การภาษีอากร 2

Taxation 2

1. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบัญชีบัญชีของผู้ประกอบการประเภทบุคคลธรรมดา และความเกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง และการยื่นแบบแสดงรายการ
2. เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดบัญชีบัญชีของผู้ประกอบการประเภทนิติบุคคล และความเกี่ยวข้องกับการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้อง และการยื่นแบบแสดงรายการ
3. เพื่อให้นักศึกษาสามารถ ค้นคว้า วิเคราะห์ข้อมูล นำเสนอ เกี่ยวกับประเด็นภาษีของภาคธุรกิจจริง ติดตามการเปลี่ยนแปลงกฎหมายภาษีและผลกระทบต่อการบัญชีของธุรกิจ
4. เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมนักศึกษา ให้เป็นไปตามคุณลักษณะที่กำหนดในมาตรฐานผลการเรียนรู้ทั้ง 5 ด้าน
เพื่อพัฒนาความสามารถของนักศึกษา ให้มีทักษะด้านการคำนวณภาษีสรรพากร การบันทึกรายงานบัญชีและการจัดทำเอกสารให้เป็นไปตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไปและข้อกำหนดของกรมสรรพากร
ศึกษาแนวคิดและความแตกต่างระหว่างเกณฑ์การรับรู้รายได้และค่าใช้จ่ายตามหลักการบัญชีและการภาษีอากร การจัดทำกระดาษทำการ เพื่อคำนวณภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร การปรับปรุงกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางบัญชีให้เป็นกำไรทางภาษีอากร การจัดทำรายงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับภาษีสรรพากร และการยื่นแบบแสดงรายงานภาษีสรรพากรเพื่อประโยชน์ในการเสียภาษีให้ครบถ้วนถูกต้อง จริยธรรมของวิชาชีพ รวมทั้งศึกษาภาษีเงินได้รอตัดบัญชี และความรู้พื้นฐานเรื่องการวางแผนภาษี
7/สัปดาห์
1.1.1 มีความรู้และความเข้าใจในจรรยาบรรณวิชาชีพ และมีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ
1.1.2 ตระหนักถึงคุณธรรมด้าน ความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.3 สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัย และ ข้อตกลงในการเรียน
1.2.1 สอนเนื้อหาเกี่ยวกับจรรยาบรรณวิชาชีพและความซื่อสัตย์
1.2.2 สอดแทรกเรื่อง จรรยาบรรณวิชาชีพและความซื่อสัตย์ ระหว่างการเรียนการสอนในรายวิชา โดยการบรรยายและยกกรณีศึกษาจากสถานการณ์ปัจจุบัน
1.2.3 ชี้แจงระเบียบของมหาวิทยาลัยที่เกี่ยวกับนักศึกษา เช่น การแต่งกาย วินัยนักศึกษา การสอบ และ
กำหนดข้อตกลงในการเรียน เช่น การเข้าเรียน การตรงต่อเวลา และวินัยในชั้นเรียน
1.3.1 ประเมินผลการปฏิบัติตามข้อตกลงในการเรียนตลอดภาคการศึกษา ในเรื่อง การแต่งกาย การสอบ
                      การเข้าชั้นเรียน การตรงต่อเวลา และวินัยในชั้นเรียน
1.3.2 ทดสอบความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับ จรรยาบรรณวิชาชีพและความซื่อสัตย์ โดยใช้กรณีศึกษา
2.1.1 ความรู้และความเข้าใจ เกี่ยวกับแนวคิด หลักเกณฑ์ วิธีการปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดทำบัญชีเพื่อภาษีอากร ได้แก่ การคำนวณภาษี การบันทึกบัญชี เอกสารทางภาษีเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ภาษีธุรกิจเฉพาะ และภาษีเงินได้นิติบุคคล
2.1.2 มีความรู้และความเข้าใจในองค์ความรู้ด้านอื่น  ที่สัมพันธ์กับองค์ความรู้ทางบัญชีโดยสามารถบูรณาการและนำมาประยุกต์ใช้ได้อย่างเหมาะสม ได้แก่ ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายด้านอื่น ๆ ของธุรกิจ ความรู้เกี่ยวกับภาษีสรรพากร ซึ่งต้องนำมาประยุกต์กับการบันทึกบัญชีตามมาตรฐานการบัญชี
2.1.3 สามารถติดตามการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีและสามารถวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ
2.2.1 การบรรยาย ยกตัวอย่าง และการถาม-ตอบ ในชั้นเรียน
2.2.2 แบบฝึกหัด และกรณีศึกษา
2.2.3 มอบหมายงานกลุ่ม ให้นักศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีและวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ และนำเสนอ
2.3.1 ทดสอบย่อย
2.3.2 สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
2.3.3 คุณภาพของงานที่มอบหมาย
3.1.1. สามารถสืบค้น ประมวลข้อมูล หลักฐาน แนวคิดต่าง ๆ ในการระบุและวิเคราะห์ปัญหาได้ด้วยตนเอง
3.1.2  สามารถประยุกต์ความรู้ทางการบัญชีและด้านอื่นที่สัมพันธ์กัน ใช้ทักษะทางวิชาชีพ และดุลยพินิจในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างสร้างสรรค์ โดยคำนึงถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการตัดสินใจ
3.1.3  สามารถติดตาม ประเมินผล และรายงานผล ได้อย่างถูกต้องครบถ้วน
3.2.1  บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
3.2.2   มอบหมายงานกลุ่ม ให้นักศึกษาติดตามการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับกฎหมายภาษีและวิเคราะห์ผลกระทบที่มีต่อการบัญชีของธุรกิจ และนำเสนอ
3.2.3  มอบหมายงานกลุ่ม ให้วิเคราะห์ภาษีที่เกี่ยวข้องของตัวอย่างธุรกิจ และเสนอแนวทางการวางแผนภาษีเบื้องต้น
และนำเสนอ
3.3.1  ทดสอบย่อย
3.3.2  สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
3.3.3  คุณภาพของงานที่มอบหมาย
4.1.1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
4.1.2 มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่น และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมขององค์กรได้เป็นอย่างดี
4.1.3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ทั้งในบทบาทผู้นำ หรือในบทบาทของผู้ร่วมทีมงาน
4.2.1 มอบหมายงาน แบบฝึกหัด และ การบ้าน
4.2.2 มอบหมายงานกลุ่ม กรณีศึกษา ในชั้นเรียน
4.3.1 ประเมินจากงานที่มอบหมายและระยะเวลาในการส่งงาน
4.3.2  ประเมินจากการสังเกตพฤติกรรมความร่วมมือกันของกลุ่ม
5.1.1 สามารถนำวิธีวิเคราะห์เชิงตัวเลข ประยุกต์ในกรณีศึกษา และเสนอวิธีการแก้ไข
5.1.2 สามารถสื่อสารอย่างมีประสิทธิภาพทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสมกับปัญหาและกลุ่มผู้ฟังที่แตกต่างกัน
5.1.3  สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมาย และการสื่อสารสนเทศ
5.2.1  บรรยาย นักศึกษาฝึกวิเคราะห์โจทย์ปัญหาและกรณีศึกษา และร่วมกันอภิปราย
5.2.2  มอบหมายงานกลุ่ม และนำเสนอ
5.3.1  ทดสอบย่อย
5.3.2  สอบกลางภาค และ สอบปลายภาค
5.3.3  พิจารณาการนำเสนอ เกี่ยวกับ ประสิทธิภาพของการนำเสนอ การเลือกใช้สื่อในการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2,3,5 การทดสอบย่อย หลังจบบทเรียน 15
2 2,3,5 การสอบกลางภาค 9 30
3 2,3,5 การสอบปลายภาค 17 30
4 1,4,5 การสังเกตพฤติกรรมระหว่างเรียนตาม ระเบียบและข้อตกลงในการเรียน การทำงานร่วมกัน รายงานกลุ่มและการนำเสนอผลงาน ตลอดสัปดาห์และ 9,17 25
หนังสือ การบัญชีภาษีอากร ปรับปรุง   2557   โดย รองศาสตราจารย์ยุพดี  ศิริวรรณ
หนังสือ การบัญชีภาษีอากร อื่น ๆ
หนังสือภาษีอากร ตามประมวลรัษฎากร 2559
  ประมวลรัษฎากร
  พระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
  มาตรฐานการบัญชี และ มาตรฐานการรายงานทางการเงิน
  หนังสือ วิชาการบัญชีชั้นกลาง 1, 2  การบัญชีชั้นสูง 1
เวปไซด์ สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์ www.fap.or.th
เวปไซด์ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.set.or.th
เวปไซด์ กรมสรรพากร www.rd.go.th
ใช้แบบประเมินผลการสอนอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัย
นำผลคะแนนของนักศึกษา และ ผลการประเมินผลการสอนของอาจารย์จากนักศึกษา ประชุมร่วมกันระหว่างผู้สอน คณะกรรมการบริหารหลักสูตร เพื่อประเมินผลการสอนในภาพรวม
 
วิเคราะห์ผลการสอนจาก แบบประเมินผลการสอนของนักศึกษา และปรับปรุงจุดบกพร่องตามผลประเมิน
สรุปผลการเรียนรู้ของนักศึกษาจากผลการสอบ การทำกรณีศึกษา ปรับปรุงการสอนโดยเน้นในเรื่องที่นักศึกษาขาดทักษะ
ตรวจสอบความถูกต้องในการประเมินผลสัมฤทธิ์รายวิชาของนักศึกษา การสอบทานความตรงประเด็นของ
ข้อสอบโดยคณะกรรมการกำกับมาตรฐานผลการเรียนรู้ของสาขาวิชา
นำผลการประเมินจากข้อ 1 ข้อ 3 และ ข้อ 4 มาพิจารณาปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา ในเรื่อง
อาจารย์ผู้สอน การจัดตารางเรียน การสอนเสริม การทบทวนและปรับปรุงเนื้อหา มาตรฐานข้อสอบ