การบริหารงานวิศวกรรม

Engineering Management

1. มีความรู้ความเข้าใจ สามารถอธิบายหลักการจัดการอุตสาหกรรมเบื้องต้น
2. สามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการเรียนและการทำงานได้
3. มีจิตสำนึกที่ดีและมีคุณธรรมในการนำความรู้จากการเรียนการสอนในรายวิชาการบริหารงานวิศวกรรมใช้ในการดำรงชีวิตและประกอบอาชีพได้อย่างซื่อสัตย์ ถูกต้องเหมาะสม
มีการปรับปรุงเนื้อหาในรายวิชาเพิ่มเติม เพื่อให้มีความสมบูรณ์และเป็นปัจจุบันมากที่สุด โดยยังคงหลักการที่มีความสำคัญต่อรายวิชาไว้ สอดแทรก/ค้นหาข้อมูลเทคโนโลยีใหม่ๆ จากงานวิจัยเข้ามาประกอบการสอน
ศึกษาหลักการจัดการ มนุษยสัมพันธ์ในการทำงาน การเพิ่มผลผลิตทางวิศวกรรม กฎหมายการค้า กฎหมายแรงงาน ความปลอดภัยพื้นฐาน การตัดสินใจสำหรับการผลิต การพยากรณ์ในการผลิต การเงิน-การตลาด กับงานทางอุตสาหกรรม เศรษฐศาสตร์วิศวกรรมเบื้องต้น การบริหารโครงการ การบริหารควบคุมคุณภาพทั้งระบบการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มตามความต้องการอย่างน้อย 1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาอาจจะมีการติดต่อกับอาจารย์โดยใช้เครือข่ายอินเตอร์เน็ต เพื่อความสะดวกในการติดต่อสื่อสาร
พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  และประพฤติตนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของส่วนรวม โดยมีคุณธรรมจริยาธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร ดังนี้
   1. เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และซื่อสัตย์สุจริต
   2. มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
   3. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งคารพในคุณค่า และศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
   4. สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคมและสิ่งแวดล้อม
   1. การบรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษาเกี่ยวกับประเด็นทางด้านคุณธรรมจริยธรรม ที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานวิศวกรรม จรรยาบรรณของการประกอบอาชีพทางด้านวิศวกรรม เพื่อปลูกฝังให้นักศึกษารักในอาชีพการเป็นวิศวกร และดำเนินชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
   2. ใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่หลากหลายเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
   3. ใช้การบูรณาการการเรียนการสอนกับการทางาน (Work-Integrated Learning) โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี
   4. การอภิปรายกลุ่ม
   1. พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   2. มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องเหมาะสม
   3. ประเมินผลจาการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาค
   4. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่ได้รับมอบหมาย
   5. พฤติกรรมความตั้งใจในการเรียน การทำข้อสอบ ความตรงต่อเวลา การทำปฏิบัติการและรายงานผลการปฏิบัติการ
      ต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้นเป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
   1. มีความรู้และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์พื้นฐาน วิทยาศาสตร์พื้นฐาน วิศวกรรมพื้นฐานและเศรษฐศาสตร์ เพื่อการประยุกต์ใช้กับงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง และการสร้างนวัตกรรมทางเทคโนโลยี
    2. สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
   3. สามารถใช้ความรู้ และทักษะในสาขาวิชาในการประยุกต์แก้ไขปัญหา
   โดยมุ่งเน้นทั้งหลักการทางทฤษฎี และการประยุกต์ใช้ความรู้ในการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริงและให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงาน หรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ทั้งนี้ ให้ เป็นไปตามลักษณะของรายวิชา และเนื้อหาสาระของรายวิชา
ประเมินจากผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและการปฏิบัติของนักศึกษา โดยใช้การวัดผล ดังนี้
   1. การทดสอบย่อย
   2. การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน
   3. รายงานที่นักศึกษาจัดทำ
   4. งานที่ได้มอบหมาย
   5. การนำ เสนอรายงานในชั้นเรียน
   นักศึกษาสามารถพัฒนาตนเองและประกอบวิชาชีพโดยพึ่งตนเองได้เมื่อจบการศึกษา ดังนั้น นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญา พร้อมกับคุณธรรม และจริยธรรม โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหาแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
   1. มีความคิดอย่างมีวิจารณญาณที่ดี
   2. สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
   3. มีจิตนาการและความยืดหยุ่นในการปรับใช้องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม ในการพัฒนานวัตกรรมหรือต่อยอดองค์ความรู้จากเดิมได้อย่างสร้างสรรค์
   4. สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ
     การมาตรฐานในข้อนี้สามารถทำได้โดยการออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดของการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา หลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกคำตอบเดียวจากกลุ่มคำตอบที่ให้มา ไม่ควรมีความถามเกี่ยวกับนิยามต่างๆ
   ใช้การเรียนการสอนที่หลากหลายโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และการบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน (Work-Integrated Learning) มุ่งเน้นให้นักศึกษารู้จักวิเคราะห์องค์ประกอบของสถานการณ์ต่าง ๆโดยใช้บทบาทสมมติสถานการณ์จำลอง และกรณีศึกษาเพื่อเป็นตัวอย่างให้นักศึกษาได้ฝึกวิเคราะห์แนวทางแก้ไขให้ถูกต้อง
ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน และการปฏิบัติของนักศึกษา เช่น
   1. บทบาทสมมติหรือสถานการณ์จำลอง
   2. การเลือกใช้วิธีการเพื่อแก้ไขปัญหาในบริบทต่างๆ
   3. การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
   นักศึกษาที่ออกไปประกอบอาชีพส่วนใหญ่ต้องเกี่ยวข้องกับคนที่ไม่รู้จักมาก่อน คนที่มาจากต่างสถาบันอื่นๆ และคนที่มาเป็นผู้บังคับบัญชา หรือคนที่จะมาอยู่ใต้บังคับบัญชา ความสามารถที่จะปรับตัวให้เข้ากับคนกลุ่มต่างๆ จึงเป็นเรื่องที่สำคัญ ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่นักศึกษาจะต้องเรียนรู้เกี่ยวกับวิชาทางด้านสังคมศาสตร์ที่เกี่ยวกับคุณสมบัติต่างๆ ดังนี้
   1. รู้จักบทบาท หน้าที่ และมีความรับผิดชอบในการทำงานตามที่มอบหมาย ทั้งงานบุคคลและงานกลุ่ม สามารถปรับตัวและทำงานกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมกับความรับผิดชอบ
   2. มีจิตสำนึกความรับผิดชอบด้านความปลอดภัยในการทำงาน และการรักษาสภาพแวดล้อมต่อสังคม
 มอบหมายงานให้ทางานเป็นกลุ่ม โดยสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษา ดังนี้
   1. สามารถทำงานกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี
   2. มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
   3. สามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ได้
   4. มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
   5. มีภาวะความเป็นผู้นำ      
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
ใช้คอมพิวเตอร์/อินเตอร์เน็ตในการสืบค้นข้อมูลและจัดการข้อมูล ความสามารถในการใช้คณิตศาสตร์ หรือ สถิติเพื่อการวิเคราะห์และจัดการข้อมูล
มอบหมายงานที่ต้องสืบค้น จัดการ และนำเสนอข้อมูล
ประเมินผลสัมฤทธิ์ของงานที่ได้รับมอบหมาย
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 4 5 1 2 3 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2
1 34062313 การบริหารงานวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 และ 3.2 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค 8 และ 17 30% และ 40%
2 1.1,2.1,2.4,3.2,4.1 – 4.4,5.3-5.4 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.4, 3.1 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
ภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, “การจัดการทางวิศวกรรม” พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นของนักศึกษาได้ดังนี้
   1. การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
   2. แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 ข้อเสนอแนะของนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
   1. การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
   2. ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
   1. การสังเกตพฤติกรรมจากการทำกิจกรรมของนักศึกษา
   2. ผลการเรียนของนักศึกษา (การสอบกลางภาคและปลายภาค)
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการตรวจแบบฝึกหัด เพื่อปรับปรุงแก้ไข อธิบายทำความเข้าใจเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม และพิจารณาคะแนนสอบย่อย สอบกลางภาคและสอบปลายภาค
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
   1. ปรับปรุงรายวิชาทุกๆ 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4ฃ
   2. ปรับปรุงรูปแบบของกิจกรรมให้มีความหลากหลาย
   3. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้มีความน่าสนใจ มีการเลือกใช้สื่อที่ทันสมัย
   4. นำข้อคิดเห็นจากการประเมิน โดยนักศึกษามาประมวลผล เพื่อจัดเนื้อหาความรู้ให้เหมาะสม ผลจากการประมวลจะถูกนำไปปรับปรุงการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป
   5. ปรับปรุงเนื้อหาการสอนให้ตรงกับการทำงานจริง โดยให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ไปประกอบอาชีพในอนาคตได้