วิศวกรรมอาหาร

Food Engineering

1. อธิบาย/อภิปรายหลักการต่างๆที่เกี่ยวข้องวิศวกรรมอาหารเบื้องต้น 
2. คำนวณและแก้โจทย์ปัญหาของกระบวนการทางวิศวกรรมอาหาร 
3. แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหลักวิศวกรรมอาหารกับกระบวนการผลิตอาหารแบบต่างๆ
1) เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ 
2) เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นงานวิศวกรรมอาหารหน่วยวัดและมิติ เน้นหลักการคำนวณด้านสมดุลมวลและพลังงาน อุณหพลศาสตร์ การถ่ายโอนความร้อนและมวลสาร กลศาสตร์ของไหล ในกระบวนการปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในวิศวกรรมอาหาร การสกัด การกลั่น การแยก การระเหย การทำแห้ง การลดขนาด การผสม การใช้อุณหภูมิต่ำในกระบวนการแปรรูปอาหาร หลักการออกแบบเครื่องมือ และอาคารโรงงานอุตสาหกรรมอาหาร
3 ชั่วโมง
š1.1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาวิชาชีพ 
š1.1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต 
˜1.1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม 
š1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม 
š1.1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น
1.2.1 ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย 
1.2.2 นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม 
1.2.3 มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมายและการร่วมกิจกรรม 
1.3.2 ประเมินจากการมีวินัยและพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร 
1.3.3 ปริมาณการกระทำทุจริตในการสอบ 
1.3.4 พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
˜2.1.1ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีที่สำคัญในเนื้อหาที่ศึกษา 
š2.1.2 นักศึกษาต้องมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องเกี่ยวกับความรู้เบื้องต้นงานวิศวกรรมอาหารหน่วยวัดและมิติ เน้นหลักการคำนวณด้านสมดุลมวลและพลังงาน อุณหพลศาสตร์ การถ่ายโอนความร้อนและมวลสาร กลศาสตร์ของไหล ในกระบวนการปฏิบัติการเฉพาะหน่วยในวิศวกรรมอาหาร การสกัด การกลั่น การแยก การระเหย การทำแห้ง การลดขนาด การผสม การใช้อุณหภูมิต่ำในกระบวนการแปรรูปอาหาร หลักการออกแบบเครื่องมือ และอาคารโรงงานอุตสาหกรรมอาหารสามารถบูรณาการความรู้ในที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
š2.1.3 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการ รวมถึงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาและต่อยอดองค์ความรู้ และมีความรู้ในแนวกว้างของสาขาวิชาที่ศึกษาเพื่อให้เล็งเห็นการเปลี่ยนแปลง และเข้าใจผลกระทบของเทคโนโลยีใหม่ ๆ 
š2.1.4 รู้กฎระเบียบ ข้อกำหนดทางเทคนิค รวมถึงการปรับเปลี่ยนตามกาลเวลาเพื่อตอบสนองต่อสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป
2.2.1 ใช้การสอนบรรยายแบบ Active Learning โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือภายในกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้น 
2.2.2 การสอนแบบ Hybrid learning การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) 
2.2.3 การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต 
2.2.4 จัดให้มีการเรียนรู้จากการปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
2.3.1 การทดสอบย่อย 
2.3.2 การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน 
2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ 
2.3.4 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน
š3.1.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ 
š3.1.2 สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์ 
š3.1.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ เช่น การตรวจวิเคราะห์อาหาร การควบคุมและประกันคุณภาพ การวิจัย และงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
˜3.1.4 มีทักษะในภาคปฏิบัติที่ได้รับการฝึกฝน ตามเนื้อหาสาระสำคัญของสาขาวิชา
3.2.1 มอบหมายงานกลุ่มเพื่อศึกษากรณีศึกษาพร้อมอภิปราย 
3.2.2 การอภิปรายกลุ่มจากผลการปฏิบัติ 
3.2.3 ให้นักศึกษามีโอกาสปฏิบัติจริง
3.3.1 ประเมินจากการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน 
3.3.2 การทดสอบโดยใช้แบบทดสอบหรือสัมภาษณ์
˜4.1.1 มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม 
š4.1.2 สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
š4.1.3 วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ 
š4.1.4 สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 การกำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม 
4.2.2 การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น
4.3.1 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน 
4.3.2 การตอบข้อซักถามของอาจารย์ และสังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ
š 5.1.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์แปลความหมายและเสนอแนวทางในการแก้ปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์ 
š5.1.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ 
š 5.1.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับสาระสำคัญของวิชานั้น ๆ จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ 
š 5.1.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และใช้อย่างสม่ำเสมอเพื่อการรวบรวมข้อมูล แปลความหมายและสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด   
  5.1.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างเหมาะสม 
š 5.1.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 
š 5.1.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน และภาษาอังกฤษ
5.2.1 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และสถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม 
5.2.2 เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลาย สถานการณ์
5.3.1 จากเทคนิคการนำเสนอโดยใช้ทฤษฏี 
5.3.2 จากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
 
š6.1.1 มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการรวมถึงความสามารถในการทำงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ
6.2.1. แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ 
6.2.2. อธิบายวิธีการปฏิบัติ วิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสม และข้อควรระวังใช้การใช้เครื่องมือ
6.3.1. ประเมินความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม 
6.3.2. ประเมินการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1 คุณธรรม จริยธรรม 2 ความรู้ 3 ทักษะทางปัญญา 4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5 ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6 ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 6 1
1 24126301 วิศวกรรมอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.1 สอบย่อย (หน่วยที่ 1, 2, 3, 8, 9) 3, 5, 11, 16 35 %
2 2.1 สอบกลางภาค (หน่วยที่ 4, 5) 9 20 %
3 2.1 สอบปลายภาค (หน่วยที่ 6, 7) 18 15 %
4 1.3, 3.4, 4.1 การนำเสนองานมอบหมายและรายงาน 16-18 15 %
5 1.3, 4.1 รายงานบทปฏิบัติการ ตลอดภาคการศึกษา 10 %
6 1.3 จิตพิสัยในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 5 %
ชัยนนท์ ศรีสุภินานนท์. 2535. การออกแบบผังโรงงานเพื่อเพิ่มผลผลิต. ซีเอ็ดยูเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 423 น. 
วิไล รังสาดทอง. 2547. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 4. บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล  พลับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 
วิไล รังสาดทอง. 2552. เทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. บริษัท เท็กซ์แอนด์เจอร์นัล  พลับลิเคชั่น จำกัด, กรุงเทพฯ. 500 หน้า. 
วันชัย ริจิวนิช. 2541. การออกแบบผังโรงงาน. สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์วิทยาลัย, กรุงเทพฯ. 425 หน้า. 
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2535. วิศวกรรมการแปรรูปอาหาร: การถนอมอาหาร. พิมพ์ครั้งที่ 1  สำนักพิมพ์ โอเดียนสโตร์, กรุงเทพฯ. 
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2547. วิศวกรรมอาหาร: หน่วยปฏิบัติการในอุตสาหกรรม. พิมพ์ครั้งที่  3 สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 
รุ่งนภา พงศ์สวัสดิ์มานิต. 2549. การทดลองทางวิศวกรรมกระบวนการสำหรับอุตสาหกรรมเกษตร  พิมพ์ครั้งที่ 1 สำนักพิมพ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 
สมศักดิ์ ตรีสัตย์. 2553. การออกแบบและการวางผังโรงงาน. พิมพ์ครั้งที่ 23. สำนักพิมพ์ ส..ส.ท. สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น). ส.เอเซียเพรส จำกัด, กรุงเทพฯ. 425 หน้า. 
เสาวนีย์ เลิศวรศิริกุล. 2552. การจัดการโรงงานอุตสาหกรรมเกษตร. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 326 หน้า. 
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2535. เทคโนโลยีการระเหยน้ำ. ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะ  อุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 
สมบัติ ขอทวีวัฒนา. 2535. การพัฒนากรรมวิธีการผลิตผลิตภัณฑ์อาหารเหลว. ภาควิชาพัฒนา  ผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ 
Fellows, P. 1993. Food processing technology: Principles and practice. Ellis Horwood, New  York. 
Lopez-Gomez, A. and Barbosa-Canovas, G.V. 2005. Food Plant Design (Food Science and Technology), 1st Ed. CRC Press, Taylor and Francis Group. 416 p. 
Sule, D.R. 1994. Manufacturing Facilities : Location, Planning and Design. 2nd ed. P.W.S Publishing Company. 
www.mcat.ac.th/webnuke/E-Lerning/unit9/Story2.doc: เรื่องที่ 2 มาตรฐานโรงงานอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร.
เอกสารประกอบการสอน วารสารอาหาร, วารสารอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง Journal of Food Science, Journal of Food Technology
ไม่มี
1.1 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา 
1.2 ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน 
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา 
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ ทางเทคโนโลยีเนื้อสัตว์ในชั้นเรียน 
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน 
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน 
3.4 การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางวิศวกรรมอาหารจากวิทยากรภายนอกตามโอกาส 
3.5 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้ 
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร 
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้ 
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา 
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ