คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า

Electrical Engineering Mathematics

1.1 เข้าใจทฤษฏีและการนำมาใช้งานของตัวแปรเชิงซ้อน
1.2 เข้าใจทฤษฏีของเวคเตอร์ การวิเคราะห์เวคเตอร์พร้อมทั้งการนำมาใช้งาน
1.3 เข้าใจวิธีการอนุกรมฟูเรียร์ และการนำมาวิเคราะห์รูปคลื่นทางไฟฟ้า
1.4 เข้าใจวิธีการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์โดยวิธีการแปลงลาปลาซและนำมาแก้ปัญหาทางวงจรไฟฟ้า
1.5 เห็นความสำคัญของการคิดคำนวณเกี่ยวกับวงจรไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมและวางแผนการสอนรายวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ สำหรับสอนนักศึกษาหลักสูตรวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับการใช้งานของตัวแปรเชิงซ้อน การวิเคราะห์เวคเตอร์และการนำไปใช้ ทฤษฏีอนุกรมฟูเรียร์และการนำไปใช้ในการวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้า ทฤษฏีการแปลงลาปลาซ และการนำไปใช้วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
ศึกษาเกี่ยวกับฟังก์ชันตัวแปรเชิงซ้อน, การวิเคราะห์เวคเตอร์และการนำไปใช้, ทฤษฏีอนุกรมฟูเรียร์และการนำไปใช้ในการวิเคราะห์รูปคลื่นไฟฟ้า,ทฤษฏีการแปลงลาปลาซ และการนำไปใช้วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านป้ายประกาศของสาขาวิชา
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย มีวินัย มีจรรยาบรรณ มีความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ ความถ่อมตนและจิตใจเมตตาต่อเพื่อร่วมงาน ความไม่ละโมบ และการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของประชาชนไทยตามรัฐธรรมนูญ
 
(1) ให้ทำโครงงาน หรือวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ต้องประยุกต์ความรู้ในวิชากับปัญหาจริง โดยให้นักศึกษาทำเป็นกลุ่ม
(2) กำหนดประเด็นที่เป็นเรื่องน่าสนใจในขณะนั้น ให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้า และอภิปรายกลุ่มฝึกสังเกตุพฤติกรรมของสมาชิกอื่น ๆ ทั้งในด้าน ภาษา ท่าทาง บุคลิกภาพ ฯลฯ
(3) สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรม ความสามารถในระหว่างที่ทำให้โครงงาน โดยการพูดคุยกับนักศึกษาเน้นความรับผิดชอบต่องาน วินัย จรรยาบรรณ ความซื่อสัตย์ต่อหน้าที่ในกลุ่ม ความถ่อมตนและความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมงาน และความซื่อสัตย์
สังเกตพฤติกรรมต่าง ๆ ของนักศึกษาและวิเคราะห์ฝึกสังเกตุที่เกิดระหว่างการทดลองใช้วิธีการสอนในข้อ (2) ข้างต้นว่าเป็นไปตามคาดหมายไว้หรือไม่ ถ้าไม่เป็นไปตามที่คาดหมาย ก็อาจเปลี่ยนสถานการณ์หรือปรับโครงการให้เหมาะสมมากขึ้น     
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับวิชาคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ มีคุณธรรม จริยธรรม ต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้ เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้

อธิบายทฤษฏีและการนำมาใช้งานของตัวแปรเชิงซ้อน อธิบายทฤษฏีของเวคเตอร์ การวิเคราะห์เวคเตอร์พร้อมทั้งการนำมาใช้งาน อธิบายวิธีการอนุกรมฟูเรียร์ และการนำมาวิเคราะห์รูปคลื่นทางไฟฟ้า อธิบายวิธีการแก้ปัญหาสมการเชิงอนุพันธ์โดยวิธีการแปลงลาปลาซ และนำมาแก้ปัญหาทางวงจรไฟฟ้า

   การทดสอบมาตรฐานนี้สามารถทำได้ โดยการทดสอบจากข้อสอบของวิชาคณิตศาสตร์สำหรับวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ในชั้นเรียนตลอดระยะเวลาที่นักศึกษาอยู่ในหลักสูตร
บรรยายหัวข้อรายละเอียดต่าง ๆ โดยใช้สื่อ Power Point ประกอบการบรรยายโดยให้นักศึกษาร่วมอภิปรายประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้องกับสาระการเรียนรู้และตามด้วยตัวอย่างในการศึกษา อภิปรายโต้ตอบระหว่างอาจารย์และนักศึกษา การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน และการวิเคราะห์กรณีศึกษา
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบ นำเสนอสรุปการอ่านจากการค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอการวิเคราะห์กรณีศึกษา
ความสามารถในการคิดและหาเหตุผลอย่างเป็นระบบความสามารถในการประยุกต์ความรู้ในวิชานี้เพื่อแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์           
มอบหมายงานให้นักศึกษาทำรายงานหรือกรณีศึกษาที่กำหนดโดยใช้ความรู้วิชานี้ไปสังเกต วิเคราะห์ อย่างมีเหตุผล และนำเสนอผลงานในรูปของการอภิปรายกลุ่ม
ทดสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์และการประยุกต์ความรู้ที่ศึกษา และสภาพเนื้อหาในบทเรียนที่ได้ศึกษา
ทักษะการสร้างสัมพันธภาพระหว่างนักศึกษาด้วยกัน ทักษะความเป็นผุ้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม ทักษะการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ทักษะการปฏิบัติหน้าที่ที่ดีของนักศึกษาและการปฏิบัติตัวที่ดีต่ออาจารย์
ให้ทำโครงการหรือวิเคราะห์กรณีศึกษาร่วมกันเป็นกลุ่มโดยเน้นความรู้ที่เรียนในวิชากับปัญหาที่กำหนด แทรกประสบการณ์ของอาจารย์ในระหว่างการสอนโดยผ่านการเล่าเรื่องต่าง ๆ พูดคุยกับนักศึกษาถึงความจำเป็นในวิชาที่เรียน ในระหว่างทำการสอน
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินรายงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินพฤติกรรมในห้องเรียน เช่น การเข้าเรียน การทำงานส่ง การมีส่วนร่วมกิจกรรมในชั้นเรียน
(1) ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข
(2)  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน
(3) พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา
(4) พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต
(5) ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งงานทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์
(6) ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จาก website สื่อการสอน e-learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยใช้รูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม เปิดให้มีการอภิปราย
การจัดทำรายงาน การมีส่วนร่วมในการอภิปรายในชั้นเรียน การนำเสนองานด้วยสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต 1.2 มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.3 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 1.4 สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม 1.5 มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน 2.1 มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐาน และเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี 2.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการที่สำคัญ ทั้งในเชิงทฤษฎีและปฏิบัติในเนื้อหาของสาขาวิชาเฉพาะด้านทางวิศวกรรม 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง 2.4 สามารถวิเคราะห์และแก้ไขปัญหา ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมถึงการประยุกต์ใช้เครื่องมือที่เหมาะสม 2.5 สามารถใช้ความรู้และทักษะในสาขาวิชาของตนในการประยุกต์แก้ไขปัญหาในงานจริงได้ 3.1 มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี 3.2 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และ สรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 3.3 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบรวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3.4 มีจินตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์ 3.5 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ 4.1 สามารถสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลาย และสามารถสนทนาทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถใช้ความรู้ในสาขาวิชาชีพมาสื่อสารต่อสังคมได้ในประเด็นที่เหมาะสม 4.2 สามารถเป็นผู้ริเริ่มแสดงประเด็นในการแก้ไขสถานการณ์เชิงสร้างสรรค์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวม พร้อมทั้งแสดงจุดยืนอย่างพอเหมาะทั้งของตนเองและของกลุ่ม รวมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ต่างๆ 4.3 สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และสอดคล้องกับทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 4.4 รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพรวมถึงสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ 4.5 มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม 5.1 มีทักษะในการใช้คอมพิวเตอร์ สำหรับการทำงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพได้เป็นอย่างดี 5.2 มีทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลสารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อการแก้ปัญหาที่เกี่ยวข้องได้อย่างสร้างสรรค์ 5.3 สามารถประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่ทันสมัยได้อย่างเหมาะสม และมีประสิทธิภาพ 5.4 มีทักษะในการสื่อสารข้อมูลทั้งทางการพูด การเขียน และการสื่อความหมายโดยใช้สัญลักษณ์ 5.5 สามารถใช้เครื่องมือการคำนวณและเครื่องมือทางวิศวกรรม เพื่อประกอบวิชาชีพในสาขาวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องได้ 6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
1 ENGEE102 คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.2,1.5, 2.1, 2.2, 2.4, 3.1 – 3.4, สอบหน่อยที่ 1 สอบหน่อยที่ 2 (สอบกลางภาค) สอบหน่อยที่ 3 สอบหน่อยที่ 4 (ปลายภาค) 5 9 13 17 20% 20% 20% 20%
2 1.2,1.5, 2.1,4.4, 4.6,5.2 ส่งรายงานแบบฝึกหัด หน่วยที่ 1 ส่งรายงานแบบฝึกหัด หน่วยที่ 2 ส่งรายงานแบบฝึกหัด หน่วยที่ 3 ส่งรายงานแบบฝึกหัด หน่วยที่ 4 ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2 – 1.5, 4.4-4.6 การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย ทรงผม การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
1.    ธีระยุทธ บุนนาค เอกสารประกอบการบรรยายวิชาคณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 1  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา วิทยาเขตพายัพ เชียงใหม่ : ม.ป.ท.
2.    นิรันดร์ คำประเสริฐ คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 1 อนุกรมอนุกรมฟูเรียร์ และฟูเรียร์ทรานสฟอร์ม  กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพฯ, 2537
3.    นิรันดร์ คำประเสริฐ คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 2 ลาปลาสทรานสฟอร์มและการประยุกต์ใช้  กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2537
4.    นิรันดร์ คำประเสริฐ คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า 3 การวิเคราะห์เชิงซ้อน เล่ม 1  กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ, 2537
5.    พฤทธิ์ พุทธางกุล และพิพัฒน์ พัดคุ้ม วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 1  กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,  2521
6.    พฤทธิ์ พุทธางกุล และพิพัฒน์ พัดคุ้ม วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2  กรุงเทพฯ : โครงการพัฒนาการศึกษาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี,  2521
7.   ไพรัช ธัชยพงษ์ วิเคราะห์วงจรไฟฟ้า 2  กรุงเทพฯ : อีเลคทรอนิคส์เวิลด์,  2525
8.    วรางคณา ร่องมะรุด การวิเคราะห์เวกเตอร์  มหาวิทยาลัยรามคำแหง : สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง,  2538
9.    Hsu, Hwei P., Vector Analysis.   New York : Simon and Schuster, 1696
10.  Joseph, A.E. and JE SWANN, Electric Circuit.   New York : McGraw - Hill , 1975
11.  Kreyszig, E.,Advance Engineering Mathematics. New York:John Wiley and Sons,1988 (sixth edition)
12.  Lathi, B.P., Signals, System and Communications.   New York : John Wiley and Sons, 1965
13.  Michael, D.C., Communication Systems.  New York : McGraw – Hill, 1975
14.  Paliouras, J.D.,Complex Variables for Scientists and Engineers.:Macmillan Publishing Co.,Inc., 1975.
15.  Simons, S., Vector Analysis for mathematicians, Scientists and Engineers.  London : Pergamon Press Ltd., 1970.
16. วิฑูรย์ พรมมี ตำรา คณิตศาสตร์วิศวกรรมไฟฟ้า  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย, 2561 
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์เรียนของนักศึกษา
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ