วิทยานิพนธ์

Thesis

1. นักศึกษาสามารถค้นคว้าและประมวลความรู้จากข้อมูลและความก้าวหน้าทางวิชาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรได้ 
2. นักศึกษาสามารถสืบผลงานวิชาการที่ทันสมัยด้านเทคโนโลยีการเกษตรมาประยุกต์ใช้ในดำเนินงานทดลอง วิเคราะห์ข้อมูลงานทดลองทางสถิติให้เป็นระบบได้ 
3. นักศึกษาสามารถเรียบเรียงและเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ทางเทคโนโลยีการเกษตรและและการเขียนเอกสารอ้างอิงได้ถูกต้อง 
4. นักศึกษาสามารถสรุปและนำเสนอแบบปากเปล่าในหัวข้อวิทยานิพนธ์ทางการด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน
การปรับปรุงรายเนื้อหาเพิ่มเติมรายละเอียดของวิชาด้านความรู้  ความเข้าใจ ให้ได้ตามเกณฑ์ของหลักสูตร และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้องได้และสอดคล้องกับปรัชญาหลักสูตรที่ได้ปรับปรุงใหม่ให้ทันสถานการณ์ในโลกปัจจุบัน
ทำการทดลองในหัวข้อวิชาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรในสาขาที่ศึกษา รวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นระบบ  แปลผลและวิจารณ์ผล สังเคราะห์และจัดทำรายงานเชิงวิทยาศาสตร์
3
1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรมเสียสละและซื่อสัตย์สุจริต 
1.2 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม 
1.3 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 
1.4 สามารถจัดการปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรมเชิงวิชาการหรือวิชาชีพที่ซับซ้อนโดยสามารถวางแผนจัดลำดับความสำคัญได้  
1.5 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 
1.6 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆขององค์กรและสังคม
1.  ใช้วิธีการสอนแบบสื่อสารสองทาง เปิดโอกาสให้นักศึกษามีการตั้งคำถามหรือตอบคำถาม หรือแสดงความคิดเห็นที่เกี่ยวข้องกับคุณธรรม จริยธรรม ในชั้นเรียน  
2. อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นตัวอย่าง  ให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ  การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา 
3. ยกตัวอย่างกรณีศึกษา ตัวอย่างที่ขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณในวิชาชีพ
1. การตรวจสอบการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งรายงาน 
2. ประเมินการรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น โดยนักศึกษาอื่นๆในรายวิชาเดียวกัน 
3. นักศึกษาประเมินตนเอง
2.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหา 
2.2 สามารถเชื่อมโยงทฤษฎีความรู้ ความเข้าใจ เข้ากับงานวิจัยและการปฏิบัติทางวิชาชีพอย่างลึกซึ้ง
1.ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดยเน้นให้นักศึกษาค้นคว้าหาข้อมูลวิชาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสถานการณ์ปัจจุบัน ที่สอดคล้องกับหัวข้อเค้าโครงวิทยานิพนธ์ 
2. การสอนแบบศึกษาด้วยตนเองศึกษาจากหนังสือ ตำรา  และสื่อสารสนเทศเปรียบเทียบวิธีการวิจัยที่ได้ผลผลิตและวิเคราะห์คุณภาพทางเคมีและกายภาพของผลผลิตที่ได้จากการศึกษาค้นคว้าอิสระ  เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้มา สรุป อภิปราย มีการทำรายงานเป็นรายบุคคล และการนำเสนอรายงานมมนา พร้อมตอบข้อซักถามได้
1. ความก้าวหน้าของรายงานวิทยานิพนธ์ฉบับสมบูรณ์  
2. การนำเสนอรายงานวิทยานิพนธ์ทางวิชาการที่สอดคล้องกับความสนใจของนักศึกษา
3.1 มีทักษะในการนำความรู้มาวิเคราะห์และสังเคราะห์ประเด็นหรือปัญหาที่ซับซ้อนได้อย่างสร้างสรรค์เป็นระบบ 
3.2 สามารถพัฒนาความคิดใหม่ๆ โดยบูรณาการความรู้ที่ศึกษาตลอดถึงการใช้เทคนิคการวิจัยในสาขากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง  
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทางรูปแบบวิทยานิพนธ์ วิเคราะห์และสังเคราะห์ ในเรื่องที่สืบค้นมานำเสนอในชั้นเรียนและการแสดงความคิดเห็นต่อปัญหาและความสำคัญของหัวข้อที่นักศึกษาสนใจศึกษา 
1. ประเมินจากการตอบปัญหาและการแสดงความคิดเห็นในชั้นเรียน เป็นรายบุคคล
2. ความก้าวหน้าในการจัดทำรูปเล่มรายงานวิทยานิพนธ์
4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์ และมารยาทสังคมที่ดี 
4.2 สามารถแก้ไขปัญหาทางวิชาชีพที่มีความซับซ้อนหรือความยุ่งยากระดับสูงได้ด้วยตนเองสามารถตัดสินใจในการดำเนินงานด้วยตนเอง 
4.3 สามารถประเมินตนเองได้รวมทั้งวางแผนในการปรับปรุงตนเองให้มีประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานระดับสูงได้ 
4.4  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามสามารถทำงานเป็นหมู่คณะรวมทั้งแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 
4.5 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ โดยการสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทางรูปแบบวิทยานิพนธ์ นำเสนอผลงานการศึกษาค้นคว้าในหัวข้อด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่นักศึกษาสนใจศึกษา และร่วมประเมินผลการนำเสนองานของเพื่อนร่วมชั้น โดยการถามตอบและมีการให้ข้อคิดเห็น
1. งานที่ให้ปฏิบัติตามสภาพจริง 
2. การนำเสนองานค้นคว้าทางวิชาการที่หัวข้อด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่นักศึกษาสนใจศึกษา และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน
5.1 ทักษะในการใช้ข้อมูลทางคณิตศาสตร์และสถิติในการศึกษาค้นคว้าสรุปและเสนอแนะแก้ไขปัญหาในด้านต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
5.2 สามารถนำเสนอรายงานทั้งในรูปแบบที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการผ่านสิ่งตีพิมพ์ทางวิชาการและวิชาชีพ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งของวิทยานิพนธ์หรือโครงวิทยานิพนธ์ 
5.3 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารสนเทศและเทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
5.4  สามารถใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสาร และใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. การสอนแบบบรรยายเชิงปฏิบัติการสืบค้นผลงานวิจัยจากเอกสารวิชาการจากสื่อสิ่งพิมพ์ระดับชาติและนานาชาติ  
2.  การสอนแบบวิทยานิพนธ์เชิงวิชาการในการนำเสนอผลงานค้นคว้าในรูปของการนำเสนอแบบปากเปล่าด้วยสื่อต่างๆ   และบทความวิชาการในรูปของรายงานหรือบทความในวารสารวิชาการที่ส่งตีพิมพ์ในวารสารวิชาการทางด้านเทคโนโลยีการเกษตร 
1. ความก้าวหน้าของผลงานเขียนทางวิชาการที่ค้นคว้าที่ให้ปฏิบัติตามหัวข้อในแผนการสอน
2. การนำเสนอรายงานค้นคว้าปากเปล่าทางวิชาการที่สอดคล้องกับการศึกษาค้นคว้าอิสระและบทความวิชาการในรูปของรายงานหรือบทความในวารสารวิชาการ
-
-
-
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ด้านความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 6 1 2 3 4 1 2 1 2 3 4 5 1 2 3 4
1 MSCGT601 วิทยานิพนธ์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1 - 1.6 การสังเกตพฤติกรรมการมีวินัยต่อการเรียน การตรงต่อเวลาในการเข้าชั้นเรียนและการส่งงานที่ได้รับมอบหมายและจริยธรรมและจรรยาบรรณในการสืบค้นและเขียนบทความทางวิชาการ ตลอดภาคการศึกษา ร้อยละ 20
2 2.1 - 2.4, 3.1 - 3.2 และ 4.1 – 4.5 การวัดทักษะการปฏิบัติงานค้นคว้าสืบค้น และวิเคราะห์ข้อมูลการสืบค้น และการประมวลผลข้อมูลจากบทความทางวิชาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ทันสมัย 3-6 ร้อยละ 30
3 5.1 - 5.3 การวัดผลงานเขียนรายงานวิทยานิพนธ์ทางวิชาการด้านเทคโนโลยีการเกษตรที่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์สากล 7-14 ร้อยละ 25
4 5.2 - 5.3 การวัดทักษะการนำเสนอรายงานวิทยานิพนธ์ทางวิชาการแบบปากเปล่าโดยการใช้ภาษาไทยและต่างประเทศเพื่อการสื่อสารได้ถูกต้อง และสามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 15-17 ร้อยละ 25
สิทธิ์  ธีสรณ์. 2552. เทคนิคการเขียนบทความทางวิชาการ. สำนักพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 
1. ฐานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ (Full Text) CABI [เข้าถึงออนไลน์]   http://www.cabi-publishing.org/AtoZ.asp?Category=Journals   สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
2. ฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อด้านการเกษตรและสาขาที่เกี่ยวข้อง [เข้าถึงออนไลน์] AO : http://wwwlib.umi.com/dissertations/search  สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
3. Thai Patents เป็นฐานข้อมูลสิทธิบัตรไทย [เข้าถึงออนไลน์] http://www.ipic.moc.go.th/ สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
4. ฐานข้อมูลบรรณานุกรมรายงานวิจัยและวิทยานิพนธ์ (วช.) เป็นฐานข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ [เข้าถึงออนไลน์] http://www.riclib.nrct.go.th/       สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
5. การสืบค้นข้อมูลโครงการวิจัย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) เป็นให้ข้อมูลบรรณานุกรม รายงานการวิจัย และวิทยานิพนธ์ ประมาณ 100,000 ชื่อเรื่อง [เข้าถึงออนไลน์] http://www.riclib.nrct.go.th/   สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
6. ฐานข้อมูลงานวิจัยของประเทศไทย เป็นแหล่งข้อมูลที่รวบรวมผลงานวิจัยของประเทศ เพื่อเผยแพร่แก่ประชาชนรวมทั้งให้บริการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต [เข้าถึงออนไลน์] http://www.nstda.or.th/grants/   สืบค้นวันที่ 1 เมษายน 2562.
1. TIAC Reference Databases (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/search-order1_db_od.html)   
2. Document Delivery Service (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/search-order1_odall. html) 
3. Library Catalog (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/library-catalog_eng1.html) 
4.Journals : Thai and English (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/search-order1_e-journal.htm) 
5. Thai Theses Database (เว็บไซต์คือ http://thesis.tiac.or.th) 
6. ฐานข้อมูลวิจัยของประเทศไทย (เว็บไซต์คือ http://www.thairesearch.in.th) 
7. Seminar and Training (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/seminar-training1_eng.html) 
8. Service Hours (เว็บไซต์คือ http://www.tiac.or.th/contact-tiac1_service%20hours.html) 
9. ฐานข้อมูลจดหมายเหตุดิจิทัล http://www.tiac.or.th/darchive/danstda_main.html) เป็นต้น
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียนในระหว่างการเรียนรู้และปฏิบัติการ  
1.2 การประเมินผลความพึงพอใจของผู้เรียนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย
2.1 ผลตอบรับ การให้ความสนใจในชั้นเรียนจากผู้นักศึกษา  
2.2 ผลการเรียนและความเข้าใจและสามารถปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสากลของนักศึกษา
การสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนเรื่องการจัดการเรียนการสอน
4.1 มีการทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ที่ไม่ได้เป็นทีมร่วมสอน หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่ อาจารย์ประจำหลักสูตร  
4.2 มีคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
5.1 ดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล  
5.2 ปรับปรุงรายวิชาทุกปีหรือตามข้อเสนอแนะตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา หรือ อาจารย์ผู้สอนที่รับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอนและกลยุทธการสอนที่ใช้และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาเสนอต่อคณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อ พิจารณาให้ความคิดเห็นและสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป