การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์

Electronic Technical Education Pre-Project

1. ปฏิบัติการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
2. ปฏิบัติการในการตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหาของโครงงาน
3. ปฏิบัติการในการเขียนวัตถุประสงค์ ขอบเขต ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ในการจัดทำโครงงาน
4. ปฏิบัติการในการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำหรับการจัดทำโครงงาน
5. ปฏิบัติการในการนำเสนอหัวข้อโครงงาน
6. ปฏิบัติการรายงานความก้าวหน้าในการจัดทำโครงงาน
7. เห็นความสำคัญของวิชาการเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
    เพื่อให้นักศึกษา มีทักษะในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอหัวข้อโครงงาน การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน เพื่อให้มีหัวข้อโครงงานเพื่อใช้เป็นโครงงานในรายวิชาโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ต่อไป
ปฏิบัติการเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอหัวข้อโครงงาน การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านเว็บไซต์ของสาขาวิชาและหน้าห้องพัก
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
      พัฒนานักศึกษาให้มีคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อม ๆ กับวิทยาการต่าง ๆ ที่ศึกษา เพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่น และเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม  สามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อยดังนี้
      1.1.1  มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
      1.1.2  มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
      1.1.3  มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
      1.1.4  เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
      1.2.1   สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรม
      1.2.2   สอดแทรกความซื่อสัตย์ต่อตนเอง และสังคม
      1.2.3   เน้นความรับผิดชอบทั้งต่อตนเอง และสังคม ทั้งในบทบาทของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม
      1.2.4   ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
      1.2.5   เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของมหาวิทยาลัย
      1.2.6   ปฏิบัติตามกฎระเบียบ และข้อบังคับขององค์กรและสังคม
      1.2.7   ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาชีพ
      1.2.8  บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา เกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา เช่น การนำแนวคิด หลักการหรือทฤษฎีมาใช้หรือแอบอ้างเป็นผลงานของตน โดยไม่อ้างอิงถึงแหล่งที่มาหรือบุคคลผู้ซึ่งเป็นเจ้าของผลงาน
      1.3.1   ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
      1.3.2   ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ
      1.3.3   ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
      1.3.4   ประเมินจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย ที่สะท้อนถึงความตั้งใจ ความรับผิดชอบของนักศึกษา
      1.3.5   มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม
      นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับเนื้อหาสาระของรายวิชาที่ศึกษาซึ่งประกอบกันขึ้น เป็นองค์ความรู้ที่จะพัฒนาความสามารถและทักษะอันเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้และเข้าใจ ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมดังนี้
      2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1)
      2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.2)
      2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.3) โดยที่ในรายวิชา 32017303 การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เมื่อนักศึกษาได้ศึกษาแล้วจะต้อง มีความรู้ เข้าใจและสามารถปฏิบัติการในเรื่องเกี่ยวกับการศึกษาค้นคว้าบทความ งานวิจัย สิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทางด้านการศึกษาหรือด้านวิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ การตั้งชื่อโครงงาน วิธีการเขียนรายงาน ความเป็นมาของปัญหา วัตถุประสงค์ ขอบเขตขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน การจัดเตรียมวัสดุและอุปกรณ์ การรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล การรายงานความก้าวหน้า และการนำเสนอโครงงาน
     การปฏิบัติการสืบค้นและทดสอบ ทดลองเบื้องต้นในการเตรียมการและนำเสนอหัวข้อProject ซึ่งเป็นงานที่มอบหมายให้ศึกษา เพื่อศึกษาค้นคว้าและบูรณาการความรู้จากรายวิชาดังกล่าวนี้โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
     2.3.1  ผลการสอบหัวข้อ Project
     2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอแบบเสนอหัวข้อ Project
     2.3.2  ประเมินจากการนำเสนอหัวข้อ Project โดยหัวข้อ Project ดังกล่าวต้องผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสอบหัวข้อ Project และได้รับอนุมัติโดยหัวหน้าหลักสูตร
    นักศึกษาต้องได้รับการพัฒนาทักษะทางปัญญาควบคู่กับคุณธรรมและจริยธรรมและความรู้ทางด้านวิชาชีพ โดยกระบวนการเรียนการสอนต้องเน้นให้นักศึกษารู้จักคิดหาเหตุผล เข้าใจที่มาและสาเหตุของปัญหา แนวคิดและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง โดยมีการสอนทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติควบคู่กัน นักศึกษาที่ผ่านกระบวนการเรียนการสอนด้วยวิธีดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
    3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการ และวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1)
    3.1.2 มีทักษะในการนาความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ  พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ สามารถคิด วิเคราะห์ และบูรณาการองค์ความรู้ได้เป็นอย่างดี (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.2)
    3.2.1 การมอบหมายศึกษาผลงานวิจัย โครงงาน วิทยานิพนธ์ (เก่า) ที่เกี่ยวข้องกับหัวข้อโครงการที่นักศึกษาสนใจ
    3.2.2 การมอบหมายงานคือการค้นคว้า และจัดทำหัวข้อโครงการ ตลอดจนการสอบหัวข้อโครงการกับกรรมการสอบหัวข้อโครงการ
    3.3.1  ประเมินผลจากหัวข้อ Project และจากรายงานความก้าวหน้าของโครงงาน
    3.3.2  สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
    4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1)
    4.1.2 พัฒนาการให้ความร่วมมือในการทำงานทั้งความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.2)
    4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.3)
    4.1.4  สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.4)
    4.2.1 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล โดยการจัดทำหัวข้อโครงการ ตลอดจนการสอบหัวข้อโครงการกับกรรมการสอบหัวข้อโครงการ
    4.2.2 การนำเสนอรายงานแบบเสนอหัวข้อ Project ต่อคณะกรรมการ เพื่อร่วมแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะต่าง ๆ ได้
    4.3.1   ผลจากการประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
    4.3.2   ผลจากการประเมินจากรายงานที่นำเสนอ  พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
    4.3.3  ประเมินจากรายงานหรือโครงงานที่นำเสนอ โดยสามารถนำความรู้หรือเทคโนโลยีในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสมได้   
    5.1.1  สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1)
    5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม  (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.2)
    5.1.3  สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.3)
   5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากแหล่งข้อมูลต่างๆ
   5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยีที่เหมาะสม
      5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการนำเสนอรายงานความก้าวหน้าและโครงงาน
      5.3.3 ประเมินจากการใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม
      การทำงานในสถานประกอบการ หรือการประกอบอาชีพอิสระนั้นไม่ได้ใช้เพียงแค่หลักทฤษฎี แต่ส่วนใหญ่จะเน้นในด้านทักษะทางการปฏิบัติ การใช้ทักษะในการวางแผน การออกแบบ การทดสอบ และการปรับปรุงแก้ไข ซึ่งมีความสำคัญมากในการทางาน อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือที่จาเป็นยิ่งในการพัฒนาตนเอง และความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของบัณฑิตทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังนั้นในการเรียนการสอนจึงต้องให้ความสำคัญเน้นไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านครุศาสตร์อุตสาหกรรม ดังข้อต่อไปนี้
      6.1.1  มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)
      6.1.2  สามารถถ่ายทอดองค์ความรู้ ปฏิบัติตามรูปแบบการสอน ประยุกต์วิธีการสอนได้อย่างเหมาะสมกับเนื้อหาและสภาพของกลุ่มผู้เรียนได้เป็นอย่างเหมาะสม (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.2)
     จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่าง ๆ ที่เรียนมา การวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย ดังข้อต่อไปนี้
     6.2.1  สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน
     6.2.2  สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ
     6.2.3  สนับสนุนการจัดทำโครงงาน
    6.3.1  มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน
    6.3.2  มีการประเมินผลการทางานในภาคปฏิบัติ
    6.3.3  มีการประเมินโครงงานนักศึกษา
    6.3.4  มีการประเมินนักศึกษาการปฏิบัติประสบการณ์วิชาชีพครู
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 1.2 1.3 1.4 2.1 2.2 2.3 3.1 3.2 4.1 4.2 4.3 4.4 5.1 5.2 5.3 6.1 6.2
1 32017303 การเตรียมโครงงานครุศาสตร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1, 2.2, 2.3, 3.1, 3.2, 4.3 5.1, 5.2, 5.3, 6.1 1) ผลการสืบค้นข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดทำโครงการ 2) ผลการปฏิบัติการสอบหัวข้อโครงการ ตลอดภาคการศึกษา 80%
2 1.3, 2.1 3.1, 5.2 การส่งและนำเสนองานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.2, 1.3, 4.1, 4.3 1) การเข้าชั้นเรียน 2) การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
     1. คู่มือการจัดทำโครงการ หลักสูตร ค.อ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
     2. คู่มือการพิมพ์โครงการ หลักสูตร ค.อ.บ. วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์และโทรคมนาคม
     3. ระเบียบการจัดทำโครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
     4. คู่มือการพิมพ์โครงการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มทร.ล้านนา
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อที่สนใจในการจัดทำโครงงาน
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในรายวิชา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
     1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
     1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
     2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
     2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
     2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
     3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
     3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
     4.1   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
     4.2  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
     5.1 ปรับปรุงเทคนิควิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
     5.2 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4