ฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร

Physics for Food

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟิสิกส์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร มวล ปริมาตร อุณหภูมิ ความร้อน ความดัน การประยุกต์หลักวิชาฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร โครงงานทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟิสิกส์ที่สัมพันธ์กับงานอาหารอย่างครบถ้วน กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร มวล ปริมาตร อุณหภูมิ ความร้อน ความดัน การประยุกต์หลักวิชาฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร โครงงานทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหารที่เน้นการแก้ปัญหาจริงในงานอาหาร และเรียนรู้ผ่านการทำกิจกรรมในชั้นเรียน
(ภาษาไทย) ศึกษาและฝึกปฏิบัติความรู้ทั่วไปเกี่ยวกับฟิสิกส์ กระบวนการทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร มวล ปริมาตร อุณหภูมิ ความร้อน ความดัน การประยุกต์หลักวิชาฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร โครงงานทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร
(ภาษาอังกฤษ) Study and Practice of general knowledge of physics; scientific process for food; mass; volume; temperature; heating; pressure; application of physic for food; scientific project for food
5 ชั่วโมง/สัปดาห์
มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม (˜ ความรับผิดชอบหลัก) เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (š ความรับผิดชอบรอง)
กำหนดวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม เป็นกฎกติกาการเข้าชั้นเรียน การพัก และการออกจากชั้นเรียน ที่ตกลงร่วมกันในสัปดาห์แรกของการเรียน กำหนดกติกาให้ผู้เรียนและผู้สอนทำกิจกรรมการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง เว้นแต่ให้มีการพัก เป็นการเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
(1) เช็คชื่อการเข้าชั้นเรียนทุกครั้งก่อนดำเนินการสอน ส่งงานตรงเวลา/ก่อนเริ่มเรียนในชั่วโมงเรียนเสมอ เพื่อป้องกันการทำ/ลอกการบ้านระหว่างมีการเรียนการสอน
(2) แจ้งผู้เรียนว่าผู้สอนไม่อนุญาตให้ผู้เรียนเข้า/ออกชั้นเรียนตามอำเภอใจ เว้นแต่เหตุจำเป็น เพื่อรักษาสมาธิในการเรียนและการสอน และเคารพผู้อื่น ด้วยจัดให้มีช่วงเวลาพักระหว่างเรียนสั้นๆ 1 ครั้ง
มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ (˜ ความรับผิดชอบหลัก) สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (š ความรับผิดชอบรอง)
(1) บรรยาย พร้อมมีอุปกรณ์สาธิตเนื้อหา/เอกสารอ้างอิง ประกอบการสอนทุกครั้ง จัดให้มีการสอบทั้งข้อเขียน สัมภาษณ์ และการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย ให้ความสำคัญกับการตั้งคำถามของนักศึกษา โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
(2) แยกแยะให้ผู้เรียนเห็นความสัมพันธ์ของหลายศาสตร์ที่นำมาบูรณาการเพื่อการแก้ปัญหา/การอธิบายเนื้อหา อย่างสม่ำเสมอ มีกิจกรรมประยุกต์ฟิสิกส์สำหรับงานอาหารมาสร้างสิ่งประดิษฐ์อย่างง่าย (งานกลุ่ม ๆ ละ 2 คน) และมีกิจกรรมการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร (งานเดี่ยว)
(3) ปฏิบัติ มีปฏิบัติการทดลองที่เกี่ยวกับอาหารจำนวน 10 ชุด เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจทฤษฎีฟิสิกส์ได้ลึกซื้งผ่านการปฏิบัติ
(1) การสอบทั้งข้อเขียน สัมภาษณ์ และการนำเสนองานที่ได้รับมอบหมาย พร้อมใช้เทคนิค การแจ้งผลการสอบ/นำเสนอในเวลาอันรวดเร็ว เป็นการกระตุ้นนักศึกษาให้มีการปรับตัวเพื่อการพัฒนาความสามารถในการเรียนอย่างต่อเนื่อง
(2) ประเมินจากกิจกรรมประยุกต์ฟิสิกส์สำหรับงานอาหารมาสร้างสิ่งประดิษฐ์อย่างง่าย (งานกลุ่ม ๆ ละ 2 คน) และมีกิจกรรมการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร (งานเดี่ยว)
(3) ประเมินจากภาคปฏิบัติการทดลอง จำนวน 10 ชุด
(1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ (˜ ความรับผิดชอบหลัก)
(1) มอบกิจกรรมประยุกต์ฟิสิกส์สำหรับงานอาหารมาสร้างสิ่งประดิษฐ์อย่างง่าย (งานกลุ่ม ๆ ละ 2 คน หรือตามความเหมาะสม)
(2) กิจกรรมการศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร (งานเดี่ยว)
(3) ภาคบรรยาย
(4) ภาคปฏิบัติ
(1) พิจารณาจากผลการสอบข้อเขียน (ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ)
(2) กิจกรรมประยุกต์ฟิสิกส์สำหรับงานอาหารมาสร้างสิ่งประดิษฐ์อย่างง่าย และกิจกรรม
(3) การศึกษาเชิงลึกเกี่ยวกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร
(1) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (˜ ความรับผิดชอบหลัก)
(2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ (š ความรับผิดชอบรอง)
(1) ชี้แจงการทำงานเป็นทีมในกิจกรรมกลุ่ม เช่น STEM Education
(2) เน้นให้ผู้เรียน (รวมถึงผู้สอน) ยอมรับฟังความเห็นของผู้อื่น และปฏิบัติตามกิจกรรมใดๆ ที่กำหนดร่วมกันเพื่อฝึกฝนการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดี
(1) การให้คะแนนการทำงานเป็นทีม ที่สอดคล้องกับผลของงาน
(2) การให้คะแนนการนำเสนอผลงาน ที่เห็นผู้นำและตามอย่างชัดเจน
(1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ (š ความรับผิดชอบรอง)
(1) การพล๊อตกราฟด้วยมือ และการพล๊อตกราฟด้วยโปรแกรม Exel ในการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อดูค่าแนวโน้ม การสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต การนำเสนอผลงานด้วย Power Point
(1) ดูผลการปฏิบัติและผลของการพล๊อตกราฟด้วยมือ ผลการพล๊อตกราฟด้วยโปรแกรม Exel ผลการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต ผลการนำเสนอผลงานด้วย Power Point
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. มีวินัย ตรงต่อเวลา ขยัน และความรับผิดชอบต่อตนเอง วิชาชีพและสังคม (˜ ความรับผิดชอบหลัก) 2. เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (š ความรับผิดชอบรอง) 1. มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฎีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ (˜ ความรับผิดชอบหลัก) 2. สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง (š ความรับผิดชอบรอง) (1) มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งด้านวิชาการหรือวิชาชีพ (˜ ความรับผิดชอบหลัก) (1) สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม (˜ ความรับผิดชอบหลัก) (2) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ (š ความรับผิดชอบรอง) (1) มีทักษะในการใช้เครื่องมือหรือโปรแกรมที่มีอยู่ในปัจจุบันต่อการทำงานที่เกี่ยวกับธุรกิจอาหารและโภชนาการ ( ความรับผิดชอบรอง)
1 BSCFN102 ฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 Lectures 1 ถึง 16 (ด้านความรู้ และด้านทักษะทางปัญญา) สอบข้อเขียน ครั้งที่ 1 ความรู้จากภาคทฤษฎี (10 %) สอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 ความรู้จากภาคทฤษฎี (10 %) สอบข้อเขียน ครั้งที่ 3 ความรู้จากภาคทฤษฎี (10 %) สอบข้อเขียน ครั้งที่ 4 ความรู้จากภาคทฤษฎีและปฏิบัติ (15 %) สัปดาห์ ที่ 9 : สอบข้อเขียน ครั้งที่ 2 สัปดาห์ ที่ 18 : สอบข้อเขียน ครั้งที่ 4 หมายเหตุ สอบย่อยๆ หรือกิจกรรมอื่นๆ อาจจัดขึ้นนอกตาราง 45 %
2 - ปฏิบัติการทดลองและเขียนรายงานการทดลอง (ด้านความรู้ และด้านทักษะทางปัญญา) - จิตพิสัย (ด้านคุณธรรม จริยธรรม) - การบ้าน (ส่วนหนึ่งของรายงาน) - คะแนนรายงานการทดลอง การเข้าเรียน และการตอบคำถามที่อยู่ท้ายการทดลอง - คะแนนการบ้านเพิ่มเติม ทุกสัปดาห์ 35 %
3 กิจกรรมการนำเสนองานค้นคว้าเชิงลึกเป็นรายงานเดี่ยว เขียนด้วยมือ และนำเสนอเป็น Power Point ที่เกี่ยวข้องกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร คนละ 5 นาที คะแนนการนำเสนอ และตอบข้อซักถามของเพื่อนๆ และอาจารย์ได้ สัปดาห์ที่ 17 10%
4 สร้างสิ่งประดิษฐ์เกี่ยวกับฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร เป็นสิ่งประดิษฐ์ รายงาน นำเสนอเป็น Power Point เป็นกิจกรรมกลุ่ม คะแนนสิ่งประดิษฐ์ และการตอบข้อซักถาม สัปดาห์ที่ 16 10 %
- เฉลา วงศ์แสง, เอกสารประกอบการสอน วิชาฟิสิกส์ 1 สำหรับวิศวกร
- เฉลา วงศ์แสง, เอกสารประกอบการสอน วิชาฟิสิกส์ 2 สำหรับวิศวกร
- เฉลา วงศ์แสง, เอกสารประกอบการสอน ปฏิบัติการทดลองฟิสิกส์สำหรับงานอาหาร
- บทความวิจัยด้านงานอาหาร
- รายการทีวีสารคดีด้านงานอาหาร
- รายการทีวีการแข่งขันด้านงานอาหาร
- ข้อมูลงานด้านอาหารจากสื่อ Youtube
- ข้อมูลงานด้านอาหารจากสาขาวิชาธุรกิจอาหารและโภชนาการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

รายงานโครงงานทางวิทยาศาสตร์สำหรับงานอาหาร ที่นักศึกษาจัดทำขึ้น ความสนใจและตั้งใจในการทำงาน ผลการเรียนของนักศึกษา แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ตามแผนการประเมินการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
2.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
2.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1. การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2. มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 5 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4

2. เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่เกิดขึ้นจริง