การฝึกงานในสถานประกอบการ

On-the-Job Training

1.บูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้ในสถานศึกษามาใช้ในการปฏิบัติงานในสถานประกอบการจริง
2.ดำเนินการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตามสภาพความเป็นจริง
3.จัดทำบันทึกและรายงานผลการฝึกงานในสถานประกอบการ
4.ร่วมสัมมนารายงานผลการฝึกงานในสถานประกอบการได้อย่างมีคุณภาพ
บูรณาการความรู้ทั้งหมดที่ได้จากการเรียน สามารถปฏิบัติงานในสถานประกอบการและปฏิบัติงานอื่นๆในสถานประกอบการได้อย่างเหมาะสม
ปกิบัติการฝึกงานทางวิศวกรรมในหลากหลายลักษณะ งานที่เกี่ยวข้องกับงานทางด้านวิศวกรรมโยธาเป็นหลัก ภายใต้การควบคุม ดูแลของวิศวกรที่มีประสบการณ์ในสถานประกอบการ โดยมีเวลาฝึกงานอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 240 ชั่วโมง(การลงทะเบียนแบบไม่นับหน่วยกิต และการประเมินผลนักศึกษาให้ค่าระดับคะแนนเป็น S(Satisfactory) และ U(Unsatisfactory))
1. จัดปฐมนิเทศก่อนฝึกงานในสถานประกอบการ 1 ครั้ง
2. อาจารย์ประจำรายวิชาและอาจารย์นิเทศก์  ไปนิเทศนักศึกษาในสถานประกอบการ ไม่น้อยกว่า 2 ครั้งตลอดภาคการศึกษา
3.จัดปัจฉิมนิเทศหรือสัมมนารายงานผลการฝึกงานหลังจากการฝึกงานในสถานประกอบการ 1 ครั้ง
ปฏิบัติตามบทบาทหน้าที่และคุณลักษณะของการเป็นพนักงานที่ดี และประพฤติตามระเบียบข้อบังคับขององค์กร มีเจตคติที่ดีและศรัทธาวิชาชีพ
ใช้กิจกรรมต่างๆในสถานประกอบการ สอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมพร้อมทั้งยกตัวอย่างประกอบ และประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
คณะฯ อาจารย์นิเทศก์ และพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการใช้แบบวัดและประเมินผลด้านการฝึกงานในสถานประกอบการเพื่อพิจารณาความประพฤติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพ และยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ 5 ด้านคือ จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพ จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการ จรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ และจรรยาบรรณต่อสังคม ตลอดภาคการศึกษา
ได้รับประสบการณ์ตรงในการฝึกงานโดยผ่านการบูรณาการความรู้เพื่อจัดการเรียนรู้ในสาขาวิชาเฉพาะ ความสามารถในการประเมิน ปรับปรุงและพัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับศักยภาพของตนเอง
1. สาขาวิชาฯจัดปฐมนิเทศนักศึกษาก่อนไปฝึกงานในสถานประกอบการ
2. ปฏิบัติงานอื่นๆร่วมกับเจ้าหน้าที่และพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการ
1. พิจารณาจากแบบวัดและประเมินผลด้านทักษะและสมรรถนะของการฝึกงานในสถานประกอบการ โดยการประเมินของพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการและอาจารย์นิเทศฯ อย่างน้อย 2 ครั้งต่อภาคการศึกษา
2. ประเมินผลการฝึกปฏิบัติงานตลอดภาคการศึกษาโดยนักศึกษาต้องส่งรายงานสรุปผลการฝึกงานและสรุปผลงานอื่นๆ ที่ได้ฝึกปฏิบัติมาตลอดภาคการศึกษา
ความสามารถในการเชื่อมโยงความรู้เดิมกับความรู้ใหม่ สามารถตัดสินใจแก้ปัญหาในการฝึกงาน สามารถจัดการกับอารมณ์ ความรู้สึก
พี่เลี้ยง/หัวหน้างานให้คำชี้แนะในการทำงาน
1. นิเทศการฝึกปฏิบัติงานของนักศึกษาโดยอาจารย์นิเทศก์ และพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการ
2. ใช้แบบวัดและประเมินผลการฝึกงานในสถานประกอบการตลอดภาคการศึกษา
ความสามรถในการทำงานร่วมกับบุคลากรอื่นในสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
1. การมีส่วนร่วมกับสถานประกอบการ เช่นการจัดกิจกรรมทางวิชาการเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้  งานด้านกิจการของพนักงาน หรือฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ งานธุรการ งานประชาสัมพันธ์ หรืองานอื่นๆ ที่ได้รับมอบหมาย
2. การสัมมนากลุ่มย่อยระหว่างอาจารย์นิเทศก์สาขาวิชาฯ
3. การสัมมนานักศึกษาหลังจากเสร้๗สิ้นการฝึกงานในสถานประกอบการ เพื่อสรุปเป็นบทเรียนและพัฒนาตนเองในอนาคต
ประเมินโดยใช้แบบวัดและประเมินผลด้านการฝึกงานในสถานประกอบการตลอดภาคการศึกษาเกี่ยวกับความประพฤติของนักศึกษาในขณะฝึกงานในสถานประกอบการ นอกจากนี้ต้องเสริมสร้างมนุษยสัมพันธ์ที่ดี ในการให้ความร่วมมือกับผู้อื่น ในสถานประกอบการ และชุมชนเป็นต้น
ความสามารถในการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษในขณะปฏิบัติงาน การสืบค้นข้อมูลเทคนิคการทำงานต่างๆ ขณะปฏิบัติงาน เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติการฝึกงานได้ดี
การแนะนำเวปไซต์ที่เกี่ยวข้อง ช่องทางการสื่อสาร การสืบค้นหาความรู้โดยใช้เทคโนโลยีการสื่อสารไร้สายผ่านมือถือหรือผ่านแอพพลิเคชั่นเพื่อเข้าถึงข้อมูลออนไลน์ต่างๆได้
1. ประเมินโดยใช้แบบวัดและประเมินผลด้านการฝึกงานในสถานประกอบการตลอดภาคการศึกษา ในส่วนของการจัดการเรียนรู้ ด้านการสื่อสาร/อธิบายและบุคลิกภาพการฝึกงานในสถานประกอบการ
2. ประเมินจากการนำเสนอความรู้จากสัมมนารายงานผลหลังจากเสร็จสิ้นการฝึกงาน
1. สามารถวางแผน บันทึกและรายงานผลการทำงาน
2. สามารถปฏิบัติงานด้านต่างๆ ตามที่ได้รับมอบหมาย
3. สามารถประสานความร่วมมือระหว่างพนักงาน กับฝ่ายต่างๆในสถานประกอบการ
4. สามารถประยุกต์แนวคิด ทฤษฎีในการแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสมกับสถานการณ์
1. สำรวจข้อมูลพนักงาน
2. สังเกตปัญหาที่เกิดในสถานประกอบการและแนวทางแก้ปัญหา
3. ติดตามการปฏิบัติงานของตนเองและสรุปงานที่ได้ฝึกปฏิบัติ
1. จัดทำบันทึกการปฏิบัติงานและรายงานสรุปผลการฝึกงาน
2.ใช้แบบวัดและประเมินผลการฝึกงานในสถานประกอบการตลอดภาคการศึกษา
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา ด้านคุณธรรมจริยธรรม ด้านความรู้ ด้านทักษะทางปัญญา ด้านความสัมพันธ์บุคคลและความรับผิดชอบ ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารและเทคโนโลยีสารสนเทศ ด้านทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2
1 33016308 การฝึกงานในสถานประกอบการ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2,1.3,1.4,2.1,2.2,2.3,3.1,3.2,4.1,4.2,4.3,4.4,5.1 และ 6.1 - การนิเทศการฝึกงาน - ประเมินผลจากอาจารย์นิเทศก์ พี่เลี้ยง/หัวหน้างานของสถานประกอบการ ตลอดภาคการศึกษา จากอาจารย์นิเทศก์ 30% จากพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการ 40%
2 2.2,2.3,5.1,5.2,5.3,6.1 และ 6.2 การจัดสัมมนารายงานสรุปผลปฏิบัติการฝึกงาน 6 15%
3 1.3,3.2 และ 6. เอกสารบันทึกการปฏิบัติงานรายงานประจำวัน รายงานสรุปผลการปฏิบัติการฝึกงาน 6 15%
คู่มือการบันทึกการปฏิบัติงานประจำวัน
สืบค้นข้อมูลจากระบบออนไลน์ในหัวข้อดังนี้
1. เทคนิคและวิธีการที่เกี่ยวข้องกับการทำงานเพื่อรายงานสรุปผล
2. การเขียนรายงานผลการปฏิบัติการฝึกงานในสถานประกอบการ
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้จัดทำโดยนักศึกษา ดังนี้
การสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์นิเทศก์และนักศึกษาฝึกงาน  
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการฝึกงาน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้ 2.1   การสังเกตของอาจารย์นิเทศก์ 2.2   การติดตามสอบถามจากพี่เลี้ยง/หัวหน้างานในสถานประกอบการ
2.3  ผลการรายงานสรุปผลของนักศึกษาฝึกงาน
 
 
 
นำเอาข้อมูลจากแหล่งต่อไปนี้เพื่อมาพัฒนาปรับปรุงการดำเนินการในรายวิชาการฝึกงานในสถานประกอบการ ได้แก่
1. จากการสอบถามนักศึกษาฝึกงาน
2. จากการสนทนากับพี่เลี้ยง/หัวหน้างานจากสถานประกอบการ
3. จากการสัมมนารายงานสรุปผลของนักศึกษาฝึกงาน
ตามข้อกำหนดและพิจารณาดำเนินการตามคณะกรรมการทวนสอบผลสัมมฤทธิ์
นำข้อมูลจากข้อที่ 3 มาสรุปผลเพื่อตกผลึกและวางแผนการปรับปรุงในแต่ละประเด็นต่อไป