การควบคุมและประกันคุณภาพทางการพิมพ์

Printing Quality Control and Assurance

ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการใช้ สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะทางที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพทางการพิมพ์ ขั้นตอนของกระบวนการพิมพ์แต่ละระบบ และการควบคุมคุณภาพในแต่ละขั้นตอน โดยเน้นทักษะการตรวจสอบคุณภาพ และการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางการพิมพ์ เพื่อให้ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพ
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์และสามารถฝึกทักษะปฏิบัติในการทำงานตามหลักการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานงานพิมพ์โดยอิงตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้
ศึกษาและปฏิบัติเกี่ยวกับ เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการใช้ สำหรับเครื่องมือและอุปกรณ์เฉพาะทางที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพทางการพิมพ์ ขั้นตอนของกระบวนการพิมพ์แต่ละระบบ และการควบคุมคุณภาพในแต่ละขั้นตอน โดยเน้นทักษะการตรวจสอบคุณภาพ และการวิเคราะห์เพื่อหาสาเหตุของปัญหาทางการพิมพ์ เพื่อให้ได้งานพิมพ์ที่มีคุณภาพ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
     พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ คำนึงถึงการใช้เอกสาร ตำราวิชาการและบทความต่างๆเคารพในสิทธิของผู้อื่น โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตรดังนี้

ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและ

ลำดับความสำคัญ

เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์


เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้หลักการและการทักษะปฏิบัติของการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ต่อบุคคลองค์กรและสังคม

11.7 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
บรรยายพร้อมยกตัวอย่างวิธีการจัดหาเนื้อหาเพื่อใช้ในการวิเคราะห์คุณภาพงานพิมพ์ แบ่งกลุ่มสำหรับฝึกทักษะปฏิบัติเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ตามหลักการกระบวนการที่ถูกต้อง อภิปรายกลุ่มวิเคราะห์การควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ส่งรายงานผลพร้อมผลงาน
     1.3.1 สังเกตพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และการส่งงานตรงตามที่กำหนดและครบถูกต้อง
     1.3.2 สามารถวิเคราะห์ตามเนื้อหาที่มอบหมายให้ถูกต้อง
     1.3.3 สามารถอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์
     1.3.4 ประเมินผลการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
 
 
    มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับขั้นตอนการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์และสามารถฝึกทักษะปฏิบัติในการทำงานตามหลักการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ ตลอดจนกระบวนการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานงานพิมพ์โดยอิงตามมาตรฐานสากลที่กำหนดไว้
     บรรยาย อภิปราย ศึกษาดูงานในสถานประกอบการ การนำเสนอตัวอย่างงานพิมพ์จริง เรียนรู้ขั้นตอนการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ตามมาตรฐานสากลและมอบหมายให้นักศึกษาแบ่งกลุ่มฝึกทักษะปฏิบัติโดยทำรูปแบบของรายงานและนำเสนอโดยวิเคราะห์ร่วมกัน พร้อมนำเสนอผลงาน
     2.3.1 ประเมินจากรายงานกลุ่ม
     2.3.2 ประเมินจากการนำเสนอประเด็นหัวข้อที่มอบหมายให้วิเคราะห์
     2.3.3 ข้อสอบกลางภาคและปลายภาค
     พัฒนาความสามารถในการคิดการวิเคราะห์สาเหตุและการแก้ไขปัญหาทักษะด้านการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ รวมทั้งทัศนคติที่ดีต่อการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์
    3.2.1 การมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์ตามหลักการการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์ตลอดจนรู้วิธีการและขั้นตอนกระบวนการควบคุมคุณภาพงานพิมพ์อย่างมีระบบ
    3.2.2 อภิปรายกลุ่ม
    3.2.3 วิเคราะห์กรณีศึกษา
    3.2.4 สามารถควบคุมคุณภาพสิ่งพิมพ์ตามมาตรฐานการพิมพ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
     3.3.1ประเมินผลจากการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
     3.3.2ประเมินผลจากการนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่ได้รับมอบหมาย
     4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
     4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม
     4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
     4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์
     4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่ม
     4.2.3 การนำเสนอผลงานจริงของการควบคุมคุณภาพ
     4.3.1 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
     4.3.2สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหาทั้งในงานของตนเอง และงานที่ทำร่วมกันเป็นกลุ่ม
     5.1.1 พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
     5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูล
     5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้นข้อมูล
     5.1.4 ทักษะด้านเทคโนโลยีสื่อและการสื่อสารในรูปแบบต่างๆ
     5.1.5ทักษะในการนำเสนอผลการศึกษาที่ได้รับมอบหมาย
     5.2.1 นำเสนอผ่านตัวอย่างงานพิมพ์จริง
     5.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
     5.2.3 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
     5.3.1 ประเมินจากรายงานและรูปแบบการนำเสนอ
     5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
     6.1.1 พัฒนาความรู้ความสามารถในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและการออกแบบได้เป็นอย่างกลมกลืน
     6.1.2พัฒนาให้มีความคิดสร้างสรรค์อย่างต่อเนื่องเพื่อสังคมเป็นสุข
     6.2.1 นำเสนอผ่านตัวอย่างงานจริงโดยใช้หลักด้านการวิเคราะห์และเรียบเรียงข้อมูลมาประกอบ
     6.2.2 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในหัวข้อศึกษาที่ได้รับมอบหมายและเป็นประโยชน์
     6.3.1 ประเมินจากความสามารถในการอธิบายถึงความคิดรวบยอดของการทำรายงาน
     6.3.2 ประเมินจากระยะเวลาในการปฏิบัติผลงาน
     6.3.3 ประเมินจากผลงานที่มีคุณภาพ ตรงตามหัวข้อที่ศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมและจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 2 3 1 1 2 1 2 3 4 1 2 3
1 44011005 การควบคุมและประกันคุณภาพทางการพิมพ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ภาคทฤษฎี สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 สัปดาห์ที่ 18 20% 20%
2 จากการปฏิบัติงาน -คิดและวิเคราะห์ แก้ปัญหา ค้นคว้าเอกสารในการจัดทำรายงาน -การสรุป รวบรวม เนื้อหาข้อมูลตรงตามหัวเรื่องที่ศึกษา -การทำงานและผลงานที่นำเสนอ -การส่งงานครบตรงตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา 50%
3 จากความสนใจและการให้ความร่วมมือ -การเข้าเรียนในห้องเรียน -การใส่ใจ ความกระตือรือร้นในการทำงาน การมีส่วนร่วมอภิปรายร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนและอาจารย์ผู้สอน ตลอดภาคการศึกษา 10%
--เอกสารการสอนชุดวิชา การจัดการทางการผลิตและการควบคุมคุณภาพทางการพิมพ์ หน่วยที่ 9-15 (ฉบับปรับปรุง ครั้งที่ 1) มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- Handbook printing media
- หนังสือมาตรฐานการพิมพ์ออฟเชต รศ.ดร. อรัญ หาญสืบสาย
-หนังสือเทคนิคการแก้ไขปัญหาการพิมพ์ระบบออฟเชต ภักดี พูลสุข
- คุณภาพการพิมพ์ออฟเชตตาม ISO 12647-2 รศ. ผกามาศ ผจญแกล้ว
- มาตรฐานการพิมพ์ออฟเชตแนวคิดและวิธีการOffset Printing Standard รศ.ดร. อรัญ หาญสืบสาย
- วารสารการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ “Quality and Standards” ฉบับที่ 88/2550
- วารสารการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ “การจัดการไฟล์ข้อมูลดิจิทัล(ต่อ)” ฉบับที่ 91/2552
- วารสารการพิมพ์บรรจุภัณฑ์ “สิ่งพิมพ์มีผลใช้ได้ ISO 12647-8 (Valiation prints)” ฉบับที่ 94/2553
- วารสารในวงการพิมพ์ “การวัดคุณภาพของการพิมพ์ดิจิทัล” ฉบับที่ 3 ก.ย. – ต.ค.2555
- http://www.thaiprint.org/thaiprint/index.php
- http://www.ssru.ac.th/teacher/printingonline/mod/resource/view.php?id=443
- http://bangkokprint.com/?p=848
- http://printing99.blogspot.com/2010/11/blog-post_29.html
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา แบบประเมินผู้สอนโดยผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
 
3.1 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ