ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งทอ แฟชั่นและเครื่องประดับ

Introduction to Textile, Fashion and Jewelry

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับประวัติ ประเภท ลักษณะ และคุณสมบัติ ของงานสิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องประดับ มีความรู้ความเข้าใจเบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจทางด้านสิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องประดับ
เพื่อปรับเนื้อหา และกระบวนการให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน และเป็นการเตรียมความพร้อมในการนำความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ สิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องประดับไปเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้ม ด้านต่าง ๆ ที่มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาเกี่ยวกับประวัติสิ่งทอ และเครื่องประดับ ประเภทของสิ่งทอและเครื่องประดับ ลักษณะและคุณสมบัติของสิ่งทอ แฟชั่น เครื่องประดับ รวมทั้งอัญมณี อุตสาหกรรมสิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องประดับ ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธุรกิจสิ่งทอ แฟชั่น และเครื่องประดับ
3. จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษากับนักศึกษา
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษา 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
คุณธรรมจริยธรรมที่ต้องพัฒนา มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม

เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
วิธีการสอน
ให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลา และจิตสำนึกสาธารณะ
บรรยายเรื่องการแต่งกายและการปฏิบัติตนที่เหมาะสม ตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม
1.3 วิธีการประเมินผล
1.3.1 การขานชื่อ การให้คะแนนการเข้าชั้นเรียน และความรับผิดชอบต่อสาธารณะ
1.3.2 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่กำหนดให้
1.3.3 พิจารณาจากผลการเข้าร่วมกิจกรรมของนักศึกษา
1.3.4 สังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบของข้อบังคับต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง
2.1 ความรู้ที่ต้องได้รับ
2.1.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
2.1.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาที่ศึกษา
2.1.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
2.2 วิธีการสอน
2.2.1 บรรยาย อภิปราย การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา
2.2.2 ให้ติดตามค้นหาข้อมูลความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง และนำเสนอผลการศึกษาโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.3 วิธีการประเมินผล
สอบกลางภาค สอบปลายภาค และการนำเสนอรายงาน
3.1 ทักษะทางปัญญา ที่ต้องพัฒนา
3.1.1 มีทักษะในการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
3.1.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
3.2 วิธีการสอน
3.2.1 มอบหมายรายงานที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์โดยใช้ความรู้ทั้งวิชาการและวิชาชีพ
3.2.2 จัดอภิปรายกลุ่มหรือการหาข้อมูลนอกเวลาเรียน
3.2.3 การสรุปผลการศึกษาค้นคว้ารายงานทางเอกสารและการรายงานกลุ่มหน้าชั้นเรียน
3.2.4 การสะท้อนแนวคิดในการวิเคราะห์สังเคราะห์จากการรายงานผลการศึกษา
3.3 วิธีการประเมินผล
3.3.1 ประเมินจากการคิดวิเคราะห์แก้ไขปัญหาและการนำเสนอผลงาน
3.3.2 ประเมินผลจากการทำงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายในแต่ละหัวเรื่อง
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่ต้องพัฒนา
4.1.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
4.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามอย่างมีประสิทธิภาพ
4.1.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.1.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
4.2 วิธีการสอน
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษาที่ต้องเกี่ยวข้องกับสังคม
4.2.2 มอบหมายรายงานกลุ่มโดยศึกษางานนอกสถานที่และการจัดองค์กรภายในกลุ่ม
4.2.3 การนำเสนอรายงานกลุ่มอย่างเป็นระบบโดยองค์กรภายในกลุ่ม
4.3 วิธีการประเมินผล
4.3.1 ประเมินตนเอง และจากการรายงานหน้าชั้น
4.3.2 พิจารณาจากการเข้าร่วมกิจกรรมและผลงานของนักศึกษา
4.3.3 พิจารณาจากผลการตอบข้อคำถามที่เกี่ยวกับการนำความรู้ไปช่วยเหลือสังคม
5.1 ทักษะการวิเคราะห์ การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา
5.1.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
5.1.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5.1.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2 วิธีการสอน
5.2.1 มอบหมายงานให้นำเสนองานหน้าชั้นเรียนโดยใช้สื่อที่เหมาะสม
5.2.2 ประเมินจากการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการหาข้อมูล การอ้างอิง อย่างถูกต้องเหมาะสม
5.3 วิธีการประเมินผล
5.3.1 ประเมินจากผลการนำเสนอโดยเลือกและใช้สื่ออย่างถูกต้องเหมาะสม
5.3.2 ประเมินจากผลการสืบค้นและอ้างอิงโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างถูกต้องเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.ด้านคุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BAATJ101 ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสิ่งทอ แฟชั่นและเครื่องประดับ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 9 17 1-8 10-16 1-7 9-15 สอบกลางภาค สอบปลายภาค วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอรายงาน การทำงานกลุ่มและผลงานการค้นคว้าสรุปบทความ การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน 9 17 ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 35% 35% 20% 10%
สิ่งทอ
กฤตย์ เวียงอำพล. การออกแบบเขียนแบบ. กรุงเทพฯ : โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 2540.
เครือจิต ศรีบุญนาค. สุนทรียภาพของชีวิต. กรุงเทพฯ : เธิร์ดเวฟ เอ็ดดูเคชั่น. 2542.

เถาทอง. ศิลปะกับมนุษย์. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 2532. หมั้นทรัพย์. การออกแบบเบื้องต้น. เชียงใหม่ : โชตนาพริ้นท์. 2521. บุญวงษ์. หลักการออกแบบ. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2539. ยอดบางเตย. ออกแบบผลิตภัณฑ์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 2538. ลี้สุวรรณ. ศิลปะกับชีวิต. กรุงเทพฯ : คอมแพคท์พริ้นท์. 2537. รังสินันท์. ความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ธนะการพิมพ์. 2527.

บุญเยี่ยม แย้มเมือง. สุนทรียะทางทัศนศิลป์. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. 2537.
จีรพันธ์ สมประสงค์. ประวัติศิลปะ. กรุงเทพฯ : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์. 2533.
ดุษฎี สุนทราชุน. การออกแบบลายพิมพ์ผ้า. พิมพ์ครั้งที่2. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 2531.
พีนาลิน สาริยา. การออกแบบลวดลาย. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์. 2549.
อัจฉราพร ไศละสูต. การออกแบบลวดลายผ้าและเทคนิคการพิมพ์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ : สหประชาพาณิช. 2524.
แฟชั่น
Alex Newman & Zakee Shariff . Fashion A to Z An illustrated dictionary . United Kingdom:
Laurence King Publishing, 2009
Carol Brown. Fashion & Textiles The Essential Careers Guide. United Kingdom: Laurence
King Publishing, 2010.
Caroline Tatham & Julian Seaman . Fashion Design Drawing Course . United Kingdom:
Thames & Hudson , 2010
Macarena San Martin. Patterns In Fashion . Spain: Paco Asensio , 2009
เครื่องประดับ
นาทาชา อ๊อด ปัญญา, จนัญญา เตรียมอนุรักษ์. Jewelry Art and Design Journal Vol.1 No.1.2547
วรรณรัตน์ อินทร์อ่ำ. ศิลปะเครื่องประดับ. กรุงเทพมหานคร : โอ เอส พริ้นติ้ง เฮ้าส์. 2536
รงคกร อนันตศานต์. ยุคสมัยของเครื่องประดับ. กรุงเทพมหานคร : เคเอ็ม พับบลิชชิ่ง. 2551
Codina, C., The Complete Book of Jewelry Making. New York : Lark Books. 2006.
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับสิ่งทอ อุตสาหกรรมสิ่งทอ สิ่งทอพื้นถิ่น เช่น
http://www.ttistextiledigest.com
http://www.thaitextile.org
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็น จากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนา และตอบข้อคำถามระหว่างผู้สอน และผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชาของมหาวิทยาลัย
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1 สังเกตการเรียน ความตั้งใจของนักศึกษา และการสอบถามของนักศึกษา
2.2 การอภิปราย การรายงาน การนำเสนอของผู้เรียนต่อเนื้อหาที่เรียน
2.3 การตอบข้อสอบกลางภาคและปลายของนักศึกษา
2.4 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดม สมองและหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การวิเคราะห์ผลการประเมินแล้วเรียงลำดับความสำคัญ หาปัญหา และแนวทางแก้ไข
3.2 ประชุมผลและวางแผนการจัดการเรียนการสอนเมื่อสิ้นภาคเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียน รู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียน รายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา
4.2 การตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจ สอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุกปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือปรับวิธีการสอน เพื่อให้นักศึกษาได้รับมุมมอง วิธีการ และรายละเอียดเนื้อหาที่หลากหลายเหมาะสมและทันกับสภาวะปัจจุบัน