การสำรวจและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม

Survey and Research for Tourism Industry and Hotel

1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้ศึกษาความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัย รวมถึงขั้นตอนและกระบวนการวิจัยในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้นำกระบวนการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการโรงแรมในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค
1.3 เพื่อให้นักศึกษาสามารถวิเคราะห์สถานการณ์การท่องเที่ยว และวิเคราะห์ข้อมูลได้อย่างถูกต้อง ตลอดจนสามารถเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนองานวิจัยในระดับประเทศได้
เพื่อให้มีความทันสมัยสอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงความต้องการผลการวิจัยที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมได้
ศึกษาความสำคัญและประโยชน์ของการวิจัยเพื่อนำมาใช้ในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและการโรงแรมในท้องถิ่นและในระดับภูมิภาค ศึกษาขั้นตอนและกระบวนการวิจัย ตลอดจนการวิเคราะห์ข้อมูล การเขียนรายงานการวิจัยและนำเสนอ โดยให้นักศึกษาเลือกศึกษาวิจัยในหัวเรื่องที่อยู่ในความสนใจหนึ่งเรื่อง
หมายเหตุ :
1. นักศึกษาต้องแบ่งกลุ่มเพื่อทำงานวิจัย ไม่เกินกลุ่มละ 3 คน เท่านั้น หากมีจำนวนนักศึกษาเกินให้ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของอาจารย์ผู้สอน
2. นักศึกษาลงทะเบียนวิชาการสำรวจและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมนี้ต้องมีการจัดเอกสารเชิงหลักการ (concept paper) ข้อเสนอโครงการวิจัย (research proposal) และรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ (full research report) โดยจัดให้แล้วเสร็จภายในภาคเรียนที่ 1/2562 โดยให้จัดส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ภายในวันศุกร์ของสัปดาห์ที่ 17 เวลา 16.30 น. ณ ห้องพักอาจารย์ภาควิชาชั้น 6 พร้อม CD แบบ pdf file แนบ หากเกินกำหนดเวลาจะหักคะแนนนาทีละ 1 คะแนน และหากเกิน 10 นาทีจะไม่รับรายงานทุกกรณี (ยกเว้นมีกรณีฉุกเฉินที่เกี่ยวข้องกับความปลอดภัยของนักศึกษา)
3. การจัดทำรายงานวิจัยต้องผ่านการปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกษางานวิจัยอย่างน้อย 10 ครั้งก่อนการนำเสนอผลงานวิจัยทางการท่องเที่ยวในสัปดาห์ที่ 16 และต้องมีหลักฐานการเข้าพบอาจารย์ที่ปรึกษาเป็นลายลักษณ์อักษร
4. วิชาการสำรวจและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรมมีการจัดการเรียนการสอนภาคทฤษฎี 8 สัปดาห์ และมีการจัดการเรียนการสอนภาคปฏิบัติโดยผ่านการให้คำปรึกษาของอาจารย์ที่ปรึกษาและคณะกรรมการของหลักสูตร 7 สัปดาห์และการส่งรายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ถือเป็นการสอบปลายภาคเรียน
5. นักศึกษาต้องแต่งกายถูกต้องตามระเบียบมหาวิทยาลัยเท่านั้น ห้ามใช้โทรศัพท์หรือเปิดเสียงโทรศัพท์ในห้องเรียน การขาดเรียนเกิน 3 ครั้ง จะส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบในรายวิชาทันที โดยการมาสาย 2 ครั้ง นับเป็น 1 การขาดเรียน ทั้งนี้นักศึกษาทั้งชาย-หญิงให้แต่กายตามระเบียบมหาวิทยาลัย สีผมธรรมชาติและไม่ไว้หนวดเครา หากพบผู้ฝ่าฝืนจะหักคะแนนต่อครั้งไม่เกิน 3 ครั้ง โดยครั้งที่ 4 จะไม่อนุญาตให้เข้าห้องเรียนและส่งชื่อไม่มีสิทธิ์สอบ   
 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.) มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรม และความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
2.) มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ
3.) มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น และมีภาวะผู้นำ
4.) มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม
1.) สอนโดยใช้กรณีศึกษาและอภิปรายร่วมกัน
2.) การแสดงออกอันเป็นแบบอย่างที่ดีของผู้สอน
1.) สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน
2.) ทำงานเป็นกลุ่ม และรายงานผลงาน
1.) มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
2.) มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
3.) มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ในงานอาชีพ
1.)  การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2.)  มอบหัวข้อเรื่องให้ค้นคว้าและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่ม
3.) อภิปรายเป็นกลุ่ม โดยให้ผู้สอนตั้งคำถามตามระบบการสอนยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
1.) ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาคและปลายภาค
2.) ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
3.) ประเมินจากรายงานที่ให้ค้นคว้า
1.)  มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
2.) สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้
3.) มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปสู่การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
1.) การอภิปรายเป็นกลุ่ม
2.) การทำงานที่ได้รับมอบหมายให้ค้นคว้าหรืองานเกี่ยวกับการพัฒนาเป็นทีม
ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
1.) มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม
2.) สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรงตามมาตรฐานสากล
 
1.) มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม
2.) สอนโดยใช้กรณีศึกษา
1.) ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน
2.) ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer)
3.) สังเกตพฤติกรรมในการเรียน
1.) สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ
2.) สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม
3.)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ฝึกให้นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าด้วยตนเองในห้องเรียน
2. บูรณาการการใช้คอมพิวเตอร์ เครือข่าย และซอฟต์แวร์หรือสื่อต่าง ๆ ในทุกรายวิชาที่สามารถทำได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีความซื่อสัตย์ สุจริต และสามารถจัดการปัญหาด้านจริยธรรม และความขัดแย้งระหว่างผลประโยชน์ที่ได้รับกับจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ 2. มีทัศนคติที่ดีต่ออาชีพ และแสดงออกซึ่งคุณธรรมและจริยธรรมในการ ปฏิบัติงาน และการปฏิบัติตนต่อผู้อื่นอย่างสม่ำเสมอ 3. มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อ การพัฒนาเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น และมีภาวะผู้นำ 4. มีวินัย มีความตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับขององค์กรและสังคม 1. มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม ทั้งภาคทฤษฎีและ ภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก 2. มีความรู้ที่เกิดจากการบูรณาการความรู้ในศาสตร์ต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง 3. มีความรู้ในกระบวนการ และเทคนิคการวิจัยเพื่อแก้ไขปัญหาและต่อยอด องค์ความรู้ในงานอาชีพ 1. มีความสามารถประมวล และศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา ข้อโต้แย้ง และสังเคราะห์ได้อย่างถูกต้องตามหลักการ และตามขั้นตอนเชิงวิทยาศาสตร์ รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก 2. สามารถสาธิต ทักษะในการแก้ปัญหาที่ใช้เหตุผลเชิงวิเคราะห์ให้ผู้อื่นเข้าใจได้ 3. มีความสามารถประยุกต์ใช้ความรู้ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ ไปสู่การฝึกประสบการณ์ภาคสนาม และการปฏิบัติงานจริงตามสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม 1. มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตนในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหากลุ่ม 2. สามารถพัฒนาตนเอง และพัฒนาวิชาชีพให้ทันสมัยอย่างต่อเนื่อง และตรง ตามมาตรฐานสากล 1. สามารถใช้ภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน และการเขียนอย่างมีประสิทธิภาพ 2. สามารถสื่อสารกับชาวต่างชาติได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรม 3. สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการติดต่อสื่อสาร รู้จักเลือกรูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่อง และผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4. สามารถใช้เทคนิคพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติในการประมวล การแปลความหมายและการวิเคราะห์ข้อมูล
1 13010015 การสำรวจและวิจัยสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการโรงแรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 4.1 สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียน (จิตพิสัย) ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1 ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาค 9 20%
3 2.1 ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมาย (การทบทวนวรรณกรรม) 8 10%
4 2.1, 3.1, 4.1 ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ -concept paper (5 คะแนน) -เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (5 คะแนน) -proposal (10 คะแนน) 8, 10 20%
5 5.1 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน (5 บท) 16 10%
6 4.1 ประเมินจากรายงานการวิจัยฉบับสมบูรณ์ของกลุ่มผู้เรียน 17 30%
อัศวิน แสงพิกุล. (2556). ระเบียบวิธีวิจัยด้านการท่องเที่ยวและการโรงแรม. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ธุรกิจบัณฑิต.
สัมฤทธิ์ กางเพ็ง และคณะ. (2559). การวิจัยแบบผสมวิธี: กระบวนทัศน์การวิจัยในศตวรรษที่ 21. มหาสารคาม: ห้างหุ้นส่วนจำกัด อภิชาตการพิมพ์.
วิทยานิพนธ์ระดับบัณฑิตศึกษาของมหาวิทยาลัยต่างๆในสาขาวิชาที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนรายงานการวิจัยต่างๆ และของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.)
วารสารด้านการวิจัยเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว การจัดการทรัพยากรการท่องเที่ยว ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในระบบฐานข้อมูลต่างๆที่นักศึกษาค้นคว้าหาอ่านได้ด้วยตนเอง
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชานี้

ข้อเสนอแนะอื่นๆ
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1
2.2 สุ่มสังเกตการสอนและการประเมินการจัดการเรียนการสอน (โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเอง ในประเด็นต่อไปนี้

ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน

ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
สาขาวิชาการท่องเที่ยวและการโรงแรม มีกลไกและวิธีการปรับปรุงการเรียนการสอน ดังนี้
3.1 ให้อาจารย์ผู้สอนแต่ละหัวข้อบันทึกเหตุการณ์ระหว่างการสอนที่สมควรนำเสนอให้พิจารณารวมทั้งสิ่งที่ควรปรับปรุงแก้ไขในแต่ละครั้ง
3.2 ประชุม/สัมมนาอาจารย์ผู้สอนเพื่อพิจารณาปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนสำหรับปีการศึกษาต่อไปโดยอาศัยข้อมูลดังต่อไปนี้

ผลการศึกษาของนักศึกษา

ผลการประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยใช้แบบประเมินของหลักสูตรต่อระดับผลการเรียนรู้ของนักศึกษา จัดให้ Pretest และ Post -test และหลักสูตรจัดให้มีคณะกรรมการทวนสอบของหลักสูตรดำเนินการทวนสอบตามเกณฑ์ของหลักสูตรและเกณฑ์การประกันคุณภาพของหลักสูตร
ปีการศึกษา 2562 ได้ปรับเนื้อหาการเรียนการสอน โดยเพิ่มการเขียน Concept paper และการปรับปรุง ลำดับการสอนให้สอดคล้องกับระยะเวลาการดำเนินการวิจัยของนักศึกษา