ระบบสารสนเทศทางการตลาด

Marketing Information System

1. เพื่อให้ผู้เรียนมีความเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญของระบบสารสนเทศทางการตลาด
2. เพื่อให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับข้อมูลเพื่อการบริหารและตัดสินใจทางการตลาด
3. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ และนำความรู้ไปประยุกต์ใช้กับกลยุทธ์การตลาดได้
1. เพื่อเพิ่มทักษะพื้นฐานแก่นักศึกษาด้านการเรียนรู้และการวางแผนการใช้สารสนเทศทางการตลาดประกอบการตัดสินใจ 
2. เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีบทบาทและหน้าที่ของระบบสารสนเทศภายในองค์การในปัจจุบัน
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในการกำหนดกลยุทธ์ทางการตลาดได้
แนวคิด บทบาท และความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศ และระบบสารสนเทศทางการตลาด      การจัดการระบบสารสนเทศทางการตลาดและการประยุกต์ใช้เพื่อการตัดสินใจทางการตลาด
-   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์      (เฉพาะรายที่ต้องการ) หรือมากกว่านั้น
มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน
1.1.1 บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม
                      ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้ง การบัญชี  นิติศาสตร์  ศิลปศาสตร์  และวิทยาศาสตร์
จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือรายงาน  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินจากสอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
ประเมินจากงานที่มอบหมาย และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ ๆ
วิเคราะห์กรณีศึกษา  เกี่ยวกับการตลาดและการตัดสินใจ
ประเมินจากกรณีศึกษา
มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
มอบหมายงานรายกลุ่ม
ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ 
สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
จากรายงานและการนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
      Kenneth c. Laudon and Jane P. Laudon, Management Information Systems. 12th ed. England: Pearson Education.2012.
นิตยสารออนไลน์ต่าง ๆ  เช่น Positioningmagazine.com , Brand Buffet, Marketing Oop เป็นต้น
      บทความหรืองานวิจัยต่าง ๆ ทางการตลาด และ เว็บไซด์ทางธุรกิจ 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
4.2  การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1  ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2  เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการตลาดให้มีความหลากหลายมากขึ้น