การวิเคราะห์วงจรข่าย

Network Analysis

เพื่อให้นักศึกษา
              1. เข้าใจทอพอโลยีและคุณลักษณะของวงจรข่าย
            2. เข้าใจชนิดของวงจรข่ายและทฤษฎีวงจรข่ายแบบต่าง ๆ
            3. เข้าใจวิธีการวิเคราะห์วงจรข่ายแบบต่าง ๆ
            4. เข้าใจการหาผลตอบสนองต่อเวลาและความถี่ของวงจรข่าย
            5. เห็นคุณค่าของการนำวงจรข่ายไปประยุกต์ใช้งาน
เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในเรื่องการตอบสนองต่อเวลาและความถี่ของอุปกรณ์หลักในวงจรไฟฟ้า มีทักษะการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า  เข้าใจการวิเคราะห์วงจรข่ายแบบต่าง ๆ และเห็นความสำคัญของการนำความรู้ที่เกี่ยวข้องในแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า
ศึกษาเกี่ยวกับคุณลักษณะและการทอพอโลยีของการวิเคราะห์วงจรข่าย  การวิเคราะห์วงจรข่ายสองทางแบบต่าง ๆ  ความถี่เชิงซ้อน  ความสัมพันธ์ของผลตอบสนองเชิงเวลากับความถี่เชิงซ้อน  วิเคราะห์วงจรข่ายแบบโหนด  ลูปและคัตเซท สมการสภาวะของวงจรข่าย   ผลการแปลงลาปลาซและการประยุกต์เพื่อวิเคราะห์วงจรข่ายตามทฤษฎีวงจรแบบต่าง ๆ   การวิเคราะห์ฟังก์ชันของวงจรข่าย  ผลการตอบสนองในเชิงความถี่และการประยุกต์ออกแบบวงจรกรองความถี่ชนิดต่าง ๆ ขั้นพื้นฐาน
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม ตระหนักในความสำคัญของคุณธรรมจริยธรรม  มีจรรยาบรรณวิชาชีพตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้

มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1) มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2) มีวินัย  ขยัน  อดทน ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเอง  สังคม และสิ่งแวดล้อม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3) เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.4)
1.2.1 สอนสอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรม (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.1)
1.2.2 เน้นเรื่องการแต่งกายและปฏิบัติตนที่เหมาะสม ถูกต้อง ตามระเบียบข้อบังคับของ
มหาวิทยาลัย (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
1.2.3 ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา   การส่งงานภายในเวลาที่กำหนด (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
1.2.4 ปลูกฝังจรรยาบรรณวิชาการและวิชาชีพ (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2)
1.3.1   สังเกตการแต่งกาย และการกระทำผิดวินัย (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
1.3.2   เช็คชื่อทุกครั้งที่ทำการสอน (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.3)
1.3.3   ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 1.2-1.4)
              2.1 1 เข้าใจการตอบสนองต่อเวลาของอุปกรณ์หลักในวงจรไฟฟ้า
            2.1.2 เข้าใจการตอบสนองต่อความถี่ของอุปกรณ์หลักในวงจรไฟฟ้า
            2.1.3 เข้าใจการวิเคราะห์วงจรข่ายแบบต่าง ๆ
            2.1.4 เข้าใจการหาการตอบสนองต่อเวลาและความถี่
              2.1.5 เข้าใจการใช้เครื่องมือทางคณิตศาสตร์ในการแก้ปัญหาวงจรไฟฟ้า
            2.1.6 เห็นคุณค่าของการนำทฤษฎีไปใช้
              2.2.1 บรรยาย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
              2.2.2 สาธิตการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์การทำงานของวงจรไฟฟ้า (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1-5.3, 6.1-6.2)
              2.2.3 มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัดของแต่ละบท (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2,  5.1-5.3, 6.1)
2.3.1   ทดสอบย่อย (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1,5.3)
2.3.2   สอบกลางภาค (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1,5.3)
2.3.3    สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2, 5.1,5.3)
      2.3.4   ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด (ผลการเรียนรู้ข้อ 2.1-2.3, 3.1-3.2,  5.1-5.3, 6.1)
                  3.1.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิชาการและวิชาชีพ
                      3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2.1   การมอบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดโดยการประยุกต์ใช้กับอุปกรณ์ไฟฟ้าจริง (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1-3.2)               
3.3.1   ประเมินจากผลการแบบฝึกหัด (ผลการเรียนรู้ข้อ 3.1-3.2)               
        4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
              4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
              4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
                   4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2.1   มอบหมายงานให้นักศึกษาทำงานกลุ่มโดยการทำชิ้นงานย่อย (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1-4.4)                                
4.3.1   ประเมินจากผลการทำงาน (ผลการเรียนรู้ข้อ 4.1-4.4)                               
       5.1.1          สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
             5.1.2  สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 
                  5.1.3           สามารถใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ค้นหาโปรแกรมจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้า (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1-5.3)                                
5.3.1   ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด (ผลการเรียนรู้ข้อ 5.1-5.3)
6.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพสามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
            6.2 มีทักษะด้านการสอนในสายวิชาชีพที่เด่นชัด
       6.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาโปรแกรมการจำลองการทำงานของวงจรไฟฟ้า (ผลการเรียนรู้ข้อ 6.1)                               
6.3.1 ประเมินจากการทำแบบฝึกหัด
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2. ด้านความรู้ 3. ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านความสัมพันธ์บุคคลและรับผิดชอบ 5. ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารละการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 32012304 การวิเคราะห์วงจรข่าย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1-2.3, 3.2, 5.1,5.3 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 ทดสอบย่อยครั้งที่ 3 สอบปลายภาค 4 9 10 13 17 10% 15% 15% 15% 20%
2 1.3 การเช็คชื่อการเข้าชั้นเรียน การแต่งกายและการทำผิดวินัย ตลอดภาคการศึกษา 10%
3 1.3, 2.1,2.3 3.1-3.2 5.1-5.3 6.1 การทำแบบฝึกหัด การแก้ปัญหาด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ตลอดภาคการศึกษา 15%
. หนังสือ ตำรา และเอกสารประกอบการสอนหลัก 

Alexander, Charles K., and Sadiku, Matthew N.O. Fundamentals of Electric Circuits. New York : McGraw-Hill,2009. Balabanian, Norman.  Electric Circuits. New York : McGraw-Hill,1994. Balabanian, Norman, and Bickart, Theodore A.  Electrical Network Theory.  New

           York : John Wiley & Son,1969.

Hayt, William H., and Kemmerly, Jack E.  Engineering Circuit Analysis.  4th edition.

           New York : McGraw-Hill,1986.

Johnson, David E.; Johnson, Johnny R,; and Hilburn, John L.  Electric Circuit

           Analysis.  Singapore : Prentice-Hall,1989.

Kreyzig, Erwin.  Advanced Engineering Mathematics.  6th edition.  New York :

           John Wiley,1988.

Kuo, Franklin F.  Network Analysis and Synthesis. 2nd edition.,  New York :

          Wiley&Sons,Inc.,1966.

Nilsson, James W., and Riedel, Susan A.  Electric Circuits.  USA. : Addison-Wesley,

           1996.

Valkenburg, M.E. Van. Network Analysis. 3rd edition.  Prentice-Hall, n.d.
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษามีส่วนร่วมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตของผู้สอน
2.2   การทำแบบฝึกหัด
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จะมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชาจะจัดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา โดยการสอบถามนักศึกษาหรือการตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา การทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจแบบฝึกหัดของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบและการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงหัวข้องานที่มอบหมายและวิธีการสอน สื่อประกอบการสอนภาคการศึกษาที่ทำการสอน ตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ