ปฏิบัติงานพื้นฐานทางวิศวกรรม

Basic Engineering Skill

1. เพื่อให้มีความเข้าใจในการใช้ การบำรุงรักษาเครื่องมือ และเครื่องมือกลเบื้องต้น
2. เพื่อให้มีความสามารถในการใช้ การบำรุงรักษา เครื่องมือและเครื่องกลเบื้องต้น
3. เพื่อให้มีความสามารถในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามขั้นตอน
4. เพื่อให้ปฏิบัติงานด้วยความปลอดภัย ผลงานประณีตเรียบร้อย รู้จักแก้ปัญหา และนำไปประยุกต์ใช้กับงานอื่นได้
5. เพื่อให้มีคุณธรรม จริยธรรมที่พึงประสงค์ ซึ่งได้แก่ การตรงต่อเวลา มีระเบียบวินัย มีความรับผิดชอบ ซื่อสัตย์ ขยันและอดทน
1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้และสมรรถนะของพื้นฐานเทคนิคพื้นฐานในกระบวนการผลิต เพื่อเป็นพื้นฐานในการเรียนวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น กรรมวิธีการผลิต และ พื้นฐานทางด้านวิศวกรรม เป็นต้น
2. เพื่อปรับกระบวนการรายวิชาให้สอดคล้องกับคุณสมบัติบัณฑิตนักปฎิบัติอันพึ่งประสงค์ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา
ปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยในงานวิศวกรรม การอ่านแบบและถ่ายแบบ เครื่องมือวัดทางกล พื้นฐานงานเจาะ กลึง ไส ตะไบและปรับแต่งพื้นฐาน งานเชื่อมโลหะด้วยไฟฟ้าและแก๊ส
ทุกวันพุธ เวลา 15.00 - 16.00 น. ห้อง 731
1. แสดงออกซึ่งจิตสำนึกสาธารณะ และตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพครู ที่เสริมสร้างการพัฒนาที่ยั่งยืน
2. สามารถจัดการและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรมจริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู
3. แสดงออกซึ่งการมีวินัย ขยัน อดทน เสียสละ ตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี
4. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1. กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กรเพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย ตรงต่อเวลา มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม สิ่งแวดล้อม และเป็นแบบอย่างที่ดี เช่นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การแต่งกายตามกฎระเบียบของมหาวิทยาลัย
2. กำหนดให้นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่ม โดยฝึกให้รู้บทบาทและหน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่ม การเป็นสมาชิกกลุ่ม การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งการเห็นคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
3. สอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนแต่ละรายวิชา ในด้านความซื่อสัตย์สุจริตในการสอบ รวมทั้งการมีมารยาททางวิชาการ การไม่คัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
4. จัดกิจกรรมส่งเสริมและคิดแก้ปัญหาทางคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำความดี การทำประโยชน์และเสียสละแก่ส่วนรวม
1. ประเมินด้านจิตพิสัยของนักศึกษา เช่น การตรงต่อเวลา การเข้าชั้นเรียน การแต่งกาย การส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามเวลาที่กำหนด และการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
2. ประเมินความรับผิดชอบในการทำงานเป็นกลุ่ม การนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน และการรับฟังความคิดเห็นจากอาจารย์ผู้สอนและกลุ่มนักศึกษาในชั้นเรียน
3. ประเมินจากรายงานการกระทำทุจริตในการสอบ การมีมารยาททางวิชาการ และการตรวจสอบการคัดลอกผลงานทางวิชาการของผู้อื่น
4. ประเมินผลจากรายงานการจัดกิจกรรมทางด้านคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพครู และการมีจิตสำนึกสาธารณะ
1. มีความรอบรู้ในด้านความรู้ทั่วไป วิชาชีพครู และวิชาชีพเฉพาะ อย่างกว้างขวาง ลึกซึ้ง และเป็นระบบ
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีในสาขาวิชาชีพเฉพาะ รวมทั้งคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยเพื่อต่อยอดองค์ความรู้
3. สามารถนำหลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่ได้ศึกษาไปบูรณาการข้ามศาสตร์ และบูรณาการกับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม
1. เลือกใช้วิธีการสอนให้เหมาะสมตามหัวข้อของลักษณะรายวิชา โดยการวิเคราะห์และสังเคราะห์ตามสภาพจริง
2. ส่งเสริมและชี้แนะให้นักศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศทางวิชาการ รวมทั้งการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประเมินค่าองค์ความรู้ด้วยวิธีการที่เหมาะสม แล้วนำมาประยุกต์สร้างผลงานทางวิชาการ
3. ส่งเสริมและชี้แนะการบูรณาการนำความรู้ร่วมกับศาสตร์อื่นๆ เพื่อนำมาประยุกต์เข้ากับโลกแห่งความเป็นจริงได้อย่างเหมาะสม ตลอดจนการฝึกงานในสถานประกอบการ และปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
1. ประเมินผลตลอดภาคเรียน
2. ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
3. ประเมินผลจากการนำเสนอโครงการ
4. ประเมินผลจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
5. ประเมินผลจากการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
1. มีจินตนาการในการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจและแก้ปัญหาที่มีความสลับซับซ้อน ในการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ เพื่อพัฒนานวัตกรรม
2. มีทักษะในการเป็นผู้นำความรู้เพื่อการสืบค้นข้อมูล วินิจฉัย วิเคราะห์และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ
1. ใช้กระบวนการเรียนการสอนที่หลากหลายซึ่งเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญโดยฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
2. ให้ผู้เรียนสืบค้นข้อมูล วิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ แล้ววินิจฉัย และสรุปประเด็นของสารสนเทศอย่างมีวิจารณญาณ และเป็นระบบ
1. ประเมินผลกระบวนการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2. ประเมินผลจากการฝึกทักษะด้านปฏิบัติการ
3. ประเมินผลจากการอภิปรายแนวคิดและวิธีการแก้ปัญหา ในประเด็นที่ได้จากการสืบค้นข้อมูลอย่างเป็นระบบ
1. แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถรับรู้ความรู้สึกของผู้อื่น และมีวุฒิภาวะทางอารมณ์
2. แสดงออกถึงการมีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่สามารถคิดริเริ่มสร้างสรรค์ในการแก้ไขสถานการณ์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความรับผิดชอบต่อตนเองและส่วนรวม
3. สามารถวางตัวได้อย่างเหมาะสมตามบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4. สามารถวางแผนและรับผิดชอบในการพัฒนาการเรียนรู้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการทำงาน และมีจิตสำนึกต่อสังคมด้านการนำความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือได้อย่างเหมาะสม
1. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมกลุ่มที่แสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2. ส่งเสริมการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
3. กำหนดบทบาท หน้าที่ การทำงานเป็นทีม ช่วยเหลือและเอื้อต่อการแก้ไขข้อขัดแย้งอย่างสร้างสรรค์
4. ส่งเสริมให้มีกิจกรรมการบริการทางวิชาการต่อสังคม
1. ประเมินพฤติกรรมจากการแสดงออกถึงการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
2. ประเมินผลการนำเสนอผลงานหรือกิจกรรมทางวิชาการ
3. ประเมินผลการทำงานเป็นทีมตามที่ได้รับมอบหมาย
4. ประเมินผลการดำเนินการบริการทางวิชาการต่อสังคม
1. มีทักษะในการเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือในการวิเคราะห์ข้อมูล ข่าวสารทั้งที่เป็นตัวเลขเชิงสถิติ คณิตศาสตร์ ภาษาพูดและภาษาเขียน อันมีผลทำให้สามารถเข้าใจ องค์ความรู้หรือประเด็นปัญหาได้อย่างรวดเร็ว
2. สามารถใช้ดุลยพินิจในการสืบค้น วิเคราะห์ ประมวลผล แปลความหมายและประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. สามารถสนทนา เขียน และนำเสนอทั้งภาษาไทยและภาษาต่างประเทศ เพื่อสื่อสารกับกลุ่มคนที่หลากหลายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. ติดตามข้อมูลข่าวสารประเด็นสำคัญด้านวิชาการจากระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
2. วิเคราะห์และแปลความหมายจากข้อมูลข่าวสาร
3. นำเสนอรายงานด้านวิชาการโดยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
1. ความสามารถในการใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในการติดตามข้อมูลข่าวสาร
2. ความสามารถในการวิเคราะห์และแปลความหมาย
3. ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการนำเสนอผลงาน
4. จรรยามารยาทในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมกับสถานการณ์และวัฒนธรรมสากล
1. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ด้านการปฏิบัติงานในวิชาชีพเฉพาะ วิชาชีพครู การบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการ ที่มีรูปแบบหลากหลายอย่างบูรณาการและสร้างสรรค์
2. แสดงออกถึงการมีทักษะในการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบการสอนรวมถึงประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างบูรณาการที่เหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนที่หลากหลายอย่างมีนวัตกรรม
 
1. สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
2. สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
3. สนับสนุนการเข้าประกวดทักษะด้านการปฏิบัติ
4. จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
5. สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
6. การฝึกงานในสถานประกอบการ
7. การปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
1. ประเมินจากกิจนิสัยในการปฏิบัติงาน
2. ประเมินผลทักษะในการปฏิบัติงาน
3. ประเมินผลจากโครงงานนักศึกษา
4. ประเมินผลการฝึกงานในสถานประกอบการ
5. ประเมินผลการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะการจัดการเรียนรู้
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 TEDEE101 ปฏิบัติงานพื้นฐานทางวิศวกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1, 1.2, 1.3, 1.4, 2.1-2.3, 3.1-3.2 วัดตรวจสอบขนาดของชิ้นงานตามใบงานที่กำหนด การนำเสนอผลงาน ตลอดภาค การศึกษา 50% 20%
2 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1,6.2 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงานผลงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การปฎิบัติงานตามที่กำหนด การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาค การศึกษา 20%
3 1.1-1.5, 4.1-4.4 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาค การศึกษา 10%
- เอกสารประกอบการสอน และใบงาน รายวิชาปฏิบัติงานเทคนิคพื้นฐาน
- หนังสือเรียนอิเล็กทรอนิกส์ วิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น ของบริษัท สานักพิมพ์ เอมพันธ์
- เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น การปฎิบัติงานฝึกฝีมือพื้นฐาน, เครื่องมือวัด, เครื่องมือถ่ายแบบ, การทำเกลียวด้วย การต๊าปและดาย
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
เมื่อได้ผลประเมินการสอน นำข้อมูลมาวิเคราะห์หาแนวทางพัฒนาปรับปรุงการเรียนการสอนให้ดีขึ้น โดยการสัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยชั้นเรียน
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะปรับปรุงการสอนในข้อ 3. และผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4. 
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ