ภาพร่างทางสถาปัตยกรรม

Drawing and Painting for Architecture

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการเขียนภาพ องค์ประกอบศิลป์ มุมมอง
ทัศนมิติ และสามารถเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมได้ ด้วยเทคนิค Drawing และ Painting
เพื่อพัฒนาเนื้อหาของรายวิชาให้มีความทันสมัย  พัฒนาวิธีการและกิจกรรมการเรียนการสอน ที่สอดคล้องกับการนำเอา ทักษะการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมไปปรับใช้ได้ในสถานการณ์ปัจจุบัน ซึ่งได้ทำการพัฒนาปรับปรุงจากรายวิชา 42002101 เทคนิคแสดงแบบ 1 (Presentation technique) ในหลักสูตรสถาปัตยกรรมศาสตรบัณฑิต (5 ปี) หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเขียนภาพร่างด้วยดินสอ ปากกา และสี เน้นการเขียนภาพ รูปทรง หุ่นนิ่ง และทัศนียภาพอาคาร
Study and practice of pictorial drawing with pencils, pens and colors emphasizing drawing of shapes, forms, still-life models, scenery and architecture.
- อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์คณะฯ และสาขาฯ
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/ สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบมีวินัย เป็นสถาปนิกนักปฏิบัติที่มีความซื่อสัตย์ มีความรับผิดชอบต่อสังคม โดยมีคุณธรรม  จริยธรรม จรรยาบรรณตามคุณสมบัติของหลักสูตร ดังนี้
1.1.1 ผู้เรียน มีวินัย ขยันอดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
กลยุทธ์การสอน : สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอน รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพในรายวิชา สอนให้มีระเบียบวินัย ฝึกให้รู้หน้าที่ในการทำงาน มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
1.2.1 เช็คชื่อเข้าเรียน และอบรมเรื่องคุณธรรมจริยธรรมแก่นักศึกษาก่อนการเรียนสอน เป็นเวลา 5 นาทีทุกสัปดาห์
1.2.2 จัดกลุ่มนักศึกษาช่วยงานอาจารย์ ในแต่ละสัปดาห์ เช่น เตรียมและเก็บหุ่นนิ่ง ตัดแบ่งและแจกกระดาษเขียนรูป จัดกลุ่มนักศึกษาเพื่อดูแลเรื่องความสะอาดก่อนเรียนและหลังเลิกเรียน เป็นต้น
1.2.3 จัดให้นักศึกษาส่งงานที่ทำเสร็จแล้วด้วยตัวเอง ณ ชั้นส่งผลงานที่ผู้สอนจัดไว้ให้ ตามเวลาที่กำหนด
1.3.1 ประเมิน ผลการเข้าเรียนตรงเวลา มาสาย และขาดเรียนของนักศึกษา (โดยพิจารณาร่วมกับ ระบบการศึกษาตามความในข้อบังคับมหาวิทยาลัยฯ ที่ระบุไว้ว่า นักศึกษาต้องมีเวลาศึกษาในแต่ละรายวิชาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80)
1.3.2 ประเมินจากสภาพห้องเรียนก่อนและหลังการเรียนการสอน ตลอดจน การช่วยเหลืออาจารย์ในการจัดเตรียมอุปกรณ์การสอนของนักศึกษาในแต่ละสัปดาห์
1.3.3 ประเมินผลจากการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด ความซื่อสัตย์สุจริตในการทางานที่ได้รับมอบหมายและการสอบ
2.1.1 ผู้เรียน มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ ในเนื้อหาที่ศึกษา
กลยุทธ์การสอน : ใช้การเรียนการสอนหลากหลายรูปแบบ โดยเน้นหลักการทางทฤษฎีและการประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี ทั้งนี้ ให้เป็นไปตามลักษณะของราย
วิชาตลอดจนเนื้อหาสาระของรายวิชานั้นๆ นอกจากนี้ อาจจัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษเฉพาะเรื่อง ตลอดจนการฝึกประสบการณ์หรือฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ
2.2.1 บรรยายตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
2.2.2 บรรยายภาคทฤษฎีและหลักการปฏิบัติ เป็นลำดับขั้นตอน ของการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมทั้งเทคนิคการ drawing และ painting
2.2.3 กำหนดให้นักศึกษา ฝึกปฏิบัติการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรมด้วยเทคนิค drawing และ painting ทั้งในระหว่างชั่วโมงการเรียนและมอบหมายให้เป็นการบ้าน (ในบางสัปดาห์) เพื่อการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองนอเวลาเรียน
2.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเทคนิคที่ใช้
2.3.2 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานที่ให้ฝึกปฏิบัติในชั่วโมงเรียนแต่ละสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาจากเนื้อหาทฤษฎีและการฝึกปฏิบัติด้วยเทคนิคการนำเสนอที่บรรยายไปในสัปดาห์นั้นๆ ตลอดจนการส่งงานตรงตามเวลาที่กำหนด
3.1.1 ผู้เรียน มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
กลยุทธ์การสอน : ใช้กรณีศึกษา การออกแบบสถาปัตยกรรมหรือการจัดทำวิทยานิพนธ์ การมอบหมายงานให้นักศึกษาสืบค้นข้อมูลวิเคราะห์ สังเคราะห์และสรุปข้อมูล การนำเสนองาน โดยอภิปรายเดี่ยวหรือกลุ่ม ร่วมแสดงความคิดเห็น
3.2.1 ฝึกปฏิบัติตามบทเรียนที่กำหนดให้ในแต่ละสัปดาห์
3.2.2 กำหนดเนื้อหาของงานที่ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติ อยู่ในขอบเขตของงานสถาปัตยกรรมและสิ่งเกี่ยวเนื่อง เช่น มอบหมายให้นักศึกษา เขียนภาพอาคารขนาดใหญ่, ศูนย์ประชุม ด้วย ทัศนมิติ 2 จุด แบบ Normal eye view/ เทคนิค Painting เป็นต้น
3.2.3 สอดแทรกการบรรยายเชิงยกตัวอย่างประกอบ ถึงการจะนำเอาองค์ความรู้จากการเขียนภาพร่างทางสถาปัตยกรรม ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบวิชาชีพได้อย่างไร
3.3.1 ตรวจให้คะแนนจาก ชิ้นผลงานสอบวัดผล ทั้งการสอบกลางภาคและปลายภาค โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของภาพที่เขียนแสดง
3.3.2 ประเมินผลจากคะแนนเก็บตลอดทุกสัปดาห์ โดยใช้เกณฑ์พิจารณาคะแนนจากความสมบูรณ์ของเนื้อหาของภาพที่เขียนแสดง
4.1.1 ผู้เรียน มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดี
กลยุทธ์การสอน : สอดแทรกเรื่องความสำคัญของการมีมนุษย์สัมพันธ์ การมีมารยาททางสังคมมอบหมายงานหรือจัดกิจกรรมโดยหมุนเวียนกันทาหน้าที่ผู้นาและผู้ตาม การเคารพสิทธิและการยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น การประสานงานกับบุคคลภายนอก การแสดงความคิดเห็นและการวิพากษ์วิจารณ์งานของผู้อื่น
4.2.1 พัฒนาทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนกับผู้สอนและผู้เรียนด้วยกันเอง โดยการวิพากษ์วิจารณ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละคนให้ทราบขณะตรวจให้คะแนน พร้อมเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยในการตรวจงานแต่ละสัปดาห์ เพื่อให้นำแนวทางไปปรับปรุงพัฒนางานปฏิบัติของตนเอง โดยเทียบกับระดับงานปฏิบัติของเพื่อนร่วมชั้นเรียน
4.2.2 ฝึกให้นักศึกษาปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับกาละเทสะ เมื่ออยู่ภายในสถานศึกษา หรือเมื่อมีการออกไปเขียนภาพร่างนอกสถานศึกษา
4.3.1 ประเมินพัฒนาการของผลงานนักศึกษา แต่ละคนว่ามีทิศทางเป็นอย่างไร โดยดูได้จากแนวโน้มคะแนนซึ่งเป็นตัวชี้วัดความตั้งใจเรียนที่มีต่อผู้สอน การมีส่วนร่วมกับเพื่อนภายในห้องเรียน และการศึกษาด้วยตนเองนอกเวลาเรียน
4.3.2 ประเมินจากการสังเกต การปฏิบัติตนของนักศึกษาให้ถูกกาละเทสะ ทั้งในและนอกสถานศึกษาในระหว่างการเรียนการสอน
5.1.1 ผู้เรียน สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
กลยุทธ์การสอน : จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชา ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จาลองและสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนาเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศให้นักศึกษาค้นคว้างานที่ต้องอาศัยการประมวลผล โดยการใช้ตัวเลขเพื่อการจัดการข้อมูล การนำเสนอที่เหมาะสมกับเนื้อหาข้อมูลและสภาพของผู้สื่อสาร
5.2.1 กำหนดให้นักศึกษาค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา ทางระบบ Internet ผ่านช่องทาง platform และ website ต่างๆ เพื่อนำมาพัฒนาทักษะฝีมือตนเอง โดย ผู้สอนอาจสั่งงานฝึกปฏิบัติเป็นการบ้านที่ทำนอกเวลาเรียน
5.3.1 คะแนนและแนวโน้มคะแนน ของงานฝึกปฏิบัติการบ้านของนักศึกษาแต่ละคน ที่ทำการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ผ่านช่องทางเครื่องมือสื่อสารที่กำหนด
6.1.1 มีทักษะในการทำตามแบบ และปฏิบัติงานได้ตามข้อแนะนำ
6.1.2 มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
กลยุทธ์การสอน : ใช้วิธีการสอนด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษาการออกแบบสร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.2.1 แจกเอกสารประกอบคำสอน (ในบางสัปดาห์) และเขียนบรรยายประกอบ/ whiteboard หรือเขียนบรรยาย/ Power Point
6.2.2 ให้คำแนะนำหรือสาธิตวิธีการปฏิบัติขณะมีการเขียนภาพร่างในชั่วโมงเรียน
6.2.3 ตรวจผลงานของนักศึกษาทุกสัปดาห์ ด้วยการมีส่วนร่วมของนักศึกษาทุกคนในการช่วยจัดกลุ่มและจำแนกลำดับผลงานของเพื่อนในชั้นเรียน โดยการเห็นข้อเปรียบต่าง และการวิพากษ์งานของผู้สอน จะทำให้เกิดทักษะทางปัญญาด้านการเรียนรู้ สังเกตและจดจำ
6.3.1 กำหนดเป็นระดับคะแนน ค่าระดับคะแนนต่อหน่วยกิต และผลการศึกษาตามที่กำหนดไว้ใน ข้อบังคับมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา ว่าด้วยการศึกษาระดับปริญญาตรี พ.ศ. 2551 หมวดที่ 8 เรื่อง การวัดผลและประเมินผลการศึกษา
6.3.2 ผู้เรียนประเมินผู้สอน ในภาพรวมของการเรียนการสอน เพื่อนำผลการประเมินดังกล่าวหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาทักษะพิสัยที่ควรมีต่อไป
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 BARCC401 ภาพร่างทางสถาปัตยกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ความรู้/ ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ สอบกลางภาค /สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 /สัปดาห์ที่ 18 15% / 15%
2 ทักษะทางปัญญา / ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การทำงานเดี่ยวและการบ้าน ในแต่ละสัปดาห์ ตลอดภาคการศึกษา 60%
3 คุณธรรม จริยธรรมที่ต้องพัฒนา / ทักษะพิสัย จิตพิสัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
- โกศล พิณกุล. 2546 ภาพเส้นระบายสี Line And Wash
- โกศล พิณกุล. 2546 เทคนิคระบายสี ดอกไม้ หุ่นนิ่ง ทิวทัศน์
- รศ. สุชาติ เถาทอง. 2536 การเขียนภาพสีน้ำ
- วิศิษฐ พิมพิมล. 2546 การวาดเส้น Drawing
- นิธิ สถาปิตานนท์. 2532 ลายเส้น RENDERINGS IN INK AND PERSPECTIVES
- 20 Best small gardens โดย Tim Newbury
- 25 Best Planting plants ของ Noel Kingsbury
- 20 Best garden designs โดย Tim Newbury
- Thurgau gezeiehnet von Jacques scheduler ของ Von Regierungsrat Rudolf Schumperli
- ไม่มี -
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น Wikipedia คำอธิบายศัพท์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2 สังเกตและวิเคราะห์จากผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานของอาจารย์