เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ

Pre Co-operative Edudation in Business Admini

1)  มีความรู้และความเข้าใจในคุณค่าแห่งวิชาชีพ จรรยาบรรณวิชาชีพ มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
2)  มีความซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย เคารพและสามารถปฏิบัติตามกฎระเบียบของสถาบันและสังคม
3)  สามารถติดตาม ประเมินผลสรุปประเด็น
4)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
5)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
การปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงาน เป็นการเสริมทักษะและประสบการณ์ให้นักศึกษามีความพร้อมสำหรับการทำงานทั้งในระหว่างที่ศึกษาและหลังสำเร็จการศึกษา โดยนักศึกษาจะได้นำความรู้จากภาคทฤษฎีไปสู่การฝึกการปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด ความรู้และประสบการณ์ที่ได้จะช่วยให้นักศึกษาเห็นภาพที่แท้จริงในการทำงาน ซึ่งจะช่วยให้นักศึกษาทราบความต้องการในการทำงานที่แท้จริงทั้งของตนเองและหน่วยงาน/สถานประกอบการ
การปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานจะทำให้นักศึกษาตระหนักถึงภาระหน้าที่รับผิดชอบต่อตนเอง หลักสูตรสาขาวิชา มหาวิทยาลัย และหน่วยงาน /สถานประกอบการ และเป็นการเพิ่มทักษะ ความรู้ที่จำเป็นก่อนการทำงานจริง การฝึกระเบียบวินัย ความตรงต่อเวลา ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ความสามารถในการปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ และปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมองค์กรของหน่วยงาน/สถานประกอบการได้
นักศึกษาปฏิบัติสหกิจศึกษาหรือฝึกงานที่ดีจะต้องศึกษาข้อมูล กฎ ระเบียบของหน่วยงาน/สถานประกอบการ ก่อนเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ และปฏิบัติตาม กฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และข้อควรปฏิบัติอย่างเคร่งครัด มีสติและมีความรอบคอบ มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ตรงต่อเวลา ปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายให้ดีที่สุด รักษาชื่อเสียงและเกียรติภูมิของตนเอง หลักสูตรสาขาวิชา คณะและมหาวิทยาลัย
ปรับปรุงหลักสูตรบัญชีให้มีมาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) และสภาวิชาชีพบัญชี และมีความสอดคล้องกับความต้องการของธุรกิจและการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจและสังคม เสริมสร้างความรู้และทักษะวิชาชีพของนักศึกษาและบัณฑิตอย่างต่อเนื่อง
ศึกษาและฝึกทักษะการปฏิบัติเพื่อเตรียมความพร้อมก่อนไปปฏิบัติสหกิจสึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ โดยมุ่งเน้นฝึกทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับสหกิจศึกษาหรือการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ ทักษะด้านการสื่อสาร ทักษะในการทำงานเป็นทีม การปรับตัวเข้ากับสังคมการทำงาน ด้านบุคลิกภาพและมารยาท ด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณในวิชาชีพ
อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาและการให้คำปรึกษาผ่านแอ๊ปพลิเคชั่นไลน์
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มอย่างน้อย1 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ
การพัฒนาผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่มุ่งหวัง ต้องสอดคล้องกับที่ระบุไว้ในรายละเอียดของหลักสูตร (มคอ.2) มาตรฐานผลการเรียนรู้ แต่ละด้านจะแสดงข้อมูลเกี่ยวกับความรู้หรือทักษะมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ต้องการจะพัฒนาจากประสบการณ์ที่ได้จากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาในสถานประกอบการ กระบวนการหรือกิจกรรมต่างๆ ที่จะต้องพัฒนาความรู้หรือทักษะและวิธีการที่จะใช้ในการประเมินผลการเรียนรู้ในมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละด้านที่เกี่ยวข้องดังนี้
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรม รวมทั้งจรรยาบรรณวิชาชีพในการใช้ความรู้และทักษะทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจในการปฏิบัติหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายอย่างระมัดระวัง โดยคำนึงถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำงานของตนต่อองค์กร การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาเตรียมสหกิจศึกษาด้านคุณธรรมจริยธรรมมีดังนี้
1)  มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
2)  มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม
3)  มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ ความมีเหตุผลและสร้างภูมิคุ้มกัน
4)  มีเคารพต่อกฎ ระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม
5)  มีจิตสำนึกและมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดีและความชั่ว
1)  ปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย และความรับผิดชอบโดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาและการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
2)  ส่งเสริมการทำงานเป็นกลุ่มโดยให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิก
3)  กำหนดเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลา การส่งงาน การแต่งกายตามระเบียบ
1)  ประเมินจากพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการเรียนการสอน
2)  ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายหรือผลสรุปการร่วมแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม
3)  ประเมินจากการให้คะแนนการเข้าห้องเรียนและการส่งงานตรงเวลา
นักศึกษาต้องสามารถบูรณาการความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ทางวิชาชีพ และด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ มีองค์ความรู้ใหม่โดยเรียนรู้จากทำงานในสถานประกอบการ การพัฒนผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านความรู้ มีดังนี้
1)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์
2)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ ทางการตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดการองค์การและทรัพยากรมนุษย์
3)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งปรับปรุงแผนงาน
4)  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
 
1)  การบรรยายและอภิปราย
2)  การค้นคว้าและทำรายงานทั้งเดี่ยวและกลุ่มตามหัวข้อที่เป็นปัจจุบันและผู้เรียนมีความสนใจ
3)  การอภิปรายเป็นกลุ่มโดยนำเนื้อหาที่เรียนมาประสมประสานกับเนื้อหาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง
4)  ฝึกแก้ปัญหาจากโจทย์ แบบฝึกหัด หรือกรณีศึกษา
1)  การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
2)  การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน
3)  ประเมินผลจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนในห้องเรียน
1)  มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรมหรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
2)  สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3)  สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้
4)  มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
1)  การสอนโดยใช้กรณีศึกษา การอภิปราย การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม
2)  มอบหมายงานการศึกษาค้นคว้า และรายงานเป็นเอกสาร หรือรายงานหน้าชั้นเรียน
1)  พิจารณาผลการอภิปรายกลุ่ม การตอบคำถาม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
2)  ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีดังนี้
1)  มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
2)  มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
3)  มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวัดที่เหมาะสม
4)  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์
1)  จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการทำงานเป็นกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล เช่น การระดมความคิดเห็น การอภิปราย หรือการสัมมนาเกี่ยวกับประเด็นที่นักศึกษาสนใจ
2)  ส่งเสริมให้นักศึกษากล้าแสดงออกและเสนอความคิดเห็นผ่านงานกลุ่ม งานเดี่ยว รวมถึงกิจกรรมต่างๆ
3)  สอดแทรกเรื่องความรับผิดชอบต่อตนเองและองค์การ การมีมนุษยสัมพันธ์ การเข้าใจวัฒนธรรมขององค์การ การปรับตัวเข้ากับสภาวะแวดล้อม การยอมรับผู้อื่น เป็นต้น
1)  สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้เรียนขณะทำกิจกรรมกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล
2)  ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายและรายงานหน้าชั้นเรียน
3)  ให้นักศึกษาประเมินตนเองหรือประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารให้เข้าใจ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศอย่างเหมาะสมในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ มีดังนี้
1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ
2)  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3)  สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
4)  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5)  สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย
6)  ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
7)  ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
1)  การมอบหมายงานและจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ค้นคว้าหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)  จัดกิจกรรรมการเรียนการสอนที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถเลือกใช้เทคโนโลยี
1)  ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่เป็นรูปเล่ม ความสามารถในการอธิบายและตอบคำถาม
2)  ประเมินจากวิธีการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
นักศึกษาต้องพัฒนาทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ความรับผิดชอบ และพัฒนาความรู้ความสามารถของตนเอง เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นที่มีความแตกต่างกัน ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชาสหกิจศึกษาด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ มีดังนี้
1)  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
2)  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต
1)  สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายอย่างมีประสิทธิภาพ
2)  มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นและปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
3)  สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำหรือบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพการบริหารธุรกิจของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1)  การประเมินผลการปฏิบัติงานนักศึกษา โดยใช้การสังเกต การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็น การได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงานหรือผู้เกี่ยวข้อง
2)  การประเมินผลจากการได้รับมอบหมายงานจากพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.1 มีความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่ ต่อตนเองและผู้อื่น ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่นและมีความสำนึกรับผิดชอบต่อส่วนรวม 1.2 มีความกตัญญู ความเสียสละ ความอดทน ความเพียรพยายาม 1.3 มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดพอประมาณ 1.4 มีความเคารพต่อกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม 1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดีและความชั่ว 2.1 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี เศรษฐศาสตร์ นิติศาสตร์ ศิลปะศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ 2.2 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจ การตลาด การเงิน การผลิตและการดำเนินงาน รวมทั้งการจัดองค์การและทรัพยากรมนุษย์ 2.3 มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งปรับปรุงแผนงาน 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจ รวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 3.1 มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและมีประสบการณ์เพื่อเกิดนวัตกรรม กิจกรรมหรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ 3.2 สามารถสืบค้น จำแนก และวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม 3.3 สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์ประยุกต์ใช้ 3.4 มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ 4.1 มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา 4.2 มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม การประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ 4.3 มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวัดที่เหมาะสม 4.4 มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่างอย่างสร้างสรรค์ 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ 5.2 สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.3 สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน 5.4 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา 5.5 สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือและสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวคิดที่หลากหลาย 5.6 ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี 5.7 ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 6.2 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต
1 100034022 เตรียมสหกิจศึกษาและการฝึกงานทางบริหารธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม 1) ประเมินจากพฤติกรรมของผู้เรียนระหว่างการเรียนการสอน 2) ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมายหรือผลสรุปการร่วมแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะเป็นงานเดี่ยวหรืองานกลุ่ม 3) ประเมินจากการให้คะแนนการเข้าห้องเรียนและการส่งงานตรงเวลา ตลอดทุกสัปดาห์ 15%
2 ความรู้ 1) การทดสอบย่อย การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค 2) การรายงานผลการศึกษาค้นคว้า โดยการนำเสนอหน้าชั้นเรียน และเอกสารรายงาน 3) ประเมินผลจากกิจกรรมการเรียนการสอนที่จัดให้ผู้เรียนในห้องเรียน สัปดาห์ที่ 3, 8, 16 และ 17 20%
3 ทักษะทางปัญญา 1) พิจารณาผลการอภิปรายกลุ่ม การตอบคำถาม และการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 2) ประเมินผลจากงานที่ได้รับมอบหมายทั้งงานกลุ่มและงานเดี่ยว สัปดาห์ที่ 16 15%
4 ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 1) สังเกตพฤติกรรมและการแสดงออกของผู้เรียนขณะทำกิจกรรมกลุ่มและงานที่ต้องมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล 2) ประเมินผลงานที่ได้รับมอบหมายและรายงานหน้าชั้นเรียน 3) ให้นักศึกษาประเมินตนเองหรือประเมินโดยเพื่อนร่วมชั้นเรียน สัปดาห์ที่ 15-16 20%
5 ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) ประเมินจากงานที่ได้รับมอบหมาย ทั้งรูปแบบการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนและรายงานที่เป็นรูปเล่ม ความสามารถในการอธิบายและตอบคำถาม 2) ประเมินจากวิธีการนำเสนอโดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ สัปดาห์ที่ 16 20%
6 ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On) 1) ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการทำรายงานและความสามารถในการนำเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 2) พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรมจริยธรรม 3) การนำเสนอรายงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่างๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม 4) นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้ ตลอดทุกสัปดาห์ 20%
คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education Handbook) สำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ
การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน
การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน
คู่มือสหกิจศึกษา (Cooperative Education Handbook) สำหรับนักศึกษาและคณาจารย์นิเทศ
การเขียนรายงานการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา/ฝึกงาน
การปฏิบัติงานเพื่อเพิ่มประสบการณ์ภาคสนามในสถานประกอบการระบบสหกิจศึกษาตามระยะเวลาที่กำหนดในหลักสูตร กำหนดให้มีกิจกรรมต่างๆ ดังนี้

การรับสมัครและคัดเลือกนักศึกษาให้ปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามหลักเกณฑ์ที่มหาวิทยาลัยกำหนด การปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ การเรียนรู้และการปฏิบัติงานจริงร่วมกับบุคคลอื่นในสถานประกอบการในเรื่องเกี่ยวกับ การเรียนรู้วิธีการทำงานในสถานประกอบการ การนำความรู้ในวิชาชีพมาประยุกต์ใช้กับงานที่ได้รับมอบหมาย การสัมมาร่วมกันระหว่างนักศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ผู้รับผิดชอบระหว่างการปฏิบัติ เพื่อรับทราบข้อมูลจากการปฏิบัติงาน ข้อเสนอแนะ และแนวทางการพัฒนาระบบสหกิจศึกษา การจัดทำรายงานสหกิจศึกษา ในรูปโครงงานหรือการปฏิบัติงานในสถานประกอบการที่ผ่านความเห็นชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง และการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ที่ปรึกาสหกิจศึกษา การปัจฉิมนิเทศและการนำเสนอผลงานโครงงานหลังจากสิ้นสุดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

รายงานหรืองานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย

รายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย


ชื่อโครงงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย การกำหนดแผนการจัดทำรายงานหรือโครงงาน ผลการวิเคราะห์งานหรือโครงการ การสรุปผล การรายงานผลงาน


กำหนดส่งรายงานหรืองานที่ได้รับมอบหมาย หลังสิ้นสุดการปฏิบัติงาน 1 สัปดาห์

การติดตามผลการเรียนรู้ภายหลังสิ้นสุดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการของนักศึกษา

การจัดการประชุมผู้เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาของนักศึกษา และให้นักศึกษานำเสนอการเรียนรู้และประสบการณ์ที่ได้รับจากการปฏิบัติงานจริง อาจารย์ที่ปรึกาสหกิจศึกาชี้นำให้เห็นความสำคัญและผลกระทบต่อพฤติกรรมด้านคุณธรรมจริยธรรม ความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบที่มีต่อการทำงานในอนาคต การนำผลการประเมินนักศึกษาสหกิจศึกษามานำเสนอและอภิปราย เพื่อเป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาครั้งต่อไป สนับสนุนให้นำปัญหาที่พบในการปฏิบัติงานสหกิจศึกษามาเป็นกรณีศึกษาหรือโจทย์ในการทำโครงงานต่อไป

หน้าที่และความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการที่ดูแลกิจกรรมในการปฏิบัติงานจริง

การตรวจสอบแผนปฏิบัติงานของนักศึกษา การจัดกิจกรรมสำหรับการพัฒนาทักษะของนักศึกษา ร่วมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา การให้คำแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับบุคคลที่เกี่ยวข้อง กฎระเบียบ ข้อบังคับ วัฒนธรรมของหน่วยงาน ติดตามความก้าวหน้า การประเมินผลการปฏิบัติงาน รายงานผลต่ออาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา ประสานงานร่วมประชุมกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาเพื่อให้ความเห็นในการปรับปรุงในการทำงานของนักศึกษา ให้คำปรึกษาในงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานและร่วมประเมินผลงานกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

หน้าที่และความรับผิดชอบของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

การให้คำปรึกษา การประสานและร่วมวางแผนกับพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการ การวางแผนสำหรับการออกนิเทศนักศึกษา ให้คำปรึกษาหรือแนะนำแก่นักศึกษาเกี่ยวกับทักษะการทำงานในองค์กร ให้คำปรึกษาในงานโครงงานหรือรายงานผลการปฏิบัติงานและร่วมประเมินผลงานกับพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยง การประเมินผลนักศึกษา สอบทานปรับปรุงแผนงานระบบสหกิจศึกษาเป็นระยะๆ

การเตรียมการในการแนะแนวและช่วยเหลือนักศึกษา

ปฐมนิเทศพร้อมให้เอกสารคู่มือการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ จัดอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกาดำเนินการนิเทศนักศึกษา ซึ่งต้องกำหนดแผนการนิเทศล่วงหน้า ประสานงานกับสถานประกอบการในเรื่องการจัดพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงให้คำปรึกษาและแนะนำนักศึกษารวมถึงการให้ความช่วยเหลือนักศึกษา

สิ่งอำนวยความสะดวกและการสนับสนุนที่ต้องการจากสถานที่ที่จัดการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ

พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงที่คอยให้คำปรึกษาและแนะนำ สวัสดิการที่เหมาะสมกับการปฏิบัติงานของนักศึกษา เช่น ที่พัก ค่าตอบแทน ค่าใช้จ่ายที่สนับสนุนในการเดินทางกรณีที่ให้นักศึกษาไปปฏิบัติงานนอกสถานที่ (ถ้ามี) คู่มือที่ใช้ในการประกอบการทำงาน ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติงาน แหล่งข้อมูลเพื่อการค้นคว้าและการเรียนรู้ด้วยตนเอง
หลักการประเมินการสอน การประเมินผลการเรียนรู้ ผู้ประเมินเพื่อการบรรลุผลการเรียนรู้ของนักศึกษาทั้ง 6 ด้าน ดังนี้
สถานประกอบการหรือพนักงานที่ปรึกษา ผู้ประเมิน    40 คะแนน
อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมสหกิจศึกษา             10 คะแนน
อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา                                       50 คะแนน
    รวมคะแนน                                            100 คะแนน
การกำหนดค่าระดับคะแนน คือ
คะแนน  80 – 100       ระดับคะแนนเกรด A
คะแนน  75 – 79                   ระดับคะแนนเกรด B+
คะแนน  70 – 74                   ระดับคะแนนเกรด B
คะแนน  65 – 69                   ระดับคะแนนเกรด C+
คะแนน  60 – 64                   ระดับคะแนนเกรด C
คะแนน  55 – 59                   ระดับคะแนนเกรด D+
คะแนน  50 – 54                   ระดับคะแนนเกรด D
คะแนน  0 – 49           ระดับคะแนนเกรด F
กระบวนการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษา

นักศึกษาประเมินตนเองจากบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาจาก แบบประเมินการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา แบบประเมินรายงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษาประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาจาก แบบบันทึกการนิเทศงานสหกิจศึกษา แบบประเมินรายงานและการนำเสนอของนักศึกษาสหกิจศึกษา

 
ความรับผิดชอบของพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงต่อการประเมินนักศึกษา
พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงจะให้ข้อมูล คำปรึกษา คำแนะนำ การสอนงาน การปฏิบัติตนในองค์กร ในระหว่างที่นักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา รวมถึงการจัดทำแผนการปฏิบัติงานและการจัดทำรายงานและมีส่วนร่วมในการประเมินผลการปฏิบัติงานของนักศึกษาที่อยู่ในความดูแล
ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษาต่อการประเมินนักศึกษา

การจัดปฐมนิเทศ การสัมมนานักศึกษาระหว่างการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การจัดปัจฉิมนิเทศ การจัดตารางนิเทศงานสหกิจศึกษา การให้คำแนะนำ ให้คำปรึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของนักศึกษาสหกิจศึกษา การให้คำแนะนำเกี่ยวกับการเขียนรายงาน การบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

การสรุปผลการประเมินที่แตกต่าง
อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษา หัวหน้าสาขาวิชา และหรือหน่วยงานสหกิจศึกษา ประสานงานกับสถานประกอบการเพื่อทำความเข้าใจในผลการประเมินหากเกิดความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ โดยประชุมร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องและพิจารณาหาข้อสรุป
การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของการฝึกประสบการณ์ภาคสนามจากผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่

นักศึกษา นักศึกษามีส่วนร่วมในการประเมินการปฏิบัติงานสหกิจศึกษาโดยการตอบแบบสอบถามการปฏิบัติสหกิจศึกษา พนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงหรือผู้ประกอบการ มีส่วนร่วมในการประเมินสหกิจศึกาว่ากิจกรรมได้จัดองค์ความรู้ให้นักศึกษาเรียนรู้ครอบคลุมมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังหรือไม่ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาและอาจารย์ที่ปรึกษาที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา ประเมินสหกิจศึกษาทั้งในส่วนสถานประกอบการและกิจกรรมที่จัดให้ปฏิบัติงานทำให้นักศึกษามีมาตรฐานผลการเรียนรู้ตามที่คาดหวังหรือไม่ บัณฑิตจบใหม่ ติดตามความก้าวหน้าในการทำงานของบัณฑิตที่ตรงตามวิชาชีพการบริหารธุรกิจ โดยสำรวจแบบสอบถามจากผู้ประกอบการและบัณฑิตใหม่
อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ที่เกี่ยวข้องกับสหกิจศึกษา ประมวลผลการจัดสหกิจศึกษาจากผลการประเมินและข้อเสนอแนะจากนักศึกษา พนักงานพี่เลี้ยง จัดทำรายงานผลการดำเนินงานเสนอหัวหน้าสาขาบริหารธุรกิจ ประชุมคณะกรรมการสหกิจศึกษาระดับคณะ เพื่อพิจารณาข้อเสนอแนะมาปรับปรุงสำหรับการใช้ในรอบปีการศึกษาต่อไป โดยนำไปแสดงในรายงานผลการดำเนินการประสบการณ์ภาคสนาม (มคอ. 6) และรายงานผลการดำเนินการหลักสูตร (มคอ. 7)
การวางแผนและการเตรียมการ
การกำหนดสถานประกอบการ

หน่วยงานหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบสหกิจศึกษา พิจารณาคัดเลือกสถานประกอบการที่ยินดีรับนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษา โดยดูจากลักษณะงานที่เหมาะสม ตรงหรือสอดคล้องสัมพันธ์กับสาขาวิชาชีพของนักศึกษา และมีความพร้อมในเรื่องต่างๆ ดังนี้
เข้าใจและสนับสนุนการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา สามารถจัดพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อดูแลนักศึกษาได้ มีความปลอดภัยของสถานที่ตั้ง ความเหมาะสมในการเดินทาง และสภาพแวดล้อมการทำงานที่ดี วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือที่จำเป็นในการปฏิบัติงานตามลักษณะวิชาชีพ มีโครงงาน หรือโจทย์ปัญหาให้นักศึกษาสามารถศึกษาที่มีความยากง่ายเหมาะสมกับศักยภาพของนักศึกษา ยินดีและเต็มใจให้นักศึกษามาฝึกปฏิบัติงาน หน่วยงานหรืออาจารย์ที่รับผิดชอบสหกิจศึกษาควรประสานงานดำเนินการล่วงหน้าก่อนที่นักศึกษาออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา อย่างน้อย 4 เดือน การจัดนักศึกษาปฏิบัติงานสหกิจศึกษาควรเป็นไปตามความสมัครใจ โดยนักศึกษาอาจหาสถานประกอบการเองแต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากสาขาวิชา

การเตรียมนักศึกษา
อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษาจัดปฐมนิเทศสหกิจศึกษา พร้อมมอบคู่มือการปฏิบัติงานในสถานประกอบการ ควรดำเนินการก่อนการออกปฏิบัติงานจริงในสถานประกอบการ เนื้อหาที่กำหนดในการปฐมนิเทศ ประกอบด้วย

จุดมุ่งหมายในการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง การปฏิบัติตนระหว่างการปฏิบัติงาน กิจกรรมที่จัดให้นักศึกษาระหว่างการปฏิบัติงาน การจัดอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา การติดตามประเมินผล การป้องกันหลีกเลี่ยงอันตรายจากการฝึกงาน การวางตนในสถานประกอบการ การเตรียมความพร้อมด้านวิชาการก่อนการออกปฏิบัติงานสหกิจศึกษา

การเตรียมอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษา

จัดประชุมชี้แจงก่อนนักศึกษาออกปฏิบัติงาน เพื่อทำความเข้าใจจุดมุ่งหมายของสหกิจศึกษา ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของอาจารย์ผู้รับผิดชอบ อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกา การดูแลนักศึกษา กิจกรรมและตารางเวลาการปฏิบัติงานของนักศึกษา การติดตามและการประเมินผลนักศึกษา จัดสรรนักศึกษาให้อยู่ในความดูแลของอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาตามความเชี่ยวชาญของอาจารย์ ให้สอดคล้องกับโจทย์โครงงานหรือปัญหาที่สถานประกอบการต้องการ

การเตรียมพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงในสถานประกอบการ
จัดประชุมพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงเพื่อชี้แจ้งให้ทราบ และติดต่อประสานงานระหว่างพนักงานที่ปรึกษาหรือพนักงานพี่เลี้ยงของสถานประกอบการกับอาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาของมหาวิทยาลัย

วัตถุประสงค์ที่คาดหวังจากการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การบันทึกกิจกรรมการปฏิบัติงานของนักศึกษา แนวทางการประเมินผลการปฏิบัติงานสหกิจศึกษา การตรวจประเมินรายงานโครงการหรือการปฏิบัติงาน รายละเอียดในคู่มือสหกิจศึกษา

การจัดการความเสี่ยง
อาจารย์ผู้รับผิดชอบสหกิจศึกษา อาจารย์ที่ปรึกษาสหกิจศึกษาประชุมร่วมกันเพื่อประเมินความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นกับนักศึกษาและก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถานประกอบการ เช่น

ความเสี่ยงจากการเดินทาง สภาพแวดล้อมของสถานประกอบการ ความเสี่ยงจากอุบัติเหตุจากการทำงาน ความเสี่ยงจากจริยธรรมในการทำงาน