จิตรกรรม 3

Painting 3

1.1 รู้จักวัสดุ อุปกรณ์ และเทคนิควิธีการต่างๆในการเขียนภาพจิตรกรรม
1.2 เข้าใจขั้นตอน วิธีการวาดภาพเทคนิคจิตรกรรมสีน้ำมันและเทคนิคอื่นๆในรูปแบบ ต่างๆทั้งแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์
1.3 มีทักษะในการเขียนภาพจิตรกรรมแบบเหมือนจริงและแบบสร้างสรรค์ที่มีความสอดคล้องระหว่างรูปแบบและแนวความคิดในการแสดงออกในการสร้างสรรค์
1.4 เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
1.5 สามารถวิเคราะห์ทัศนธาตุต่างๆในงานตนเองและเห็นคุณค่าในงานจิตรกรรม
ศึกษาค้นคว้าฝึกปฏิบัติการวาดภาพจิตรกรรม ด้วยการใช้เทคนิคสีน้ำมันหรือเทคนิคอื่นๆที่มีความหลากหลาย โดยเลือกมุมมองด้านองค์ประกอบศิลป์ แสดงออกผ่านทัศธาตุ เพื่อฝึกฝนให้เรียนรู้เกี่ยวกับการเขียนภาพเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง หรือนามธรรมก็ได้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์
ศึกษาและฝึกปฏิบัติการเกี่ยวกับเทคนิควิธีการวาดภาพเพื่อให้สอดคล้องกับรูปแบบและเนื้อหาที่ได้ค้นคว้าจากสื่อต่างๆ เพื่อถ่ายทอดออกมาเป็นผลงานจิตรกรรมสร้างสรรค์ที่มีลักษณะของการแสดงออกเฉพาะตัว
4 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์
1.มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
2.มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
3.มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม
4.เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1. ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในภาพเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่ มอบหมายและการร่วมกิจกรรม
2. ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
3. ประเมินจากความรับผิดชอบในหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
4. ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมของนักศึกษาในการปฏิบัติตามกฎระเบียบและข้อบังคับ ต่างๆ อย่างต่อเนื่อง
1. มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษาด้านจิตรกรรม
2. สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาจิตรกรรมที่ศึกษา
3. สามารถบูรณาการความรู้ทางจิตรกรรมที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง
 
        มีความรู้ความเข้าใจ และสามารถปฏิบัติงานด้านจิตรกรรมได้อย่างประสบผลสำเร็จ มีทักษะในการแก้ปัญหาเกี่ยวกับการวาดภาพเขียนภาพเหมือนจริง กึ่งเหมือนจริง หรือนามธรรมก็ได้ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อแสดงออกด้านแนวความคิดเฉพาะตน ค้นหารูปแบบและเทคนิควิธีการที่เหมาะสมต่อการนำเสนอเนื้อหานั้นๆ ทั้งนี้นักศึกษาต้องสามารถวิเคราะห์ผลงานตนเองเพื่อพัฒนาผลงานตามหลักการความงามและการสื่อความหมายอันมีคุณค่าทางทัศนศิลป์
         ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบ เช่น บรรยายประกอบสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการ , ผลงานตัวอย่าง , ผลงานศิลปินที่มีชื่อเสียง สาธิตให้ได้เห็น และเข้าใจในเท็คนิควิธีการต่างๆปฏิบัติงานจริง เพื่อศึกษาค้นคว้าตามขั้นตอนต่างๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังเน้นหลักการทางทฤษฎี และการปฎิบัติเกี่ยวกับงานจิตรกรรมเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ โดยทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางศิลปะร่วมสมัย ทั้งนี้ให้เป็นไปตามลักษณะของรายวิชาจิตรกรรมตลอดจนเนื้อหาสาระที่เกี่ยวข้องกับแนวความคิด รูปแบบ เทคนิค ทางจิตรกรรม นอกจากนี้ให้นักศึกษาฝึกฝนสร้างสรรค์ศิลปะที่มีอัตลักษณ์เฉพาะตน
ประเมินจากการทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน ประเมินจากการปฏิบัติงานของนักศึกษาและประเมินจากผลงานที่ปฎิบัติ ประเมินจากการนำเสนอผลงานจิตรกรรมที่มอบหมาย 
1. มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการและปฏิบัติ
2. มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ
        พัฒนาความสามารถในความเข้าใจในการสร้างสรรค์ ตามข้อกำหนด เลือกเทคนิคในการเขียนภาพจิตรกรรมได้อย่างเหมาะสมกับแนวความคิดเฉพาะตนมีความเป็นอัตลักษณ์ รู้และเข้าใจในการจัดวางรูปทรงให้สอดคล้องกับ เนื้อหาเรื่องราว ,อารมณ์ ความรู้สึก ของรูปแบบต่างๆในลักษณะการสร้างสรรค์ได้
1. ส่งเสริมการเรียนรู้จากการแก้ปัญหา ( Problem Based Instruction)
2. ให้นักศึกษาปฏิบัติการจากสถานการณ์จริง
3. มอบหมายงานที่ส่งเสริมการคิด วิเคราะห์และสังเคราะห์
 
          นำเสนอผลงานการวาดเส้นในลักษณะเหมือนจริง ที่แสดงให้เห็นถึงเทคนิค วิธีการต่างๆ ของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
 แนะนำหรือสาธิตเทคนิควิธีการต่างๆ เพื่อให้เกิดทักษะและปัญญา
 มอบหมายให้ค้นคว้า ศึกษาเพิ่มเติมจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
 วิเคราะห์ วิจารณ์ผลงานปฏิบัติของแต่ละบุคคลให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสียต่างๆ
- ประเมินผลความก้าวหน้าจากการศึกษาค้นคว้า เปรียบเทียบกับผลงานปฏิบัติในแต่ละครั้ง
- ประเมินผลความรู้ ความเข้าใจจากการสอบกลางภาค และสอบปลายภาค
1. มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
2. มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
4. สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรับผิดชอบในการปฏิบัติงานร่วมกัน
- แสดงให้เห็นถึงผลของความรู้ที่เกิดจากการแลกเปลี่ยนในการปฏิบัติงานร่วมกัน
-ประเมินผลจากพฤติกรรมการปฏิบัติงานร่วมกันในชั้นเรียน
-ประเมินผลจากความรู้ ความเข้าใจที่ได้จากการแลกเปลี่ยนระหว่างผู้เรียน
-ประเมินผลจากการกำหนดให้ปฏิบัติงานร่วมกันเป็นกลุ่ม
1. สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
2. สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
3. สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- นำเสนอตัวอย่างความรู้ ความชำนาญเกี่ยวกับการเขียนภาพจิตรกรรมแนวใหม่ๆ รวมทั้งตัวอย่างผลงานของศิลปินที่มีชื่อเสียงจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- นำเสนอตัวอย่างเทคนิควิธีการที่ได้จากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
- มอบหมายงานการศึกษาค้นคว้าจากสื่อเทคโนโลยีสารสนเทศ
ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงาน
1. มีทักษะในการใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย
2.มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละคนถนัด
3.สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม
4.สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน
5.มีทักษะในการสร้างสรรค์ที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
 
1.สร้างเจตคติที่ดีต่อการฝึกปฏิบัติสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรม
2.จัดนิทรรศการแสดงผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาในที่สาธารณะเพื่อกระตุ้นให้นักศึกษาเกิดความคิดสร้างสรรค์และฝึกปฏิบัติงานด้วยใจ
1. ประเมินตามสภาพจริงจากผลงานและการปฏิบัติของนักศึกษา
2. ประเมินจากการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
3. การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์ เป็นต้น
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ 1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและรับผิดชอบต่อตนเอง สังคม และสิ่งแวดล้อม 1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ .2.1 มีความรู้ความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา 2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการและเทคโนโลยีของสาขาวิชาที่ศึกษา 2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆที่เกี่ยวข้อง 3.1 มีทักษะการปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ 3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างเป็นระบบ 4.1 มีมนุษย์สัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี 4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม 5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือภาษาต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ุ6.1 มีทักษะในการใช้วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ในการสร้างสรรค์ผลงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและมีความปลอดภัย 6.2 มีทักษะในการร่างและทำต้นแบบผลงานตามที่แต่ละบุคคลถนัดได้ 6.3 สามารถสร้างสรรค์ผลงาน โดยใช้เทคนิคต่างๆได้อย่างเหมาะสม 6.4 สามารถวิเคราะห์ปัญหาในการสร้างสรรค์ผลงาน 6.5 มีทักษะในการสร้างสรรค์ผลงานที่แสดงเอกลักษณ์เฉพาะตนได้อย่างชัดเจน
1 41011304 จิตรกรรม 3
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 นักศึกษาสามารถปฏิบัติและเข้าใจหลักการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมผ่านหุ่นนิ่ง และวัตถุต่างๆ โดยแสดงออกผ่านเทคนิคและรูปแบบเฉพาะตนได้ ประเมินจากผลงานจิตรกรรม เกี่ยวกับความงาม สัดส่วนความเหมือนจริง และความคิดสร้างสรรค์ 2-7 30
2 นักศึกษาสามารถวาดภาพคนเหมือนครึ่งตัวและเต็มตัวได้รวมไปถึงการสร้างสรรค์เพิ่มเติมตามแนวความคิดของตนได้ ประเมินจากผลงานจิตรกรรม เกี่ยวกับความงาม สัดส่วนความเหมือนจริง และความคิดสร้างสรรค์ 8-12 30
3 นักศึกษาสามารถปฏิบัติและเข้าใจหลักการสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมตามหัวข้ออิสระ สามารถสื่อผ่านแนวความคิด เทคนิควิธีการและรูปแบบ เฉพาะตนได้ ประเมินจากผลงานจิตรกรรม เกี่ยวกับความงาม สัดส่วนความเหมือนจริง และความคิดสร้างสรรค์ ผลงานมีลักษณะเฉพาะตน 13-17 30
4 คุณธรรม จริยธรรม การเข้าชั้นเรียน การอธิบาย นำเสนอผลงาน 1-17 10
- กำจร สุนพงษ์ศรี. ศิลปะสมัยใหม่. สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2554  - กำจร สุนพงษ์ศรี. สุนทรียศาสตร์ หลักปรัชญาศิลปะ ทฤษฎีทัศนศิลป์ ศิลปวิจารณ์.  กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2556  - จิระพัฒน์ พิตรปรีชา. โลกศิลปะศตวรรษที่20. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์เมืองโบราณ, 2552  - ชลูด นิ่มเสมอ. องค์ประกอบของศิลปะ : Composition of art. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์อมรินทร์, 2557  - อิทธิพล ตั้งโฉลก. แนวทางการสอนและสร้างสรรค์จิตรกรรมขั้นสูง. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์อัมรินทร์ ปริ้นติ้ง, 2550    
หนังสือศิลปะรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่9,พิมพ์ครั้งที่2 .กรุงเทพ:อัมรินทร์ปริ้นติ้งแอนด์พับลิชชิ่ง,2540
ศาสตราจารย์ กำจร สุนพงษ์ศรี. หนังสือศิลปะสมัยใหม่ .สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2554
ชลูด นิ่มเสมอ.องค์ประกอบของศิลปะ.กรุงเทพ:สำนักพิมพ์ ไทยวัฒนาพานิช จำกัด,2534
- https://www.google.com/culturalinstitute/beta/  - https://en.wikipedia.org/wiki/Composition_(visual_arts  - https://en.wikipedia.org/wiki/History_of_art  - http://www.rama9art.org/     www.fineart-magazine.com  www.American painting  www. Art Now
- สอบถามความคิดเห็นจากนักศึกษาเมื่อเสร็จสิ้นในเนื้อหานั้น
-นักศึกษาประเมินการสอนในคอมพิวเตอร์
-ประเมินการสอนโดยผู้บริหารของภาค หรือสาขาวิชา
จัดประชุมคณะอาจารย์ ระดมความคิดเห็นเมื่อสิ้นสุดภาคเรียน
-สรุปผลการประเมินการสอนจากนักศึกษา
-ประชุมคณะอาจารย์แจ้งผลการประเมิน แสดงความคิดเห็นเพื่อพัฒนาการสอน
-จัดประชุม สัมมนาคณะอาจารย์เพื่อพัฒนาเทคนิคใหม่เกี่ยวกับการสอน
 -มีคณะกรรมการวิชาการประจำสาขาวิชา
-มีคณะกรรมการพิจารณาข้อสอบ และผลสอบ
-ให้นักศึกษาตรวจสอบคะแนน ผลคะแนนจากฝ่ายทะเบียนได้
 
-นำผลที่ได้จากการสอบถามความคิดเห็น คะแนนสอบของนักศึกษา การประชุมสัมมนานำมาสรุปผล และพัฒนารายวิชาก่อนการสอนในภาคเรียนต่อไป