การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล

Teaching English for International Communication

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ นำความรู้ในรายวิชาต่างๆ มาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างบทเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ฝึกปฏิบัติการสอน บูรณาการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน สร้างแบบทดสอบและประเมินผลการเรียน
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษในการประกอบอาชีพ ในงานด้านการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ อีกทั้งเพื่อสร้างเสริมสติปัญญาในเชิงวิเคราะห์ สังเคราะห์ และวิจารณ์ได้อย่างเป็นระบบ โดยการใช้เทคโนโลยีเพื่อสร้างสรรค์องค์ความรู้ใหม่ อันจะนำไปสู่การเรียนรู้ตลอดชีวิต
การศึกษาทฤษฏีเกี่ยวกับการสอนภาษาอังกฤษ นำความรู้ในรายวิชาต่างๆ มาวิเคราะห์เนื้อหาเพื่อสร้างบทเรียนที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน ฝึกปฏิบัติการสอน บูรณาการสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อใช้ในการเรียนการสอนวิเคราะห์ปัญหาที่เกิดขึ้นในชั้นเรียน สร้างแบบทดสอบและประเมินผลการเรียน
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
(เฉพาะรายที่ต้องการ)
ข้อ 1) มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคณธรรม จริยธรรม
ข้อ 2) มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
ข้อ 3)มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
ส่งเสริมให้นักศึกษาพัฒนาความมีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง
สังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้เรียนได้พัฒนาตนเองให้เป็นบัณฑิตที่มีคุณลักษณะอันเป็นที่พึง
ประสงค์ของผู้ประกอบการ
สอดแทรกและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม โดย
1.2.1 ให้นักศึกษาทำงานมอบหมายด้วยตนเองในทุกบทเรียน โดยค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
1.2.2 กำหนดเกณฑ์ให้นักศึกษาได้สร้างวินัยในตนเอง เช่น การเข้าชั้นเรียนตรงเวลาและสม่ำเสมอ
1.3.1 การทดสอบความเข้าใจในการสอบกลางภาคและปลายภาค
1.3.2 การเข้าเรียนตรงเวลา และการส่งงานตามเวลาที่กำหนด
1.3.3 การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน
ข้อ 1) มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
ข้อ 3) สามารถบูรณาการความรู้ทางวิชาชีพกับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
2.2.1 ให้ความรู้แก่นักศึกษาในบทเรียนต่าง ๆ แล้วให้ฝึกปฏิบัติตามกิจกรรมที่กำหนดในบทเรียน
2.2.2 ให้นักศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
2.2.3 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.1 การทดสอบย่อย / สอบกลางภาค / สอบปลายภาค
2.3.2 การฝึกปฏิบัติทั้งในและนอกชั้นเรียน
2.3.3 ผลงานจากการค้นคว้าเพิ่มเติมของนักศึกษาและนำมาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชั้นเรียน
พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการ ที่ได้รับจากการศึกษาเนื้อหาในบทเรียน และจากการค้นคว้าเพิ่มเติมนอกชั้นเรียน มาใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ พร้อมทั้งสามารถปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม
 ข้อ 1 ) พัฒนาผู้เรียนให้เกิดทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ด้านวิชาการและวิชาชีพ
ข้อ 3 ) มีทักษะในการนำความรู้มาประยุกต์และปรับเปลี่ยนได้อย่างเหมาะสมตามสถานการณ์และวัฒนธรรมสากลอย่างเหมาะสม
ยึดหลักการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิดวิเคราะห์ โดย
3.2.1 ให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ
3.2.3 ให้นักศึกษาวิเคราะห์ลักษณะของภาษาที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการ
3.3.1 การทดสอบภาคทฤษฎี และปฏิบัติ
3.3.2 การอภิปราย ซักถาม แสดงความคิดเห็น และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในกลุ่ม
3.3.3 การทำแบบฝึกหัด งานที่ได้รับมอบหมาย และการศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
ข้อ1 ) มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
ข้อ 3 )สามารถในการทำงานเป็นทีมและแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4.2.1 สอดแทรกเนื้อหาในรายวิชาที่เกี่ยวกับวัฒนธรรมและมารยาทสากลในการสื่อสาร
4.2.2 ฝึกปฏิบัติการใช้ภาษาในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเรียนการสอน
4.3.1 สังเกตพฤติกรรมในระหว่างการฝึกปฏิบัติ/การทำกิจกรรม
4.3.2 การทดสอบการเลือกใช้ภาษาในสถานการณ์ที่กำหนด
ข้อ 3 )ใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะและ
สอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
พัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้และทักษะในการใช้เทคโนโลยีในการทำงาน รวมถึงการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้อย่างถูกต้องตามกาลเทศะ และสอดคล้องกับวัฒนธรรมสากล
มอบหมายผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
5.3.1 การทดสอบความรู้ในการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.2ประเมินจากผลงานและการฝึกปฏิบัติของนักศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา คุณธรรมจริยธรรม ความรู้ ทักษะทางปัญญา ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 13031448 การสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสากล
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3, 4.1 การเข้าชั้นเรียนตรงเวลา การส่งงานตรงเวลา การมีส่วนร่วมในกิจกรรมระหว่างเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 2.1, 2.3 3.1, 3.3 ฝึกปฏิบัติการสอน และเขียนแผนการสอน 12-16 30%
3 4.3 ทักษะการใช้ภาษาในการสื่อสาร ตลอดภาคการศึกษา 10%
4 2.1, 2.3 3.1, 3.3 5.3 สอบกลางภาค สอบปลายภาค 9 และ 17 25% และ 25%
Harmer, Jeremy. 1991. The Practice of English Language Teaching. New York: Longman Publishing.
1. Farrell. T.S.C. 2002. “Lesson planning”. In J.C. Richards; and W.A. Renandya (eds.), Methodology in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press.
2. Jacobs, G.M., Lee, G.S. & Ball, J. 1995. Learning Cooperative Learning via Cooperative Learning. Singapore: SEAMEO Regional Language Centre.

Nunan, D. 1989. Designing Tasks for the Communicative Classroom. Cambridge: Cambridge University Press. Parrott, Martin. 1993. Tasks for language Teachers. Cambridge: Cambridge University Press. . Richards, C. and Renandya, W.A. 2002. Methodology in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press. . Richards, C. & Rodgers, T. 1986. Approaches and Methods in Language Teaching. Cambridge: Cambridge University Press. . Woodward, T. 2001. Planning Lessons and Courses. Cambridge: Cambridge University Press. . เว็บไซต์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา เช่น

http://wbc.msu.ac.th/wbc/edu/0506714/Unit_2/Unit_2.htm
http://www.learners.in.th/blogs/posts/283159
http://isc.edu.ku.ac.th/course/data/01156522_2010_01_01.pdf
http://journals.cambridge.org/action/displayAbstract?fromPage=online&aid=2546864
http://teachingcommons.depaul.edu/How_to/Develop_a_Course/design.html
 
 
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
1.3 ข้อเสนอแนะที่อาจารย์ผู้สอนได้จากนักศึกษาผ่านช่องทางการสื่อสารต่าง ๆ
2.1 การสังเกตการณ์การสอนของหัวหน้าสาขาวิชา/หัวหน้าสาขา/ผู้ที่คณะมอบหมาย
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
นำผลประเมินการสอนตามข้อ 2 มาปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติม
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาจากกิจกรรมต่าง ๆ เช่น การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยหัวหน้าสาขาวิชา หรือหัวหน้าสาขา หรือผู้ที่คณะมอบหมาย
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ คะแนนภาคปฏิบัติ และการให้คะแนนพฤติกรรม
นำผลการประเมินและทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา มาวางแผนปรับปรุงการสอนและรายละเอียดของรายวิชาเพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้นดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้จากรายวิชานี้ เข้ากับปัญหาที่มาจากงานวิจัยหรือประสบการณ์ของอาจารย์