การฝึกงานทางวิชาชีพ

Job Internship

เพื่อให้นักศึกษาได้ใช้ความรู้ทางด้านการบัญชีและอื่น ๆ ที่ได้ศึกษามาในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้การทำงานด้านการบัญชีและอื่น ๆ รวมทั้งการแก้ไขปัญหาในการทำงาน เพื่อให้นักศึกษาฝึกการปรับตัวให้เข้ากับวัฒนธรรมองค์กร และมีวินัยในการปฏิบัติตนตามข้อบังคับการปฏิบัติงานในฐานะพนักงานของสถานประกอบการจริง เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจและมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพบัญชี
เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยง และนักศึกษาเข้าใจถึงจุดมุงหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริง และมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน เพื่อให้อาจารย์นิเทศ พนักงานพี่เลี้ยง และนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการติดตามและประเมินผลกระบวนการการฝึกงานทางวิชาชีพอย่างเหมาะสมและเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนารายวิชา
เน้นการปฏิบัติงานด้านบัญชีต่าง ๆ เช่น นิติบุคคลภายในประเทศที่ประกอบธุรกิจด้านวิชชีพ องค์การระหว่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐ นักศึกษาจะเข้าฝึกปฏิบัติงานเต็มเวลาในหน่วยงานนั้น ดดยมีพนักงานที่ปรึกษาที่องค์กรมอบหมายให้ทำหน้าที่ดูแลรับผิดชอบการปฏิบัติงานนักศึกษามีการกำหนดลักษณะงานแผนการปฏิบัติงานให้นักศึกษาเพื่อประเมินผลการศึกษา
มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ   มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีวินัยในตนเอง  และสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กรที่เข้ารับการฝึกงานได้   สามารถปรับตัวให้เข้ากับงานที่ได้รับมอบหมาย และผู้ร่วมงาน มีจิตสำนึก และปฏิบัติตนเองที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1)   การจัดทำแผนปฏิบัติงาน โดยการกำหนดภาระงาน ขอบเขตของงาน ตารางเวลาปฏิบัติงาน และการบันทึกเวลา
       ปฏิบัติงาน
2)  จัดทำคู่มือการฝึกงานวิชาชีพเพื่อให้นักศึกษาใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติ
3)  จัดปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ (วัตถุประสงค์ จุดมั่กษงหมายใน 
     การพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของนักวิชาชีพบัญชี และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)

มีการประสานงานการควบคุมการฝึกงานวิชาชีพระหว่างผู้รับผิดชอบรายวิชา อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยงซึ่งแต่งตั้งโดยสถานประกอบการ จัดให้มีอาจารย์นิเทศก์ประจำตัวนักศึกษา
1)  การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศก์ และพี่เลี้ยง
2)  การประเมินตนเองโดยนักศึกษา ในด้านทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านคุณธรรมจริยธรรม
1)  มีความรู้และเข้าใจในหลักการ และวิธีการบัญชี
2)  สามารถบูรณาการความรู้ด้านการบัญชีและด้านอื่น ในการปฏิบัติงาน
3) ได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติทางบัญชี จากงานที่ได้รับมอบหมาย
ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุงหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริง และมาตรฐานผลการ  

    เรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
2) ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมาย ของการพัฒนาความรู้ และทักษะวิชาชีพ
1)  การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยง
2)  การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
สามารถแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการปฏิบัติงานได้ด้วยตนเอง โดยใช้ความรู้ทางด้านบัญชี และอื่นๆ รวมทั้งการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง  สามารถรวบรวมองค์ความรู้ที่ได้จากการฝึกงานทางวิชาชีพ และจัดทำเป็นรายงาน
มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ ให้นักศึกษาจัดทำบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน โดยมีรายละเอียดดังนี้ งานที่ได้รับมอบหมาย ปัญหาที่เกิดจากการทำงานและแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหา
1)  การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยง
2)  การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี  สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น  และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี    สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
1)  จัดปฐมนิเทศนักศึกษา เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับการฝึกงานวิชาชีพ (วัตถุประสงค์ จุดมุ่งหมายใน 
     การพัฒนาคุณลักษณะที่ดีของนักวิชาชีพบัญชี และอื่นๆที่เกี่ยวข้อง)
2 ทำความเข้าใจกับสถานประกอบการถึงจุดมุงหมายของการฝึกงานทางวิชาชีพจริง และมาตรฐานผลการ  
    เรียนรู้ที่คาดหวังอย่างชัดเจน
3) ประสานงานกับสถานประกอบการในการมอบหมายงานและความรับผิดชอบให้กับนักศึกษาให้ตรงกับจุดมุ่งหมายของการพัฒนาทักษะ มนุษย์สัมพันธ์ การทำงานร่วมกับผู้อื่น
1)  การประเมินการปฏิบัติงานของนักศึกษาโดย อาจารย์นิเทศ และพี่เลี้ยง
2)  การประเมินตนเองโดยนักศึกษาด้าน ทัศนคติต่อวิชาชีพ การพัฒนาตนเองด้านความรู้
มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา  หรือข้อโต้แย้ง สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสารสนเทศ
มอบหมายให้นักศึกษาจัดทำรายงาน สรุปองค์ความรู้เกี่ยวกับการปฏิบัติงานทางวิชาชีพ ซึ่งได้รับจากการฝึกงานทางวิชาชีพ ให้มีการนำเสนอรายงานด้วยวาจาโดยมีการใช้เทคโนโลยีและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสม
คุณภาพของรายงาน และการนำเสนอ ประเมินโดยอาจารย์
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. ด้านคุณธรรม จริยธรรม 2..ด้านการเรียนรู้ 3.ด้านทักษะทางปัญญา 4. ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ด้านการวิเคราะห์ ตัวเลขการสื่อสาร และเทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 BACAC137 การฝึกงานทางวิชาชีพ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
      
กระบวนการประเมินการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้องต่อไปนี้
 ๑.๑  นักศึกษา
            นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพ โดยการตอบแบบสอบถามการฝึกงานวิชาชีพ
 ๑.๒  พนักงานที่ปรึกษาหรือผู้ประกอบการ
            มีส่วนร่วมในการประเมินการฝึกงานวิชาชีพในเรื่องต่อไปนี้  ความเหมาะสมของระยะเวลาในการ 
           ฝึกงาน  คุณลักษณะที่เหมาะสมของนักศึกษาจากการฝึกงานในสถานประกอบการ
 ๑.๓  อาจารย์ที่ดูแลกิจกรรมภาคสนาม
           ประเมินการฝึกงานวิชาชีพ โดยใช้ผลการประเมินที่ได้รับจากพนักงานที่ปรึกษาและอาจารย์นิเทศก์
 ๑.๔  อื่น ๆ เช่น บัณฑิตจบใหม่
          ประเมินการฝึกงานวิชาชีพ โดยใช้แบบสอบถามจากบัณฑิตว่าได้ใช้ประสบการณ์จากการฝึกงาน
         วิชาชีพให้เป็นประโยชน์ในการทำงานจริงมากน้อยเพียงใด
            อาจารย์นิเทศก์  อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกงานวิชาชีพ ประมวลผลการฝึกงานวิชาชีพ จากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา  พนักงานพี่เลี้ยง จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอรองคณบดีฝ่ายวิชาการ