ระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร

Enterprise Resource Planning

เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีความรู้ ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานเกี่ยวกับมุมมองเชิงกลยุทธ์ของการวางแผนทรัพยากรองค์กร หรือ ERP และความสัมพันธ์ของ ERP กับฟังก์ชันต่างๆในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ หัวข้อที่ศึกษาประกอบด้วยวิวัฒนาการของระบบและเครื่องมือด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การเปรียบเทียบซอฟต์แวร์ ERP ต่างๆในปัจจุบัน กระบวนการวางแผนโลจิสติกส์ ส่วนประกอบของ ERP การวางแผนและปฏิบัติการโซ่อุปทานและแนวโน้มในอนาคตของ ERP
เพื่อผลิตวิศวกรระดับปริญญาตรีที่มีคุณสมบัติเหมาะและสมสามารถปฏิบัติงานในด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์ เพื่อผลิตวิศวกรโลจิสติกส์ที่มีความสามารถปฏิบัติงานเฉพาะด้าน สามารถเข้าใจหลักการและปฏิบัติการเกี่ยวกับระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กรโดยใช้ซอฟต์แวร์หรือไอทีเข้ามาดำเนินการ
ศึกษาและปฏิบัติการเกี่ยวกับมุมมองเชิงกลยุทธ์ของการวางแผนทรัพยากรองค์กร หรือ ERP และความสัมพันธ์ของ ERP กับฟังก์ชันต่างๆในโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ หัวข้อที่ศึกษาประกอบด้วยวิวัฒนาการของระบบและเครื่องมือด้านการจัดการโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ การเปรียบเทียบซอฟต์แวร์ ERP ต่างๆในปัจจุบัน กระบวนการวางแผนโลจิสติกส์ ส่วนประกอบของ ERP การวางแผนและปฏิบัติการโซ่อุปทานและแนวโน้มในอนาคตของ ERP
เวลาให้คำปรึกษานักศึกษา หลักเลิกเรียนตั้งแต่เวลา 16.00-17.00 น
1.1.1  มีวินัย ตรงต่อเวลา และมีความรับผิดชอบสูงทั้งต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม
 1.1.2  แสดงความซื่อสัตย์สุจริตอย่างสม่ำเสมอ
 1.1.3  ปฏิบัติหน้าที่ด้วยคุณธรรมและจริยธรรม
 1.1.4  เคารพในระเบียบและกฎเกณฑ์ขององค์กรและสังคม
1.2.1 เน้นในเรื่องให้ความสำคัญในวินัย การตรงต่อเวลาในการเข้าเรียน และการส่งงานในเวลาที่กำหนด
1.2.2 ใช้กรณีศึกษาและการอภิปรายกลุ่ม
1.2.3 จัดกิจกรรมการพัฒนาคณะ / มหาวิทยาลัย / ชุมชน
1.3.1  เช็คชื่อการเข้าเรียน ตรวจสอบการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
1.3.2  พฤติกรรมการเข้าร่วมทำกิจกรรมการพัฒนาของนักศึกษา
1.3.3  ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา
1.3.4  ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
2.1.1  สามารถเข้าใจ และวิเคราะห์หลักการและทฤษฎีพื้นฐานการวางแผนทรัพยากรองค์กร
 2.1.2  สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในองค์กรต่างๆได้
 2.1.3  มีความเข้าใจ  และวิเคราะห์หลักการของศาสตร์อื่นที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์  เช่นหลักเศรษฐศาสตร์ หลักการควบคุมกระบวนการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศเป็นต้น
2.2.1  บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษาที่เกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรองค์กร
2.2.2  มอบหมายให้ทำโครงงานเกี่ยวกับระบบการวางแผนทรัพยากรในองค์กร ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรองค์กร โดยนำมาสรุปและนำเสนอ
2.2.3  บรรยาย มอบหมายและนำเสนอรายงานศึกษากรณีศึกษาโดยใช้ปัญหาด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร และนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ด้านโลจิสติกส์
2.3.1  ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2  ประเมินผลทักษะการประยุกต์หลักการการวางแผนทรัพยากรองค์กร และการปฏิบัติงานกิจกรรมด้านการวางแผนทรัพยากรองค์กร
2.3.3  ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
3.1.1   ความรู้ไปประยุกต์ในสถานการณ์จริง
3.1.2   พัฒนาความสามารถการแก้ปัญหาการวางแผนทรัพยากรองค์กร ทางวิศวกรรม โลจิสติกส์ได้โดยนำหลักการต่าง ๆ มาอ้างอิงได้อย่างเหมาะสมเช่นหลักการจำลองสถานการณ์ เป็นต้น
3.1.3  พัฒนาการใฝ่หาความรู้
3.2.1  มีการมอบให้นักศึกษาวิเคราะห์กรณีศึกษา บทความ การวางแผนทรัพยากรองค์กร การทำโครงงานพิเศษที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงานให้ตรงตามวัตถุประสงค์
3.2.2  จัดการสอนแบบยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ วิเคราะห์กรณีศึกษา ฝึกปฏิบัติ การนำระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร สำหรับงานด้านโลจิสติกส์มาใช้อย่างเหมาะสมด้วยการแก้ปัญหาจากสถานการณ์จำลอง
3.2.3  มอบหมายงานการสืบค้นข้อมูลจากตำรา เว็บไซด์ที่เกี่ยวข้องกับการวางแผนทรัพยากรองค์ให้มีการฝึกปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ และในสถานประกอบการ เพื่อเป็นการเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาในสถานการณ์จำลองและสถานการณ์จริง
3.3.1  สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์แนวคิดในการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการวางแผนทรัพยากรองค์กร
3.3.2  วัดผลจากการประเมินโครงการ การนำเสนอผลงาน
3.3.3  ประเมิลผลจากงานที่มอบหมายและการนำเสนอ
4.1.1  พัฒนาให้นักศึกษาสามารถทำงานกลุ่มหรือผู้อื่นได้
4.1.2  พัฒนาให้มีความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย
4.2.1  จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา และการฝึกภาคปฏิบัติเป็นกลุ่ม
4.2.2  มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล
4.3.1  ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด
4.3.2  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีมและการศึกษาด้วยตนเอง
5.1.1  พัฒนาทักษะการนำเสนอโครงงาน และรายงาน การสื่อสารความหมายโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.2  พัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูลและนำเสนอรายงาน
5.1.3  พัฒนาทักษะความรู้พื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติตามหลักการระบบการขนถ่ายวัสดุและหลักการที่เกี่ยวข้อง การนำเสนอโครงงานด้วยข้อมูลโดยเน้นหลักคณิตศาสตร์หรือสถิติ
5.1.4  พัฒนาทักษะการใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารได้
5.2.1  มอบหมายรายงาน โครงงานหัวข้อพิเศษเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรองค์กร และการนำเสนอ
5.2.2  มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
5.2.3  บรรยายและแนะนำหลักการพื้นฐานทางคณิตศาสตร์และสถิติสำหรับการใช้งานในการวางแผนทรัพยากรองค์กร นำเสนอกรณีศึกษาด้านวิศวกรรมโลจิสติกส์โดยเน้นการนำตัวเลข หรือสถิติมาอ้างอิง
5.2.4  มอบหมายงานนำเสนอบทความวิจัยหรือบทความวิชาการภาษาอังกฤษ รวมถึงการท่องคำศัพท์ที่เกี่ยวกับโลจิสติกส์
5.3.1  ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยตัวเลข และเทคโนโลยี
5.3.2  ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
5.3.3  ประเมินผลจากการทดสอบ และการสอบกลางภาคและปลายภาค
5.3.4  ประเมินจากการนำเสนอบทความและวัดผลจากคำศัพท์
6..1 พัฒนามีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการปฏิบัติงาน
6.2.2  พัฒนาทักษะการปฏิบัติงานกลุ่มและการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1  ผู้สอนลงมือสาธิตการปฏิบัติการการใช้เครื่องมือเกี่ยวกับการวางแผนทรัพยากรองค์กร
6.2.2  ควบคุมการฝึกปฏิบัติของนักศึกษาให้มีความถูกต้องตามวิธีการที่กำหนด
6.3.1  บันทึกผลเวลาการปฏิบัติ การใช้เครื่องมือ และประเมินจากรายงาน
6.3.2  ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หัวข้อการเรียนรู้ที่ 1.1 – 1.3 2.1 – 2.8 3.1 – 3.4 4.1 5.1 – 5.5 6.1 – 6.4 7, 8, 9 สอบกลางภาค สอบปลายภาค สัปดาห์ที่ 9 และสัปดาห์ที่ 18 กลางภาค 25% ปลายภาค 25%
2 หัวข้อการเรียนรู็ที่ 1.1 – 1.3 2.1 – 2.8 3.1 – 3.4 4.1 5.1 – 5.5 6.1 – 6.4 7, 8, 9 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ใบงานการทดลอง ตลอดภาคการศึกษา 20% ใบงาน 20%
3 หัวข้อการเรียนรู็ 1.1 – 1.3 2.1 – 2.8 3.1 – 3.4 4.1 5.1 – 5.5 6.1 – 6.4 7, 8, 9 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
คู่มือการใช้งาน ระบบวางแผนและควบคุมคุณภาพการผลิตและการจัดการโลจิสติกส์ สาขาวิศวกรรมโลจิสติกส์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา เชียงราย.
วิทยา สุหฤทดำรง และ เผ่าภัค ศิริสุข. ERP สำหรับผู้บริหาร: ประเด็นในการเลือกใช้ดำเนินโครงการและขยายผล. สำนักพิพม์ : ไอ.อี.สแควร์. กรุงเทพฯ.
Christian N. Madu and Chu-hua Kuei. ERP and Supply Chain Management. Chi Publishers.
 
ใบงานและคู่มือการทดลอง ERP
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชาระบบการวางแผนทรัพยากรองค์กร
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ข้อเสนอแนะผ่านช่องทางออนไลน์เช่น กลุ่มเฟสบุค ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ