เขียนแบบวิศวกรรม

Engineering Drawing

ผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรี ที่มีความรู้ความสามารถในการเขียนแบบทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากล สำหรับงานทางวิศวกรรมได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม ตามหลักวิชาการทางด้านพื้นฐานเขียนแบบวิศวกรรม เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในงานด้านวิศวกรรมในสภาพปัจจุบัน
เพื่อผลิตวิศวกรปฏิบัติการระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมในสภาพปัจจุบันได้ ผลิตวิศวกรที่มีความรู้ความสามารถพื้นฐานทางด้านงานเขียนแบบทางวิศวกรรมตามมาตรฐานสากลได้  สามารถเข้าใจหลักการและขั้นตอนการปฏิบัติงาน การเขียนตัวอักษร การมองภาพการเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพ 3 มิติ การกำหนดขนาดและพิกัด  ความเผื่อ  ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบได้ พร้อมทั้งให้นักศึกษาสามารถที่จะบอกถึงหลักการพื้นฐานของการเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการใช้คำสั่งในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของภาคธุรกิจอุตสาหกรรม และการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีทางด้านวิศวกรรม
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับการเขียนตัวอักษร การมองภาพ การเขียนภาพออร์โธกราฟิก และการเขียนภาพสามมิติ การกำหนดขนาดและพิกัดความเผื่อ ภาพตัด ภาพช่วยและแผ่นคลี่ การสเก็ตภาพด้วยมือ การเขียนภาพแยกชิ้นและภาพประกอบ การใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการเขียนแบบและออกแบบ
-  อาจารย์ผู้สอนสามารถให้คำปรึกษาแก่นักศึกษา หลักเวลาเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น. (เฉพาะรายที่ต้องการ)
หมวดที่ 4
คุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม นอกจากนั้นวิศวกรจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อผลที่เกิดขึ้นเช่นเดียวกับการประกอบอาชีพในสาขาอื่น ๆ  ได้แก่  1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม  1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับ ความสำคัญเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์  1.1.3 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม  1.1.4 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
 
1.2.1 กำหนดนโยบายการเรียนการสอนเกี่ยวกับการเข้าชั้นเรียน การส่งงานและการนำเสนอผลงานรวมถึง มอบหมายงาน กำหนด ติดตามและควบคุมให้นักศึกษาปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้อง  1.2.2 ให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการนำเสนอผลงาน ซักถาม ให้ความเห็น และข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปรับปรุงแก้ไขให้ผลงานมีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น  1.2.3 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างหลักการเขียนแบบทางวิศวกรรม พร้อมทั้งเนื้อหาที่เกี่ยวข้องทั้งในด้านการใช้งานคอมพิวเตอร์และการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่ถูกต้อง  1.2.4 มีการให้ความรู้ถึงผลกระทบต่อสังคม และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.3.1  ประเมินจากพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลา  1.3.2  ประเมินจากพฤติกรรมการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน เช่น การตั้งคำถาม การตอบคำถาม การ นำเสนอ การแสดงความคิดเห็น การให้ข้อเสนอแนะ การรับฟัง และการปรับปรุงแก้ไขผลงาน  1.3.3  สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆอย่างต่อเนื่อง  1.3.4  ประเมินผลการส่งงานที่ได้รับมอบหมายได้อย่างถูกต้อง
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการเขียนแบบ และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี  2.1.2  มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม  2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง  2.1.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม เช่น การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์ เป็นต้น 2.1.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตน ในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้
2.2.1 ใช้การสอนหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักทางทฤษฎีและปฏิบัติ เพื่อให้เกิดองค์ความรู้  2.2.2 ให้นักศึกษาปฏิบัติการทางด้านงานเขียนแบบโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้กับเทคโนโลยีได้  2.2.3 การวิเคราะห์ศึกษาแบบชิ้นงานตัวอย่าง โดยการมอบหมายให้ศึกษาค้นคว้า การนำมาสรุปและนำเสนอด้วยการเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
2.3.1 ประเมินจากแบบทดสอบด้านทฤษฎี สำหรับการปฏิบัติประเมินจากผลงานและการปฏิบัติการในรายวิชา  2.3.2 ประเมินจากผลการปฏิบัติงานทางด้านการเขียนแบบโดยการนำหลักทางทฤษฎีมาประยุกต์ใช้  2.3.3  พิจารณาจากงานที่มอบหมาย
3.1.1  มีการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์   3.1.2 มีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์โดยใช้หลักการที่ได้เรียนมาตลอดจนสามารถนำความรู้ไปประยุกต์ในงานจริงได้  3.1.3 สามารถแก้ปัญหาทางงานเขียนแบบวิศวกรรมได้โดยนำหลักการต่างๆมาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสม  3.1.4 มีความใฝ่หาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.2.1  มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์ในการนำเทคนิควิธีการในการเขียนแบบมาประยุกต์ใช้  3.2.2  ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหาเน้นการนำมาใช้ปฏิบัติงานจริง  3.2.3  การมอบหมายให้นักศึกษาทำหัวข้องานที่ให้เน้นการวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา พร้อมทั้งการนำเสนอผลงาน  3.2.4  เน้นการศึกษาค้นคว้าทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆอยู่เสมอ
3.3.1  ประเมินจากผลงานที่มอบหมาย  3.3.2  ประเมินจากรายงานผลการดำเนินงานและการแก้ปัญหา  3.3.3  ประเมินจากผลงานการศึกษา ค้นคว้า และรายงานทางเอกสารและผลการนำเสนอ  3.3.4  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
4.1.1 สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี  4.1.2 มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย  4.1.3 สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมองค์กรที่ปฏิบัติงานได้เป็นอย่างดี  4.1.4 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีกับผู้ร่วมงานในองค์กรและกับบุคคลทั่วไป
4.2.1 ส่งเสริมการเคารพสิทธิและการรับฟังผู้อื่นด้วยเหตุผล  4.2.2 ปลูกฝังให้มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย  4.2.3 ให้ความสำคัญในการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบและการให้ความร่วมมือ  4.2.4 ใช้วิธีการสอนแบบเปิดโอกาสในการแสดงความคิดเห็นเพื่อฝึกการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่นด้วยเหตุผล
4.3.1 ประเมินผลจากแบบประเมินตนเองและกิจกรรมกลุ่ม  4.3.2 ติดตามการทำงานร่วมกับสมาชิกกลุ่มของนักศึกษาเป็นระยะ พร้อมบันทึกพฤติกรรมเป็นรายบุคคล  4.3.3  สังเกตผลจากการนำเสนองานโดยอาจารย์ผู้สอนและเพื่อนร่วมชั้นเรียน  4.3.4  สังเกตพฤติกรรมการระดมสมองในการมอบหมายงานกลุ่ม
5.1.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพทางวิศวกรรมได้เป็นอย่างดีและมีประสิทธิภาพ  5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอผลงาน  5.1.3 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์
5.2.1  มุ่งเน้นการใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย  5.2.2  มอบหมายงานค้นคว้าองค์ความรู้จากแหล่งข้อมูลต่างๆและให้นักศึกษานำเสนอในเรียน  5.2.3  ส่งเสริมการนำเสนองานโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านทักษะการใช้งานเทคโนโลยีและการประยุกต์ใช้ทางวิชาชีพ  5.3.2  สังเกตพฤติกรรมนักศึกษาด้านการสื่อสาร ทั้งการพูดและเขียนให้ผู้อื่นรับทราบและมีการบันทึกเป็นระยะ  5.3.3  ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานในรูปของเทคโนโลยี
6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ
6.2.1  สาธิตด้านการปฏิบัติการ โดยอาจารย์ผู้สอน  6.2.2  ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติงานอย่างเป็นระบบและถูกต้อง
6.3.1  ประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงานและการจดบันทึก  6.3.2  พิจารณาผลการปฏิบัติงาน รวมทั้งงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9, 17 25 % , 25 %
2 1.1, 1.6, 1.7, 2.1, 2.4 – 2.6, 3.2, 4.1 – 4.6, 5.3-5.4 วิเคราะห์การศึกษาค้นคว้า การนำเสนองาน การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมายและการทดสอบย่อย ตลอดภาคการศึกษา 40%
3 1.1 – 1.7, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
[1]  จำรูญ  ตันติพิศาลกุล,เขียนแบบวิศวกรรม 1,กรุงเทพฯ : สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี,2538   [2]  นริศ   ศรีเมฆ,เขียนแบบเทคนิค 1,กรุงเทพฯ : เอมพันธ์, 2538   [3]  ธีรยุทธ สุวรรณประทีป และ สันติ ลักษิตานนท์, เขียนแบบวิศวกรรมเบื้องต้น, กรุงเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2543   [4]  ธีระยุทธ  เจ้าสกุล, เขียนแบบเทคนิคเบื้องต้น, กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) , 2547   [5]  อำนวย อุดมศรี, เขียนแบบวิศวกรรม, กรุงเทพฯ : สกายบุ๊กส์, 2547   [6]  D. A. Madsen, T. M. Shumaker, J. L. Turpin, and C. Stark, Engineering Drawing and Design, 2nd Edition, Delmar, 1996   [7]  Jirapong Kasivitamnuay, Fundamentals of Engineering Drawing , Chulalongkorn University Press, 2007
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อในประมวลรายวิชาเขียนแบบวิศวกรรม
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้   1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน   1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา   1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้   2.1  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน   2.2  ผลการเรียนของนักศึกษา   2.3  การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้   3.1  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน   3.2  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้   4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร   4.2  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้   5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4   5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ