อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์

Electronic Circuits and Devices

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรแหล่งจ่ายไฟ การให้ไบอัส BJT และ FET วงจรสมมูลของ BJT และ FET วงจรขยายสัญญาณภาคเดียว วงจรขยายสัญญาณหลายภาค วงจรป้อนกลับและวงจรขยายกำลัง
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกียวกับ อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และการออกแบบวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อนำไปพัฒนา ประยุกต์ใช้งาน และการประกอบอาชีพในอนาคต ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มด้านเทคโนโลยี และวัตรกรรมที่ได้มีความก้าวหน้าไปตามยุคสมัย
ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับวงจรแหล่งจ่ายไฟตรง เทคนิคการให้ไบอัส BJT และ FET วงจรสมมูลของ BJT และ FET วงจรขยายสัญญาณภาคเดียว วงจรขยายสัญญาณหลายภาคและการเชื่อมต่อ วงจรป้อนกลับ และวงจรขยายกำลัง 
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)  แก้ไข
 
 1.1.1 มีวินัย ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม   1.1.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมและสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งและลำดับความสำคัญ 
1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างกรณีศึกษา ให้นักศึกษาเห็นความสำคัญของรายวิชาเพื่อการประยุกต์ใช้กับงานด้านวิศวกรรมศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง  1.2.2 มอบหมายงานกลุ่มและรายบุคคล
1.3.1 พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้ทันและตรงเวลา  1.3.2 ประเมินผลจากคุณภาพของงานที่ได้รับมอบหมาย
2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับวงจรแหล่งจ่ายไฟตรงชนิดต่างๆ การให้ไบอัสทรานซิสเตอร์และวงจรขยายสัญญาณด้วยทรานซิสเตอร์  2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการวิเคราะห์ทรานซิสเตอร์ด้วยระบบพารามิเตอร์ วงจรขยายสัญญาณภาคเดียว วงจรขยายสัญญาณหลายภาค การตอบสนองความถี่ของการเชื่อมต่อ และวงจรขยายกำลัง  2.1.3 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการประยุกต์ใช้วงจรอิเล็กทรอนิกส์ ในงานวิศวกรรมได้
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา กำหนดโจทย์การบ้าน
2.3.1 สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการทางทฤษฏี และสอบภาคปฏิบัติ  2.3.2 การทำรายงาน และการบ้าน  แก้ไข
 
3.1.1 สามารถคิด วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาด้านวิศวกรรมได้อย่างมีระบบ รวมถึงการใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ  3.1.2 สามารถสืบค้นข้อมูลและแสวงหาความรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเอง เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต และทันต่อการเปลี่ยนแปลงทางองค์ความรู้และเทคโนโลยีใหม่ ๆ  แก้ไข
 
บรรยาย การอภิปรายกลุ่ม การวิเคราะห์กรณีศึกษา กำหนดโจทย์การบ้าน
ประเมินจาก การพัฒนาการเรียน การตอบคำถามและการแก้ปัญหาโจทย์ในห้องเรียน
4.1 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ ที่ต้องพัฒนา 
4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน  4.1.2 พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นกลุ่ม  4.1.3 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา  แก้ไข
 
4.2.1 จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา  4.2.2 มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล เช่น การค้นคว้าความก้าวล้ำของเทคโนโลยี การนำตัวอย่างการใช้เทคโนโลยีในการเรียนการสอน หรือ อ่านบทความที่เกี่ยวข้องกับรายวิชา  4.2.3 การนำเสนอรายงาน  แก้ไข
 
4.3.1 ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด  4.3.2 ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม  4.3.3 ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
5.1 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ที่ต้องพัฒนา 
5.1.1 ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข  5.1.2 พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา  5.1.3 พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต  5.1.4 ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม 
5.2.1 มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning  5.2.2 นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
5.3.1 ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี  5.3.2 ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย 
การเรียนการสอนเน้นความสำคัญไปที่การสร้างทักษะการปฏิบัติงานทางด้านวิศวกรรมศาสตร์  6.1.1 พัฒนาทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ  6.1.2 สามารถนำองค์ความรู้ ไปปฏิบัติงาน และแก้ปัญหางานจริงได้
จัดกิจกรรมเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆให้นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติจริง โดยใช้ความรู้จากวิชาต่างๆเพื่อนำมาวิเคราะห์แก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการพัฒนาการเรียนรู้ด้านทักษะพิสัย
6.1.1 ประเมินพฤติกรรมจากการปฏิบัติงาน  6.1.2 ประเมินผลจากการทำงานในภาคปฏิบัติ 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.2 2.1 2.2 3.1 3.3 3.5 4.4 5.1 5.2 5.5 6.1 6.2
1 ENGEL108 อุปกรณ์และวงจรอิเล็กทรอนิกส์
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรม จริยธรรม บันทึกการเข้าเรียนและโดยการสังเกต ทุกครั้ง 10%
2 ความรู้ ตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และผลคะแนนแต่ละครั้งจากใบงาน 1 – 7 9 - 15 30%
3 ทักษะทางปัญญา ตรวจสอบการพัฒนาของการปฏิบัติงานและผลคะแนนจากใบงาน 1 – 7 9 - 15 30%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างตัวบุคคลและความรับผิดชอบ สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม 1 – 7 9 - 15 20%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ ประเมินจากความสามารถในการเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ การอภิปราย ในการปฏิบัติงาน 1 – 7 9 - 15 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชา 32-122-212 วงจรอิเล็กทรอนิกส์ 1
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้  1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน  1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้  2.1 ผลการเรียนของนักศึกษา  2.2 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้  3.1 สัมมนาการจัดการเรียนการสอน  3.2 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้  4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร  4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
5. การดำเนินการทบทวนและวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา  จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้  5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 2 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4  5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ