องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น

Introduction to Composition

1.1 เข้าใจการศึกษาค้นคว้ากระบวนการสร้างสรรค์งานองค์ประกอบศิลป์ 1.2 เข้าใจการนำเสนอแนวคิดจิตนาการสู่กระบวนการสร้างสรรค์ 1.3 มีการสร้างสรรค์ตามแนวคิดและจินตนาการ 1.4 สามารถวิเคราะห์แก้ปัญหาแนวคิดและจินตนาการในการสร้างสรรค์ 1.5 ตระหนักในคุณค่าด้านสุนทรีนศาสตร์ของการสร้างสรรค์องค์ประกอบศิลป์
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจ     ในการจัดองค์ประกอบเพื่อการออกแบบ และเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านการออกแบบและในทางศิลปะที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย  
ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ทัศนธาตุทางศิลปะและนำมาปฎิบัติในการจัดองค์ประกอบศิลปะตามหัวข้อที่กำหนดด้วยวัสดุและวิธีการที่หลากหลาย โดยเน้นความคิดสร้างสรรค์ จินตนาการและการแสดงอย่างเหมาะสม
 -    อาจารย์ประจำรายวิชา  แจ้งเกี่ยวกับเกณฑ์ในการศึกษาและการประเมินผลรายวิชา ในชั่วโมงแรกของการสอนภายในชั้นเรียน  -    อาจารย์แจ้งและกำหนดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)  
1.1.1    มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏฺบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ 1.1.2     มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ 1.1.3     มีวินัย ตรงต่อเวลา ปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับของ   องค์กรและสังคมเคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
1.2.1  บรรยายเนื้อหาพร้อมยกตัวอย่างเทคนิคการสร้างงานรูปแบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับงาน  1.2.2  สอดแทรกเรื่องซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย   ยอมรับฟังแนวคิดของผู้อื่น รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม  สอนความรู้ จรรยาบรรณทางด้านวิชาการและวิชาชีพ ในรายวิชา
 1.3.2   ผลงานการใช้องค์ประกอบศิลป์ รายสัปดาห์ 1.3.3   การสอบวัดความรู้รวบยอดทั้งภาคทฤษฏี และปฏิบัติ ภาคเรียนละ 2 ครั้ง
2.1.1  มีความสามารถในการค้นคว้าแก้ปัญหา และพัฒนาทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็น ระบบ 2.1.2 มีความรู้เกี่ยวกับมาตรฐานหรือธรรมเนียมปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพด้านศิลปกรรมศาสตร์     ในสาขาวิชาที่ศึกษา  
2.2.1 บรรยายและการค้นคว้าแก้ปัญหา แลกเปลี่ยนความคิดเห็น ระหว่างอาจารย์กับนักศึกษา เกี่ยวกับหลักการองค์ประกอบศิลป์ และเทคนิควิธีการ รวมถึงการฝึกปฏิบัติการสร้างสรรค์ผลงาน  สำหรับงาน  ทางด้านศิลปกรรมศาสตร์อย่างเป็น ระบบ
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการความรู้ ความเข้าใจ การนำไปใช้  2.3.2 ประเมินจากงานปฏิบัติของผู้เรียนในการสร้างผลงาน  
3.1.1  สามารถวิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
3.1.2  สามารถบูรณาการความรู้กับศาสตร์อื่นเพื่อสร้างสรรค์ผลงานทางวิชาการและวิชาชีพได้  3.1.3 มีความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน
3.2.1   สอนแบบบรรยาย วิเคราะห์ สังเคราะห์และเสนอแนวทางแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ โดยใช้รูปภาพประกอบ และ ตัวอย่างงานจัดวางองค์ประกอบศิลป์ ความคิดสร้างสรรค์และมีปฏิภาณไหวพริบในการสร้างผลงาน 3.2.2   สอนแบบสถานการณ์จริงโดยนำผลงานศิลปะในปัจจุบันมานำเสนอให้นักศึกษาศึกษาดูผลงาน พร้อมนำมาเป็นแนวคิดในการทำงาน 
3.3.1   สอบกลางภาคและปลายภาค  โดยเน้นข้อสอบที่มีการปฏิบัติและการประยุกต์ใช้งาน 3.3.2   วัดผลจากงานปฏิบัติตลอดภาคเรียน 3.2.3  ประเมินตามสภาพจริงจากผลงาน  การปฏิบัติงานของนักศึกษา  และการนำเสนองาน
4.1.1   มีความรับผิดชอบต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ4.2 วิธีการสอน  
4.2.1   มอบหมายงานต่องานของตนเอง และสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีประสิทธิภาพ 4.2.2   การนำเสนองาน
 4.3.1   ประเมินตนเอง และเพื่อน อาจารย์ผู้สอน 4.3.2   ประเมินจากผลงานที่นำเสนอและพฤติกรรมการทำงานของนักศึกษาตามหลักการ 4.3.3   ประเมินจากการมอบหมายงานนอกเวลา    
5.1.1   สามารถสื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสา ทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.1.2   สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลเพื่อการสร้างสรรค์ผลงานหรือการนำเสนอผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง  สื่อสารด้วยการพูด ฟัง อ่าน เขียนในการสื่อสารโดยทั่วไป ตลอดจนใช้วิธีการสื่อสารทางศิลปกรรม และนำเสนองานได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1   ประเมินจากผลงาน และการนำเสนอด้วยเทคโนโลยีที่เหมาะสม 5.3.2   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
6.1.1. มีทักษะในการหาแนวทางปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.1.2 มีทักษะในการปฏิบัติงานสร้างสรรค์ผลงาน
 
 6.2.1 ใช้วิธีการสอน ด้วยวิธีคัดลอกแบบ ทำตามแบบและใบงาน การใช้กรณีศึกษา โครงงานและศิลปนิพนธ์   สร้างสรรค์ผลงานตามแนวทางของการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องด้วยตนเอง
6.3.1   ประเมินตามสภาพจริงโดยประเมินจากการปฏิบัติงานและผลงาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BFACC404 องค์ประกอบศิลป์เบื้องต้น
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1-16 - การเข้าชั้นเรียน - ความรับผิดชอบ - การแต่งกาย ตลอดภาคการศึกษา 10 %
2 1-16 คุณภาพผลงานจากการปฏิบัติ ตลอดภาคการศึกษา 60 %
3 - สอบกลางภาค - สอบปลายภาค 9 17 15 % 15 %
 ทวีเดช จิ๋วบาง. เรียนรู้ทฤษฏีสี. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮาส์, 2536. เทียนชัย ตั้งพรประเสริฐ. เอกสารประกอบการสอนองค์ประกอบศิลป์ 1 ชศป. 2004. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง, 2540. ฟาบรี, ราล์ฟ.  ทฤษฏีสี. แปลโดยสมเกียรติ ตั้งนโม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, 2536. วิรุณ ตั้งเจริญ.  ทฤษฏีสีเพื่อการสร้างสรรค์ศิลปะ. หนังสือชุด 60 ปี อารี สุทธิพันธุ์ 2534. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์, 2535. สกนธ์ ภู่งามดี. การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แซทโฟร์ พริ้นติ้ง, 2546. Chijiwa,H. Color harmony. Massachusetts: Rockport Publisher,1987. Faber, B. Creative color. United States of America: Schiffer Publishing, 1987. Gillow, J and Sentence, B. World textile: A visual guide to traditional techniques. . London: Thames & Hudson, 2000. Hardy, A. Art deco textiles: The French designers. London: Thames & Hudson, 2003.  Heathcote, E. Cinema builders. Great Britain: Wiley-Academy, 2001. Henderson, J. Casino design: Resorts, hotels, and themed entertainment spaces. Massachusetts: Rockport Publisher, (n.d.) Hill, T, The watercolorist’s complete guide to color. Ohio: North light book Press, 1992. Joyce,C. Textile design. New York: Watson-Guptill Publications, 1993. Levine, M. Colors for living: Living rooms. Massachusetts: Rockport Publisher, (n.d.) San Pietro, S. and Brabzaglia, C. Discorddesign in Italy. Milano: Edizioni l’archivolto, 2001. Sawahata, L. Color harmony workbook. Massachusetts: Rockport Publisher, (n.d.) Whelan, B, M. Color harmony 2: A guide to creative color combinations. Hong Kong: Rockport Publishers, 1994.
เว็บไซต์ และนิตยสารเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ เครื่องประดับ สิ่งทอ และแฟชั่น
เว็บไซต์ ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการจัดองค์ประกอบศิลป์ รวมทั้งหนังสือรูปแบบเกี่ยวกับการจัดองค์ประกอบศิลป์
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาไว้ดังนี้ 1.1  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน 1.2  แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน 2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา 2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1  หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  คือการจัดสัมมนาการจัดการเรียนการสอน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ 5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์