การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน

Internal Audit and Internal Control

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องการกำกับดูแลกิจการ แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประเภทของการตรวจสอบภายใน  วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
ศึกษาการกำกับดูแลกิจการ แนวคิดความหมาย วัตถุประสงค์และความสำคัญของการตรวจสอบภายใน มาตรฐานการปฏิบัติงานวิชาชีพตรวจสอบภายในหลักธรรมมาภิบาล บทบาทและหน้าที่ของคณะกรรมการตรวจสอบประเภทของการตรวจสอบภายใน  วัตถุประสงค์และองค์ประกอบของการควบคุมภายใน หลักและวิธีการควบคุมภายในตามแนวคิดของ COSO การจัดการความเสี่ยงขององค์กร (Enterprise Risk Management : ERM) เทคนิคและวิธีการตรวจสอบ การตรวจสอบเพื่อประเมินประสิทธิภาพการควบคุมภายใน โครงสร้างองค์กรและการบริหารงานตรวจสอบภายใน การวางแผนและวิธีการจัดทำแนวการตรวจสอบภายใน การตรวจสอบภายในวงจรต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น การเงิน บริหารสินค้าคงเหลือ บริหารทรัพยากรบุคคล การเสนอรายงานการตรวจสอบภายในและการติดตามผล หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ตรวจสอบภายในต่อการทุจริตในองค์กร
6 ชั่วโมง
1.1 มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.2 มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบัน และสังคม
1.3 สามารถบริหารเวลาและปรับวิถีชีวิตอย่างสร้างสรรค์ในสังคม
1.4 มีจิตสำนึก และพฤติกรรมที่คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตนอย่างมีคุณธรรม
1) สอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพในเนื้อหาวิชาเรียน
                       2) กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียน ได้แก่ ระเบียบปฏิบัติเกี่ยวกับการเรียน การเข้าชั้นเรียน การสอบ การทำงานที่ได้รับมอบหมาย การทำโจทย์ปัญหา และการแต่งกายตามระเบียบของมหาวิทยาลัยฯ
1) ประเมินจากการแสดงความเห็นในการถาม-ตอบในห้องเรียน
                       2) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
                3) ติดตามการปฏิบัติตามข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เช่น การมีจิตสาธารณะใช้วิธีการสังเกตจากการให้ความร่วมมือในการบริการอุปกรณ์การสอนแก่เพื่อน ๆ การช่วยรวบรวมงานจากเพื่อน ๆ เพื่อส่งอาจารย์ และให้คะแนน 10%
4) ประเมินผลจริยธรรมโดยใช้ Defined Issued Test (DIT Score) ที่พัฒนาสำหรับนักบัญชีโดย Rest (1976) และค่านิยมเชิงวิชาชีพที่พัฒนาโดย Schwartz (1995)
2.1 มีความรู้และความเข้าใจในแนวคิด ทฤษฎี หลักการ และวิธีการทางการบัญชี
2.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางด้านอื่นที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ด้านการบัญชี โดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม
2.3 มีความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการปฏิบัติงานด้านการบัญชีและอื่นๆ โดยใช้วิธีการเรียนรู้จากประสบการณ์
2.4 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงทางวิชาการ การวิจัย และวิชาชีพ ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง
1) บรรยาย ยกตัวอย่าง และถาม – ตอบในชั้นเรียน
                2) การฝึกหัดแก้ไขโจทย์ปัญหา
      3) การบูรณาการโดยการให้นักศึกษาศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาออกแบบการตรวจสอบภายใน ออกแบบกระดาษทำการ รวมถึงสรุปผลการจัดทำรายงานกลุ่มตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้
        1) การตอบคำถามในชั้นเรียน
                2) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
                            3) การทำงานกลุ่ม
                4) คุณภาพของการจัดทำและการนำเสนอรายงานกลุ่ม
3.1 สามารถสืบค้นข้อมูล ประมวลข้อมูล และแนวคิดต่างๆ เพื่อนำมาใช้ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาที่มีความซับซ้อนได้ด้วยตนเอง
3.2 สามารถประยุกต์และบูรณาการความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพและดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหารวมทั้งเสนอแนะแนวทางใหม่ในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผลได้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน
        1) ส่งเสริมการเรียนรู้ และฝึกกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบ จากระดับง่ายไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ตามระดับชั้นการศึกษา โดยใช้โจทย์แบบฝึกหัด โจทย์ปัญหา กรณีศึกษา หรือสถานการณ์จำลอง
                2) การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม – ตอบในชั้นเรียน ทั้งเดี่ยวและเป็นกลุ่ม
                3) การให้นักศึกษาสรุปความรู้
      4) การบูรณาการโดยการให้นักศึกษาศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาออกแบบการตรวจสอบภายใน ออกแบบกระดาษทำการ รวมถึงสรุปผลการจัดทำรายงานกลุ่มตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้
        1) การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
                2) คุณภาพของงานที่มอบหมายให้ทำ
  3) คุณภาพของการจัดทำและการนำเสนอรายงานกลุ่ม
4.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.3 มีความคิดริเริ่ม สร้างสรรค์ สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมงาน
4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1) มอบหมายการทำงานแบบกลุ่มย่อยโดยมีการสลับหมุนเวียนการเป็นผู้นำ การเป็นสมาชิกกลุ่มและผลัด กันเป็นผู้รายงาน
                2) มอบหมายงานที่เกี่ยวข้องกับความรู้ด้านวิชาชีพบัญชีโดยให้มีการอภิปรายแสดงความคิดเห็น
                3) ให้ศึกษาการแก้ปัญหาจากรณีศึกษาต่างๆ
                4) การบูรณาการโดยการให้นักศึกษาศึกษาดูงานจากสถานประกอบการจริง (โรงเรียนสวนองุ่น) และนำความรู้ที่ได้จากการศึกษาดูงานมาออกแบบการตรวจสอบภายใน ออกแบบกระดาษทำการ รวมถึงสรุปผลการจัดทำรายงานกลุ่มตามหัวข้อที่อาจารย์กำหนดให้
        1) ประเมินจากงานที่มอบหมาย
                2) ประเมินการเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีจากแบบประเมินตนเองและเพื่อนในกลุ่ม ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
                3) สังเกตพฤติกรรมในชั้นเรียน
                4) คุณภาพของการจัดทำและการนำเสนอรายงานกลุ่ม
5.1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อการตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมาย และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
5.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบ  การนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
1) มอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะในการวิเคราะห์
                2) มอบหมายงานที่ต้องมีการสืบค้นข้อมูลสารสนเทศจากฐานข้อมูล
                3) ให้นักศึกษาทำสื่อประกอบการรายงานและนำเสนอหน้าชั้นเรียนโดยรูปแบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์
        1) ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมายและนำเสนอผลงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม
                2) ประเมินจากการสอบกลางภาค สอบปลายภาค
                3) ประเมินทักษะการใช้ภาษาพูดในการนำเสนองานและการใช้ภาษาเขียนจากงานที่มอบหมายเป็นรายบุคคลหรือกลุ่ม
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 4 1 2 3
1 11013301 การตรวจสอบภายในและการควบคุมภายใน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 8 17 25% 30%
2 1,2,3,4,5 กรณีศึกษา ทุกสัปดาห์ 10%
3 12,3,4,5 รายงานกลุ่ม 15-16 30%
4 1,2,3,4,5 การนำเสนอหน้าชั้นเรียน 15-16 5%
หนังสือ”การตรวจสอบภายในสมัยใหม่” ของอุษณา ภัทรมนตรี หนังสือบรรณานุกรมท้ายเล่ม
2.1 บทความในวารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการฯลฯ
        2.2 VDO Clip และ ภาพยนตร์ ที่เกี่ยวข้องการตรวจสอบและการควบคุมภายใน การกำกับดูแลกิจการฯลฯ
ข้อมูลจากตลาดหลักทรัพย์
   ใช้การทดสอบปฏิบัติ  ในแต่ละบท
   ใช้แบบประเมินประสิทธิภาพการสอนของมหาวิทยาลัยในระบบออนไลน์
เน้นให้นักศึกษาเข้าใจถึงหลักการตรวจสอบภายในและการควบคุมภายในโดยให้นักศึกษาได้เรียนรู้จากกระบวนทำงานจริงของสำนักงานสาขาการบัญชี หรือหน่วยงานอื่นที่มีระบบการควบคุมภายใน
ให้กรรมการกำกับมาตรฐานวิชาการ เป็นผู้ประเมินโดยพิจารณาจากข้อสอบ และ การตัดเกรด
          นำผลการประเมินมาประกอบการพิจารณาข้อบกพร่องของวิธีการสอน วิธีการประเมิน และเนื้อหารายวิชา