ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร

Thai for Communication

1. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจกระบวนการสื่อสาร
2. เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจภาษาไทยในการสื่อสาร
3. สามารถใช้ภาษาไทยเป็นเครื่องมือในการสื่อสาร และประยุกต์ใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมการใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร
5. ส่งเสริมให้เห็นคุณค่าภาษาไทยในฐานะเป็นเอกลักษณ์ของชาติ
1. พัฒนาพื้นฐานการใช้ภาษาไทยในการสื่อสารของนักศึกษา
2. พัฒนาทักษะการใช้ภาษาไทยเพื่อเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพ
3. มุ่งเน้นให้นักศึกษาใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารอย่างมีคุณธรรมจริยธรรม
ศึกษาเกี่ยวกับหลักและทฤษฎีการสื่อสาร ลักษณะภาษาไทยที่ใช้ใน กระบวนการสื่อสาร พัฒนาทักษะการคิด การฟัง การพูด การอ่าน และการเขียน มีศิลปะ คุณธรรม และจริยธรรมในการสื่อสาร สามารถประยุกต์ใช้ภาษาในวิชาชีพอย่างมีประสิทธิภาพ
 
จัดให้นักศึกษาพบอาจารย์ เพื่อขอคำปรึกษา และแนะนำสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง และแจ้งให้นักศึกษาทราบในชั่วโมงแรกของการสอน
 
š1.1 มีจิตสำนึกสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
š1.2 มีจรรยาบรรณทางวิชาการหรือวิชาชีพ
˜1.3 มีวินัย ขยัน อดทน ตรงต่อเวลาและความรับผิดชอบต่อตนเอง สังคมและสิ่งแวดล้อม
š1.4 เคารพสิทธิในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
 
1. กำหนดหลักเกณฑ์การเข้าห้องเรียน เช่น การเข้าห้องเรียน การตรงต่อเวลาการแต่งกาย การใช้อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าในห้องเรียน
2.ให้มีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมาย และมีความซื่อสัตย์ในงานที่มอบหมาย และการสอบ
1. พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
2. สังเกตจากการทำงานกลุ่ม
3. ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย
4. ไม่มีการทุจริตในการสอบ
˜2.1 มีความรู้และความเข้าใจทั้งด้านทฤษฏีและหลักการปฏิบัติในเนื้อหาที่ศึกษา
š2.2 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการของสาขาวิชาที่ศึกษา
š2.3 สามารถบูรณาการความรู้ที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
 
1. บรรยายกับอภิปราย ใช้หลักการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ เช่น การเรียนรู้จากประสบการณ์จริง การใช้โครงงานในการสอน เป็นต้น
2. การทำงานกลุ่ม
3. นำเสนองาน
1. การ สอบกลางภาค สอบปลายภาค
2. การตรวจงานที่มอบหมาย
3. ประเมินจากการมีส่วนร่วมใจชั้นเรียน
˜3.1 มีทักษะปฏิบัติจากการประยุกต์ความรู้ทั้งทางด้านวิชาการหรือวิชาชีพ
š3.2 มีทักษะในการนำความรู้มาคิดและใช้อย่างมีระบบ
 
1. การมอบหมายงานโดยการไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติม
2. การมอบหมายงาน ที่เน้นทักษะการฟัง การอ่าน การเขียนและการพูด
 
1. สอบกลางภาคและปลายภาค
2.จากการตรวจงานที่มอบหมายให้ทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม
š4.1 มีมนุษยสัมพันธ์และมารยาทสังคมที่ดี
š4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามได้อย่างมีประสิทธิภาพ
š4.3 สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม
š4.4 สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
 
1.การมอบหมายงาน โดยเน้นที่การแบ่งงาน การมีส่วนร่วมในงานกลุ่ม
1. สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นกลุ่ม
2. สังเกตจากการตรวจงานที่มอบหมาย
š5.1 สามารถเลือกใช้วิธีการและเครื่องมือสื่อสารที่เหมาะสม
š5.2 สามารถสืบค้น ศึกษา วิเคราะห์ และประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อแก้ไขปัญหาอย่าง
เหมาะสม
˜5.3 สามารถใช้ภาษาไทยหรือต่างประเทศในการสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1. มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมด้วยตนเอง จากเว็บไซต์หรือสื่อการสอนอื่นๆ
2. นำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เทคโนโลยีสมัยใหม่
3.นำเสนองานที่เน้นทักษะการเขียนและการพูด
1. ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
2. ประเมินผลจากการนำเสนองาน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.3 การเข้าชั้นเรียน การส่งรายงานตรงเวลา ทุกสัปดาห์ 10%
2 2.1,3.1 การสอบกลางภาค 9 30 %
3 3.1,5.3 การนำเสนองาน/การรายงาน 3,4,6,8,11,12,13,15,16 30 %
4 2.1,3.1 การสอบปลายภาค 17 30 %
เอกสารประกอบการสอน วิชา ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
 
นภาลัย สุวรรณธาดาและอดุล จันทรศักดิ์. 2554. เทคนิคการเขียนหนังสือราชการ หนังสือโต้ตอบและรายงานการประชุม. ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ภาพพิมพ์. วรวรรธน์ ศรียาภัย. 2555. การเขียนเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วิเศษ ชาญประโคน. 2550. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น. โสภณ สาทรสัมฤทธิ์ผล. 2555. ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร. กรุงเทพฯ : ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
 
 
หนังสือประเภทต่าง ๆ เพื่อฝึกทักษะการอ่านให้นิสัยรักการอ่าน
ให้นักศึกษาประเมินประสิทธิผลของรายวิชา ได้แก่ วิธีการสอน สิ่งสนับสนุนการเรียนการสอน ซึ่งมี ผลกระทบต่อการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ที่ได้รับ พร้อมข้อเสนอแนะเพื่อการปรับปรุง โดยผ่านกิจกรรมดังนี้
1) การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนกับผู้เรียน
2) ให้นักศึกษาประเมินพัฒนาการของตนเองโดยเปรียบเทียบความรู้ ทักษะในการประมวล/คิด
วิเคราะห์ก่อนและหลังการเรียนรายวิชานี้
3) แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
 
อาจารย์ผู้สอนประเมินการสอนของตนเอง ดูผลการเรียนของนักศึกษา และทำรายงานสรุป พัฒนาการของนักศึกษาปัญหา อุปสรรค และแนวทางแก้ไขหรือการเปลี่ยนแปลง/ปรับปรุงรายวิชา
1) ให้อาจารย์ผู้สอนทบทวนและปรับปรุงกลยุทธ์และวิธีการสอนจากผลการประเมินประสิทธิภาพ ของรายวิชา ปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชาให้ทันสมัย แล้วจัดทำรายงานเมื่อสอนจบภาคเรียน
หมายเหตุ ได้เพิ่มเติมในเรื่องของการค้นคว้าหรือนำเสนองานผ่านทางสื่อออนไลน์และสามารถติดต่อสอบถามผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเพิ่มช่องทางในการให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะในการเรียนการสอน
2) กำหนดให้อาจารย์ผู้สอนเข้ารับการฝึกอบรมกลยุทธ์การสอน หรือการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียน การสอน
3) สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อร่วมกันหาแนวทาง หรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนา
รายวิชา
4) การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชาตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบ ข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการทบทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา (ข้อ 4) กลุ่มอาจารย์ผู้สอน ทบทวนเนื้อหาและกลยุทธ์การสอน แล้วนำเสนอแนวทางปรับปรุงและพัฒนารายวิชา เพื่อเสนอต่อที่ประชุม