนักศึกษาและของผู้ทรงคุณวุฒิที่ตรวจสอบรายวิชาในการประเมินคุณภาพการศึกษาประจำปี