วิจัยธุรกิจ

Business Research

1)  เพื่อให้ผู้เรียนได้ศึกษาความสำคัญของการวิจัยธุรกิจ ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การฝึกปฏิบัติการวิจัยทางธุรกิจ โดยการเสนอโครงร่างวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูลการวิเคราะห์และสรุปรายงานผลงานวิจัย
2)  เพื่อสามารถนำผลการวิจัยไปใช้ในทางธุรกิจ
3)  เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติสำหรับการทำวิจัยทางธุรกิจ เพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจในการที่จะนำไปประกอบอาชีพ และนำไปใช้ประโยชน์ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้
จากการประเมินการจัดการเรียนการสอนรายวิชาของการสอนในปีการศึกษา 2560 ซึ่งเป็นนักศึกษา การจัดการปริญญาตรี 3 ปี (บธ.บ. 3.6A) ซึ่งเรียนในภาคเรียนที่ 2 ผู้สอนออกแบบการจัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียนสามารถใช้โครงร่างจากวิชาวิจัยธุรกิจเพื่อใช้เป็นโครงร่างการค้นคว้าอิสระในภาคการศึกษาถัดไป แต่เนื่องจากในระหว่างการเรียนการสอนรายวิชาวิจัยธุรกิจ ระหว่างภาคเรียนนักศึกษาได้รับการกระตุ้นและทวงถามผลของโครงร่างการวิจัยในรายวิชาที่ผู้สอนรับผิดชอบ โดยปราศจากการวางแผนในระหว่างผู้สอนด้วยกัน มีการนัดสอนโดยมิได้มีการลงทะเบียนเรียนภายหลังจากผู้รับผิดชอบสอนรายวิชาวิจัยธุรกิจ เป็นผลให้นักศึกษาไม่ให้ความสนใจในการเรียนทฤษฎีของการวิจัยอย่างถูกต้องนักศึกษาต้องการเริ่มต้นทำงานวิจัยของตนเองโดยยังไม่มีความรู้ในด้านการวิจัยอย่างครบถ้วนตามหัวข้อที่ต้องศึกษา ซึ่งมีลักษณะผู้สอนวิชาวิจัยธุรกิจต้องทำให้นักศึกษาที่เรียนวิชาวิจัยธุรกิจเขียนโครงร่างวิจัยทุกกลุ่มโดยมีผู้ติดตามทวงถามจากผู้เรียน โดยผู้สอนไม่ทราบ
เนื่องผู้สอนเห็นว่าการฝึกทักษะการนำเสนองานวิชาการเป็นทักษะที่ผู้เรียนควรต้องฝึก ระหว่างภาคเรียนจึงได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการเรียนการสอนด้วยการให้นักศึกษานำเสนองานวิจัยภาษาอังกฤษแทนการเขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อนำไปสู่การค้นคว้าอิสระ
ในภาคการศึกษานี้ ผู้สอนจึงได้มีการปรับปรุงวิธีการจัดการเรียนการสอน เพิ่มระยะเวลาการปฏิบัติให้ผู้เรียนฝึกหัดปฏิบัติการทำงานวิจัย การค้นหาปัญหาเพื่อนำไปสู่วัตถุประสงค์ของการวิจัย การใช้เครื่องมือในการวิจัย การใช้เครื่องมือทางสถิติและการวิเคราะห์ ตลอดจนการนำเสนอานวิจัยทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ทั้งนี้ยังมีการปรับปรุงเนื้อหารายวิชา ตัวอย่างของงานวิจัยให้มีความเหมาะสม และทันสมัย สอดคล้องกับการดำเนินการวิจัยในปัจจุบัน
ศึกษาความหมายและความสำคัญของการวิจัย ลักษณะทั่วไปของการวิจัย ขั้นตอนและวิธีดำเนินการวิจัยทางธุรกิจ การเลือกปัญหาวิจัยทางธุรกิจ หลักการและเทคนิคของการวิจัย กำหนดวัตถุประสงค์และตั้งสมมติฐานในการวิจัย การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูลและการแปลความหมายข้อมูล การเขียนรายงานวิจัยทางธุรกิจ และสามารถนำหลักการทำวิจัยมาใช้ได้อย่างมีจริยธรรมในการทำวิจัย
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดตาราง กำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) เป็นรายกลุ่มวิจัย รวมจำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
อาจารย์ประจำรายวิชาจัดตาราง กำหนดวัน เวลา ในการให้คำปรึกษา (Office Hour) เป็นรายกลุ่มวิจัย รวมจำนวน 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และนักศึกษาสามารถขอคำปรึกษาผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์โดยตรงกับอาจารย์ผู้สอนได้ตลอดเวลา
 
บัณฑิตมีภาวะผู้นำ มีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต มีทักษะในการทำงานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ เป็นผู้มีคุณธรรมและจริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มีความรับผิดชอบ รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีจรรยาบรรณวิชาชีพ เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่างๆ ดำรงความเป็นไทย มีจิตอาสาและสำนึกสาธารณะทั้งต่อองค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงสังคมข้ามวัฒนธรรม ดังนั้น อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่อไปนี้ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมไปพร้อมกับวิชาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2)  สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม
1)  กำหนดงานเป็นกลุ่มย่อย เน้นความมีส่วนร่วม และแสดงความคิดเห็น ใช้การสอนแบบสื่อสารสองทาง (Two-way Communication) โดยเปิดโอกาสให้นักศึกษาซักถามในการวิจัยตั้งแต่กระบวนการตั้งปัญหาด้านการวิจัย การทบทวนวรรณกรรมและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การออกแบบการวิจัย การกำหนดประชากรและสิ่งตัวอย่าง วิธีการสุ่มตัวอย่าง การใช้สถิติเพื่อการวิเคราะห์ข้อมูล ตลอดจนการเขียนรายงานการวิจัย
การกำหนดให้นักศึกษาทำงานวิจัยเป็นกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาสามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ผู้สอนกำหนดให้ผู้ร่วมกลุ่มต้องมีการประชุมเพื่อดำเนินการวิจัยแต่ละขั้นตอน แสดงความคิดเห็น และยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น จะให้นักศึกษาบันทึกการประชุม ผลการประชุมกลุ่มวิจัยในแต่ละครั้ง ในแต่ละขั้นตอน แล้วบันทึกภาพเพื่อเป็นหลักฐานประกอบ
2)  จัดกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดจิตสำนึกในการมีคุณธรรม จริยธรรม การทบทวนให้นักศึกษามีจริยธรรมในการทำงานวิจัย ผู้สอนจะทำการตรวจสอบในทุกขั้นตอนการของงานวิจัย ว่า นักศึกษามีความซื่อสัตย์และคุณธรรม มีการอ้างอิงที่มาของข้อความ ข้อมูล มิได้เป็นการคัดลอกเพียงอย่างเดียว การใช้ภาษาเขียนในงานวิจัยจะต้องรับผิดชอบต่อสิ่งที่วิจัย ต้องเคารพศักดิ์ศรี และสิทธิของมนุษย์ที่ใช้เป็นตัวอย่างในการวิจัย และมีการตรวจสอบการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ และมีความรับผิดชอบต่อสังคม
ผู้สอนจะทำการตรวจสอบรายงานก่อนส่งด้วยการให้นักศึกษาส่งรายงานฉบับร่างทางจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ล่วงหน้าเพื่อพิจารณาปรับปรุงแก้ไข ก่อนนำส่งรายงานฉบับจริง หากพบว่ามีการคัดลอก จะให้นักศึกษาปรับปรุงแก้ไข หรือทำใหม่
ผู้สอนยกตัวอย่างกรณีศึกษาที่ผู้วิจัยขาดความรับผิดชอบต่อหน้าที่และการประพฤติที่ผิดจรรยาบรรณของนักวิจัย โดยสอนการนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และให้เคารพความคิดเห็นผู้อื่น ตลอดจนการรับผิดชอบสังคมและประเทศชาติ โดยเน้นการไม่คัดลอกวรรณกรรมของผู้อื่นมาเป็นของตนโดยเด็ดขาด
นอกจากนั้น ผู้สอนยังจะต้องปฏิบัติตนเป็นตัวอย่างให้ความสำคัญต่อจรรยาบรรณวิชาชีพ การมีวินัยเรื่องเวลา การเปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็นและรับฟังความคิดเห็นของนักศึกษา โดยแสดงออกมาในรูปธรรม คือ นักศึกษาเข้าเรียนสายได้ไม่เกิน 30 นาที หากมาสายจะถูกหักคะแนนจิตพิสัย
ในการอภิปรายกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกัน และฝึกฝนการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นทีมและการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าของนักศึกษา
 
นักศึกษาสาขาการจัดการจะต้องมีความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของรายวิชาที่ศึกษาเพื่อสามารถนำไปใช้ในการประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม มาตรฐานการเรียนรู้ครอบคลุมถึง
1)  ประเมินจากผลงานกลุ่มและความมีส่วนร่วมในการนำเสนอ บันทึกสถิตินักศึกษาที่มีการส่งรายงานความก้าวหน้าก่อนวันที่มีการเรียนการสอน 1 วันของทุกสัปดาห์ หรือส่งในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามเวลาที่กำหนด แล้วสังเกตการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่ม การมีส่วนร่วม และบทบาทของสมาชิกกลุ่มในการทำงานวิจัย
ประเมินผลจากการนำเสนอรายงานผลงานวิจัย มีการแบ่งงานกันทำ ประเมินการมีความเคารพต่อกฎ ด้วยการกำหนดให้ต้องส่งหัวข้อการนำเสนอรายงานล่วงหน้าเพื่อจัดลำดับการรายงานหน้าชั้นเรียน แล้วกำหนดให้มีการแบ่งหน้าที่กันภายในกลุ่มออกเป็นหน้าที่ต่างๆ เช่น หัวหน้ากลุ่ม และพิธีกรดำเนินรายการ แล้วทำการประเมินผลจาก
2)  ความเอื้อเฟื้อหรือความมีน้ำใจต่อเพื่อนและครูอาจารย์ การประเมินผลความเอื้อเฟื้อ และความมีน้ำใจ สามารถประเมินจากการสังเกตการทำงานร่วมกันระหว่างสมาชิกกลุ่ม การมีส่วนร่วม และบทบาทของสมาชิกกลุ่มในการทำงานวิจัย สังเกตการณ์ในขั้นตอนของการนำเสนอผลการวิจัย ความมีน้ำใจต่อเพื่อนร่วมวิจัย
มีองค์ความรู้ในสาขาวิชาอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ ตระหนัก รู้หลักการและทฤษฎีในองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องสาหรับหลักสูตรวิชาชีพ มีความเข้าใจเกี่ยวกับความก้าวหน้าของความรู้เฉพาะด้านในสาขาวิชา และตระหนักถึงงานวิจัยในปัจจุบันที่เกี่ยวข้องกับการแก้ปัญหาและการต่อยอดองค์ความรู้ส่วนหลักสูตรวิชาชีพที่เน้นการปฏิบัติ จะต้องตระหนักในธรรมเนียมปฏิบัติ กฎระเบียบ ข้อบังคับที่เปลี่ยนแปลงตามสถานการณ์
นอกจากนี้ บัณฑิตต้องมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษามีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพ อย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษา และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดาเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน มีทักษะในการทางานเป็นทีม สามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพ ตามที่ระบุไว้ดังนี้
1)  มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการวิจัยทางธุรกิจ โดยครอบคลุมเนื้อหาเกี่ยวกับการค้นหาปัญหาการวิจัย จุดประสงค์การวิจัย กระบวนการทำวิจัยธุรกิจ ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ การจัดทำโครงการวิจัยธุรกิจเบื้องต้น สามารถจำแนกประเภทของการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย และสามารถประยุกต์ใช้ระเบียบวิธีการวิจัยอย่างเหมาะสมกับปัญหาธุรกิจที่เกิดขึ้นจริง ตลอดจนสามารถออกแบบการวิจัยได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกับสภาพปัญหาของธุรกิจที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน และมีจรรยาบรรณของนักวิจัย พร้อมที่จะช่วยเหลือผู้อื่นทางวิชาการด้านวิจัยได้
2)  มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน
3)  มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดาเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4)  มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
5)  มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง
มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีศึกษาของงานวิจัยทางธุรกิจ แล้วสามารถนำผลการวิจัยมาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาธุรกิจอื่น โดยสามารถวางแผนการวิจัยโดยเริ่มต้นจากการค้นหาปัญหาการวิจัยที่เกิดขึ้นจริง การควบคุมขั้นตอนการดำเนินการให้สำเร็จลุล่วงได้ตามแผนงานวิจัย การประเมินผลการดำเนินงาน ตลอดจนสามารถวางแผน นำเสนอเผยแพร่ผลงานวิจัย เพื่อที่จะสามารถนำงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ได้ ทั้งนี้เมื่อพบปัญหาในการดำเนินงานวิจัยตามแผน ผู้ศึกษาสามารถเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหา และปรับปรุงแผนงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1)  ใช้การเรียนการสอนในหลากหลายรูปแบบโดยให้ความรู้ทางด้านทฤษฎีควบคู่กับการปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง การให้นักศึกษาได้มีโอกาสทำงานวิจัยคนละ 1 เรื่อง จะทำให้นักศึกษาสามารถพัฒนาการการเรียนรู้ด้านความรู้จากวิธีการแก้ปัญหาหลากหลายรูปแบบ เนื่องจาก การทำงานวิจัย นอกจากผู้วิจัยจักต้องมีความรู้ทางวิชาการแล้ว นักวิจัยควรต้องมีความสามารถด้านอื่น เช่น ความสามารถในการใช้เครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ สื่อออนไลน์ ความสามารถในการบริหารจัดการขั้นตอนการทำวิจัย เนื่องจากในแต่ละขั้นตอนของการทำวิจัยอาจต้องเกี่ยวข้องกับบุคคล หน่วยงานอื่นๆ ที่ต้องใช้ความสามารถ ทักษะหลากหลายด้าน เช่น การติดต่อประสานงาน การพิมพ์หนังสือราชการ การขอคำปรึกษาจากผู้เชี่ยวชาญหรืออาจารย์ที่ปรึกษา เป็นต้น ซึ่งวิธีการต่างๆ นี้จะทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้ว่า การจะทำงานวิจัยให้สำเร็จได้นั้น จำเป็นต้องเรียนรู้ทางทฤษฎี และเรียนรู้การปฏิบัติในสภาพแวดล้อมจริง ทั้งยังต้องสามารถใช้ปฏิภาณไหวพริบในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าอีกด้วย
การให้ผู้เรียนฝึกนำเสนองานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้นักศึกษามีทักษะในการนำเสนอในเชิงวิชาการ ฝึกการนำเสนองานวิจัย และฝึกพูดภาษาอังกฤษ ตลอดจนให้รู้จักบรรยากาศของการนำเสนอผลงานวิชาการ ฝึกการเตรียมตัวนำเสนอ และการแก้ปัญหาจากการนำเสนอ
2)  จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงโดยการศึกษาดูงานหรือเชิญผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ตรงมาเป็นวิทยากรพิเศษ การเก็บรวบรวมข้อมูลงานวิจัย หากเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ จะเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนามจากพื้นที่ที่ทำการศึกษาวิจัย ผู้เรียนหรือนักวิจัยจำเป็นต้องศึกษาปัญหาจากหน่วยธุรกิจ ค้นหาประเด็นปัญหา เขียนโครงร่างงานวิจัยเพื่อนำเสนอวิธีการแก้ปัญหา โดยใช้เครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล แบบสอบถาม หรือแบบสัมภาษณ์ ทั้งนี้ผู้ประกอบการ หรือเจ้าของธุรกิจจะเป็นผู้บอกเล่าถึงประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ ปัญหาและอุปสรรคในธุรกิจ เพื่อเป็นให้ผู้วิจัยสามารถออกแบบการวิจัยได้อย่างเหมาะสมกับธุรกิจจริง
3)  จัดการฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการ เพื่อให้เข้าถึงปัญหาของหน่วยธุรกิจ นอกจากการสอบถาม หรือสัมภาษณ์ผู้ประกอบการหรือเจ้าของธุรกิจแล้ว ผู้วิจัยอาจได้รับทราบปัญหา และข้อมูลจากการเข้าไปฝึกปฏิบัติงานในหน่วยธุรกิจนั้นๆ เพื่อให้ผู้วิจัยเข้าใจปัญหา และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างตรงประเด็น ทั้งยังสามารถนำวิธีการแก้ปัญหาสร้างเป็นงานวิจัยเพื่อเป็นกรณีศึกษาให้กับหน่วยธุรกิจอื่นได้
1)  การสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน การทดสอบกลางภาคเรียนและปลายภาคเรียน จะเป็นการทดสอบความรู้ความสามารถทางทฤษฎีในวิจัยธุรกิจ ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ทางทฤษฎีก่อนที่จะลงมือปฏิบัติทำงานวิจัยได้อย่างมีหลักการทางวิทยาศาสตร์และสามารถค้นหาวิธีการแก้ปัญหาธุรกิจได้ ความรู้ทางทฤษฎีทั้งในเรื่องของกระบวนการทำวิจัยธุรกิจตามขั้นตอน การจัดทำโครงการวิจัย การออกแบบการวิจัย การเลือกตัวอย่าง การเก็บรวบรวมข้อมูล การวิเคราะห์ข้อมูล และการจัดทำรายงานวิจัย
2)  ประเมินจากงานที่มอบหมายนักศึกษา การส่งรายงานความก้าวหน้างานวิจัย ก่อนวันที่มีการเรียนการสอน 1 วันของทุกสัปดาห์ หรือส่งในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ตามเวลาที่กำหนด ใช้ในการประเมินความตรงต่อเวลา และคุณภาพของงาน โดยจะกำหนดคะแนนในแต่ละขั้นตอนไว้เพื่อให้นักศึกษาพัฒนาคุณภาพการทำงาน
3)  ประเมินจากการนำเสนอผลงานวิจัย เมื่อนักศึกษาดำเนินตามขั้นตอนกระบวนการวิจัยจนเสร็จสิ้นแล้ว จะต้องรายงานผลงานวิจัย เพื่อนำเสนอผลการศึกษาวิจัย ผู้สอนจะประเมินคุณภาพของงานวิจัยจากการวัดความรู้ในงานวิจัย และความรู้ในหน่วยธุรกิจที่ศึกษา ด้วยการสังเกตจากการนำเสนอข้อมูลงานวิจัยที่ครอบคลุมทั้งในแง่ของทฤษฎีและข้อมูลเชิงประจักษ์ การตอบข้อซักถามและการประยุกต์ทฤษฎีกับกรณีศึกษาหน่วยธุรกิจ โดยสามารถอธิบายตัวแปรเหตุ และตัวแปรผลได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์ และสามารถนำเสนอแนวคิดเพื่องานวิจัยกับหน่วยธุรกิจอื่นได้ 
ประเมินผลการนำเสนองานวิจัยเป็นภาษาอังกฤษ จากประสิทธิภาพของการนำเสนอทั้งในด้านทักษะทางวิชาการในการทำความเข้าใจในงานวิจัย ทักษะทางภาษาทั้งทักษะการพูด การอ่าน การฟัง และการเขียน ตลอดจนการตอบคำถามเป็นภาษาอังกฤษ ตลอดจนการประเมินวิธีแก้ปัญหาการนำเสนอ
1)  สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง
2)  สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ
3)  คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป
4)  สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ
การวิจัยธุรกิจ เป็นการทำให้นักศึกษาสามารถประมวลความรู้ทั้งหมดที่ได้ศึกษาในสาขาวิชาต่างๆ เช่น ความรู้ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการองค์กร การตลาด เศรษฐศาสตร์ บัญชี และสาขาวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง นอกจากนั้น นักศึกษายังต้องมีความสามารถในการสืบค้นข้อมูลเพื่อใช้เป็นข้อมูลสนับสนุนงานวิจัย เช่น เอกสาร ตำรา งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูลดังกล่าวอาจสืบค้นได้จาก สื่ออิเล็กทรอนิกส์ เอกสาร สิ่งพิมพ์ จากหน่วยงาน ซึ่งจำเป็นต้องใช้ทักษะทางปัญญาเพื่อให้มาซึ่งข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้นักวิจัยยังต้องสามารถจำแนกข้อมูลที่รวบรวมได้ จัดระเบียบให้อยู่ในรูปแบบของการนำเสนอ เช่น ตาราง สถิติ แผนภาพ แผนภูมิ เป็นต้น อันจะทำให้ผู้อ่าน หรือผู้สนใจเข้าใจในข้อมูลที่เก็บรวบรวม และสามารถนำข้อมูลที่จัดระเบียบมาใช้ประโยชน์ในการทำงานวิจัยต่อไปได้
นอกจากนี้ ผู้วิจัยยังต้องสามารถจำแนกข้อมูลที่จัดระเบียบแล้วให้อยู่ในรูปแบบทางวิทยาศาสตร์ คือตัวแปรเหตุ และตัวแปรผล และสอดคล้องกับหลักทฤษฎีที่ผู้วิจัยสนใจศึกษา สามารถในการคิดค้นตัวแบบ (Model) ที่ใช้ในการแก้ปัญหาหน่วยธุรกิจ และสามารถประยุกต์ใช้ตัวแบบที่ค้นพบกับปัญหาหน่วยธุรกิจอื่นได้
1)  กรณีศึกษาทางการจัดการ โครงงาน งานวิจัย และกำหนดให้นักศึกษาวางแผนการทำงานเป็นทีม การทำโครงงาน หรืองานวิจัย 1 เรื่อง จะมีสมาชิกกลุ่มละ 2 คน เพื่อให้นักศึกษารู้จักการทำงานเป็นทีม และมีการแบ่งงานกันทำ เสริมสร้างความสามัคคีให้เกิดขึ้นกับทีม การเขียนงานวิจัย เป็นการเขียนในเชิงวิชาการ จะเป็นการฝึกหัดให้นักศึกษาที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการเขียนบทความในเชิงวิชาการ ฝึกคิดบนพื้นฐานของเหตุและผล (Logic) นำมาวิเคราะห์ค้นหาตัวแปรเหตุที่กำหนดตัวแปรผล แล้วสามารถสร้างเป็นตัวแบบทางคณิตศาสตร์ที่ใช้อธิบายพฤติกรรมของหน่วยธุรกิจ ในการอธิบายสภาพความเป็นไปของสถานประกอบการ การบริหารจัดการ การบัญชี เศรษฐศาสตร์ และการตลาด
นอกจากนี้ นักศึกษายังต้องสามารถแบ่งเวลาระหว่างการศึกษาทฤษฎีในห้องเรียน และการแบ่งเวลาให้กับการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองในการศึกษาค้นคว้าเพื่อทำงานวิจัย แล้วนำความรู้ที่ได้มาประยุกต์ใช้กับงานวิจัย ซึ่งต้องใช้เวลานอกเหนือจากการศึกษาในห้องเรียน รู้จักการติดต่อประสานงานองค์กร การนัดหมายบุคคลสำคัญ และการฝึกแก้ปัญหาเฉพาะหน้าหากเกิดปัญหาต่างๆ ในระหว่างปฏิบัติงาน
2)  มีการอภิปรายเพื่อสรุปประเด็นผลการศึกษาและปัญหาที่เกิดขึ้น รวมทั้งการเสนอแนวทางแก้ไข การทำงานวิจัยธุรกิจ เริ่มต้นจากสถานประกอบการใกล้ตัวนักศึกษา จะทำให้นักศึกษารู้ปัญหาที่เกิดขึ้นจริงนอกเหนือจากการบอกเล่าในตำรา การได้รับฟังประสบการณ์จากผู้ประกอบการโดยตรง จะทำให้ผู้วิจัยเข้าถึงปัญหาของธุรกิจนั้นๆ ทำให้ผู้วิจัยสามารถก่อเกิดความคิดในการแก้ปัญหา ดังนั้น การเปิดโอกาสให้นักศึกษานำเสนอผลการวิจัยจะเป็นเวทีที่ให้นักศึกษาได้กล้าแสดงความคิดความเห็นต่อประเด็นปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม และเสนอแนะแนวคิดในการแก้ปัญหาธุรกิจต่อหน่วยธุรกิจนั้นได้ และยังเป็นการปลูกฝังธรรมชาติของนักศึกษาให้รู้จักเป็นคนช่างคิดแบบสร้างสรรค์ให้กับนักศึกษาในยุกต์ข้อมูลข่าวสารได้อีกด้วย
นอกจากนั้น การให้นักศึกษาได้มีโอกาสแสดงความคิดความเห็น ด้วยวิธีการนำเสนอผลการวิจัย จะเป็นการฝึกการพูดในที่สาธารณะ การพูดเชิงวิชาการ การจัดการนำเสนอ การใช้ภาษาในการนำเสนอ ฝึกการใช้ทักษะในการติดต่อประสานงานและการเตรียมการ ฝึกการสรุปความคิดและนำเสนอตามหลักเหตุและผล ฝึกการใช้สื่ออุปกรณ์นำเสนออย่างเหมาะสมกับข้อมูล เหมาะสมกับผู้ฟัง เหมาะสมกับโอกาสและระยะเวลา
3)  เน้นถึงศาสตร์และศิลป์ รวมถึงรูปแบบในการนำเสนอผลงาน และให้นักศึกษาได้มีการนำเสนอผลงานจริง การนำเสนอผลการวิจัย ทำให้นักศึกษาได้เรียนรู้วิธีการบริหารจัดการ ต้องใช้ความสามารถ ทักษะที่หลากหลายทั้งศาสตร์และศิลป์ เพื่อให้การดำเนินงานสำเร็จลุล่วง เช่น การติดต่อประสานงานบุคคลสำคัญ อาจารย์ผู้เข้าร่วมฟัง การตระเตรียมอุปกรณ์ หรือสื่อนำเสนอ ภาพประกอบ ตัวอย่างจริง หรือแบบจำลอง เพื่อเสริมสร้างความเข้าใจแก่ผู้ฟังการนำเสนอ การลำดับการนำเสนอ การบริหารเวลา การโน้มน้าวความสนใจจากผู้ฟัง การแบ่งหน้าที่ในการนำเสนอ การจัดเตรียมสื่อสิ่งพิมพ์ ตลอดจนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1)  ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา การนำเสนอรายงานผลการวิจัย นักศึกษาต้องใช้ทักษะทางปัญญาที่หลากหลาย ทั้งในด้านความสามารถในทางวิชาการ การติดต่อประสานงาน และการบริหารจัดการ ผู้สอนจะสามารถประเมินผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญาจากกิจกรรมนี้ได้อย่างครอบคลุม กล่าวคือ ประเมินจากคุณภาพของงานวิจัย ประเมินได้จาก ความรู้ความเข้าใจในงานวิจัย การตอบข้อซักถาม การประเมินความสามารถในการติดต่อประสานงานตั้งแต่การเริ่มต้นแจ้งอาจารย์และผู้เข้าร่วมประชุมทราบล่วงหน้า ตลอดจนในวันที่มีการประชุม ซึ่งจะประเมินได้จากจำนวนผู้เข้าฟังการนำเสนอผลงานวิจัย การประเมินความสามารถในการบริหารจัดการ ตั้งแต่การแจ้งให้ผู้เข้าร่วมประชุมทราบ การดำเนินการประชุม การลำดับการประชุม การควบคุมเวลาระหว่างประชุม รวมไปจนถึงการโน้มน้าวให้ผู้ฟังรับฟังการนำเสนอจนจบ
2)  ประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ ในการทดสอบความรู้ด้านวิชาการหรือทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจัยธุรกิจ เป็นการประเมินว่านักศึกษามีความรู้ในกระบวนการวิจัย ความรู้ในเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย สถิติที่ใช้ในการวิจัย เพื่อนักศึกษามีกระบวนการความคิดอย่างมีหลักการเหตุและผล สามารถค้นหาตัวแปรเหตุและตัวแปรผลได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง สามารถเลือกใช้วิธีเก็บรวบรวมข้อมูล สร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล ตลอดจนเลือกใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
3)  ประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา  การทำโครงงานเป็นการบูรณาการความรู้ต่างๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกัน เช่น เศรษฐศาสตร์จุลภาค การบริหารธุรกิจ การวางแผน การจัดการ การแบ่งงานกันทำ การจัดสรรทรัพยากร วัตถุดิบ บุคลากร และเวลาเพื่อใช้สำหรับการทำงานวิจัย การประเมินจากผลงาน รายงานการวิจัย และการปฏิบัติงานของนักศึกษาจะเป็นตัวชี้วัดที่จะสามารถประเมินคุณภาพของการทำงานในทุกส่วนที่เกี่ยวข้อง 
มีส่วนช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะเป็นผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม สามารถแสดงออกซึ่งภาวะผู้นำในสถานการณ์ที่ไม่ชัดเจน และต้องใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ในการแก้ปัญหา มีความคิดริเริ่มในการวิเคราะห์ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม รับผิดชอบในการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งพัฒนาตนเองและอาชีพ นอกจากนี้ นักศึกษา ต้องมีความใฝ่รู้ มีความสามารถในการติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการอย่างต่อเนื่องเพื่อพัฒนาตนเองและอาชีพ สามารถคิดอย่างมีวิจารณญาณ มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ สามารถประยุกต์ สามารถสรุปประเด็นปัญหา และบูรณาการความรู้สู่การปฏิบัติ สามารถช่วยและเอื้อต่อการแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสมบนพื้นฐานของตนเองและของกลุ่ม เข้าใจการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบของเทคโนโลยี ดังนั้น อาจารย์ต้องสอดแทรกวิธีการที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติต่างๆ ต่อไปนี้ระหว่างการสอน
1)  มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้
2)  มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม
3)  มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน
4)  มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
1)  มอบหมายงานที่ต้องใช้การติดต่อประสานงานกับบุคคลอื่นๆ ทั้งภายในและภายนอกสถาบันการศึกษา
2)  ใช้การสอนโดยสอดแทรกความรู้เกี่ยวกับหลักมนุษยสัมพันธ์และมารยาททางสังคมที่ดีของวัฒนธรรมต่างๆ ในเนื้อหารายวิชาที่เกี่ยวข้อง
3)  จัดให้นักศึกษาได้ทากิจกรรมเป็นกลุ่ม โดยเปลี่ยนบทบาทให้มีโอกาสเป็นทั้งผู้นำและผู้ตาม
4)  จัดให้นักศึกษาได้ทำกิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและการอภิปรายเพื่อหาข้อสรุป
5)  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้ทักษะด้านการสื่อสารระหว่างบุคคลทั้งภายในสถาบันการศึกษาและภายนอกสถาบันการศึกษา
6)  มีการมอบหมายงานที่ต้องใช้การระดมความคิดและร่วมกันทำงาน
การทำงานวิจัยให้สำเร็จลุล่วงได้นั้น นอกจากจะเป็นกระบวนการที่ทำให้เกิดกระบวนการเรียนรู้ในเรื่องที่ทำงานวิจัยแล้ว ผู้วิจัยยังได้เรียนรู้กับทักษะที่จะทำให้กระบวนการของงานวิจัยนั้นสำเร็จลุล่วง ซึ่งอาจเป็นทักษะที่เกี่ยวหรือไม่เกี่ยวเนื่องกับองค์ความรู้ทางวิชาการ เช่น การติดต่อประสานงานกับบุคคล หรือหน่วยธุรกิจที่ทำวิจัย ในขั้นตอนของการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งอาจต้องมีการติดต่อประสานงานล่วงหน้า อาจต้องร่างจดหมายราชการเพื่อขออนุญาตเข้าสัมภาษณ์หรือเก็บข้อมูล อาจต้องมีการนัดหมายล่วงหน้า การใช้คำพูดทางการในการสัมภาษณ์ ตลอดจนการเตรียมความพร้อมในข้อมูลของหน่วยธุรกิจที่ต้องการเก็บข้อมูลก่อนการเข้าสัมภาษณ์ เช่น ประวัติความเป็นมาของหน่วยธุรกิจ โครงสร้างการบริหารงาน หรือสินค้าและบริการของหน่วยธุรกิจนั้นๆ
ดังนั้น ทักษะการติดต่อประสานงานที่ผู้วิจัยพึงมีจะทำให้การเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และได้รับข้อมูลที่ครบถ้วนสมบูรณ์
1)  ประเมินจากพฤติกรรมในการทำกิจกรรมระหว่างนักศึกษาในกลุ่ม การทำงานวิจัย เป็นการทำงานที่มีเป้าหมายเดียวกันในขณะที่ต่างคนอาจมีความคิดเห็นที่แตกต่างกัน การยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างกันและหาข้อยุติจากความแตกต่าง ความสามารถในการทำงานเป็นทีมและความร่วมมือกันในระหว่างสมาชิกกลุ่มผู้วิจัยจะสามารถประเมินได้จากการสังเกตการทำงานในแต่ละขั้นตอนของการรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย ว่าผู้วิจัยมีการแบ่งงานกันทำ และการยอมรับฟังความคิดเห็นของเพื่อนและอาจารย์ และยินดีปรับปรุงแก้ไข และกล้าที่จะแสดงความคิดเห็นหากมีความคิดเห็นที่แตกต่าง
2)  ประเมินจากผลงานของนักศึกษาทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ความสามารถในการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล และความรับผิดชอบสามารถสังเกตได้จากพฤติกรรมการทำกิจกรรมทั้งรายบุคคลและรายกลุ่ม ผู้สอนสามารถประเมินทักษะในการทำงานเป็นทีม การยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น การให้ความร่วมมือ และความรับผิดชอบในหน้าที่
3)  มีการร่วมประเมินทั้งอาจารย์และนักศึกษา ถึงแม้การทำงานวิจัยจะนักศึกษาเป็นผู้วิจัยหลัก งานวิจัยจะสำเร็จไปมิได้หากไม่ได้รับความร่วมมือจากอาจารย์ ที่ให้คำปรึกษาให้งานวิจัยของนักศึกษาดำเนินไปอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามขั้นตอน
สามารถศึกษาและทำความเข้าใจในประเด็นปัญหา สามารถเลือกและประยุกต์ใช้เทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสมในการศึกษาค้นคว้า และเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหา ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประมวลผล แปลความหมาย และนำเสนอข้อมูลสารสนเทศอย่างสม่ำเสมอ สามารถสื่อสารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งในการพูด การเขียน สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสาหรับกลุ่มบุคคลที่แตกต่างกันได้
นอกจากนี้ นักศึกษาต้องมีความรู้ในสาระสำคัญของศาสตร์ที่ศึกษา มีความเชี่ยวชาญในวิชาชีพอย่างกว้างขวางและเป็นระบบ สามารถเรียนรู้หลักการและทฤษฎีทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้องอย่างเหมาะสม สามารถเรียนรู้และประยุกต์ใช้หลักการตามศาสตร์ที่ศึกษา และบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาชีพ สามารถแข่งขันได้ในระดับสากล รวมทั้งมีทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร ภาษาและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ สามารถเลือกใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสม เพื่อพัฒนาตนเอง สังคม และชุมชน
1)  สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน ดังนั้น การที่ผู้วิจัยจะสามารถอธิบายตัวแปรจากหน่วยธุรกิจ นอกจากต้องมีความรู้ในทฤษฎีของเหตุผลแล้ว ผู้วิจัยจะต้องสามารถนำตัวแปรเหตุมาใช้อธิบายตัวแปรผล สร้างเป็นตัวแบบหรือแบบจำลอง (Model) ทางคณิตศาสตร์ ซึ่งต้องใช้ความสามารถด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข เพื่อใช้วิเคราะห์ปรากฏการณ์ของหน่วยธุรกิจบนแบบจำลองที่สร้างขึ้น สามารถถ่ายทอดหรือสื่อสารให้ผู้สนใจหรือผู้อ่านเข้าใจในแบบจำลองด้วยวิธีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
2)  สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ การนำเสนอรายงานการวิจัยจากประเด็นปัญหาทางธุรกิจ จะเป็นสิ่งที่อธิบายความเข้าใจของนักศึกษา หรือผู้วิจัย แล้วสามารถถ่ายทอดอธิบายให้ผู้ฟังเข้าใจปัญหา สาเหตุของปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ การนำเสนอที่ดียังสามารถนำเสนอความคิดให้ผู้ฟังมองเห็นความสำคัญของปัญหา และสามารถสร้างแนวคิดในการแก้ปัญหาด้วยการสร้างงานวิจัยจากปัญหาที่มีลักษณะคล้ายคลึงกันได้
3)  สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4)  สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์
5)  สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่างๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือสถานการณ์เสมือนจริง และนำเสนอแนวทางการแก้ปัญหาที่เหมาะสม การวิเคราะห์ข้อมูลในงานวิจัยต้องใช้ทักษะการเรียนรู้ด้านการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การทำให้ผู้เรียนได้เข้าใจถึงวิธีการทางคณิตศาสตร์และสถิติที่นำไปใช้กับงานวิจัยอย่างเหมาะสม ด้วยการเน้นในเรื่องของกระบวนการวิจัยที่ต้องมีคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์ เช่น ที่มาของกลุ่มตัวอย่างและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง การตั้งสมมติฐานและการพิสูจน์ และการเลือกสถิติที่ใช้วิเคราะห์
ในการขั้นตอนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เพื่อให้ผู้ที่สนใจเข้าใจในสิ่งที่ผู้วิจัยต้องการสื่อสาร ผู้สอนจะเน้นในเรื่องของเครื่องมือหรือเทคนิคในการนำเสนอข้อมูลอย่างเหมาะสมกับประเภทของข้อมูล เช่น การนำเสนอในรูปแบบพรรณนา ตาราง แผนภาพ แผนภูมิ รูปแบบ เป็นต้น ทั้งยังเน้นให้ผู้เรียนเลือกช่องทางในการสื่อสารได้อย่างเหมาะสม เช่น การนำเสนอผ่านโปรแกรมนำเสนองาน สื่ออิเล็กทรอนิกส์ออนไลน์ หรือสื่อเอกสารสิ่งพิมพ์
2)  ให้นักศึกษาได้เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ได้ เมื่อนักศึกษามีทักษะเชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแล้ว ผู้สอนจะใช้กลยุทธ์ในการทำให้สามารถเรียนรู้เทคนิคในการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ ด้วยการให้นักศึกษาพิสูจน์ข้อสมมติฐานของการวิจัย และทดลองตั้งสมมติฐานกับหน่วยธุรกิจในสถานการณ์ต่างๆ เพื่อพิสูจน์ข้อสมมติฐานดังกล่าว
3)  มีการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ การนำเสนอผลงานวิจัย นอกจากต้องมีความรู้ในงานวิจัยเป็นอย่างดีแล้ว ยังต้องมีทักษะในการนำเสนอที่หลากหลาย เช่น ทักษะการใช้ภาษา ทักษะการโน้มน้าว ความสามารถในการสื่อสารให้ผู้อื่นเข้าใจ และทักษะการเลือกใช้สื่อ
1)  ประเมินจากการอธิบายหลักการเข้าถึงข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
2)  ประเมินจากการสรุปและอภิปรายงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกัน
3)  ประเมินจากผลงานและการนำเสนอผลงานด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
4)  ประเมินจากการทดสอบ
บัณฑิตแสดงออกถึงทักษะในการนำความรู้มาบูรณาการกับการปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและเที่ยงตรง มีทักษะในการคิด วิเคราะห์ การประยุกต์ใช้องค์ความรู้มาแก้ไขปัญหา เพื่อพัฒนาตนเอง องค์กร ชุมชน และสังคม สามารถปรับตัวให้เข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน และสังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม
1)  สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม
2)  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง
3)  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต
4)  สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต
5)  สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล
6)  สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย
1)  จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2)  จัดกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3)  จัดกิจกรรมเกี่ยวกับการสร้างความเข้าใจในกระบวนการบริหารธุรกิจ ด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและการผลการดำเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์
4)  จัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน
5)  จัดกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง
6)  จัดกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
1)  ผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา จากการจำลอง หรือสถานการณ์จริง และความสามารถในการนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม
2)  พฤติกรรมที่แสดงออก ในการเข้าร่วมกิจกรรม ที่ส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม
3)  พฤติกรรมที่แสดงออกจากการเข้าฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการ ตามหลักบูรณาการ การเรียนการสอนกับการทำงาน
4)  การนำเสนอผลงาน หรือโครงงาน โดยการเลือกใช้ภาษา การสื่อสารในบริบทต่าง ๆ เพื่อคิดวิเคราะห์ แก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม
5)  นักศึกษาสามารถใช้เทคนิคการประยุกต์ การวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ บนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลขได้
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ผลการเรียนรู้ด้านความรู้ 3. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา 4. ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-on)
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1.5 มีจิตสำนึกและมีมโนธรรมที่แยกแยะความถูกต้อง ความดีและความชั่ว 1.6 สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม 2.1 มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2.2 มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 2.3 มีความรู้ความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดาเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 2.4 มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 2.5 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง 3.1 สืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 3.2 สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 3.3 คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 3.4 สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ 4.1 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 4.2 มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 4.3 มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4.4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 5.1 สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 5.2 สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ 5.3 สื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 5.4 สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5.5 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 6.1 สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม ด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลองหรือ สถานการณ์เสมือนจริง และนาเสนอแนวทางแก้ปัญหาที่เหมาะสม 6.2 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง ด้วยการกิจกรรมในรายวิชาเพื่อส่งเสริมให้นักศึกษามีจิตสาธารณะ บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคมและตระหนักในคุณค่าของคุณธรรม จริยธรรม 6.3 สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดให้นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์ในสถานประกอบการตามหลักบูรณาการการเรียนการสอนกับการทำงาน 6.4 สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผลด้วยการกิจกรรมให้นักศึกษาได้เข้าร่วมในการบริการวิชาการแก่สังคม ร่วมกับอาจารย์และผู้เกี่ยวข้อง 6.5 ปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย ด้วยการกิจกรรมที่ให้นักศึกษาได้ฝึกใช้ภาษาไทยและภาษาต่างประเทศในการสื่อสารในสถานการณ์และวัฒนธรรมที่หลากหลาย
1 BBABA206 วิจัยธุรกิจ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 คุณธรรมจริยธรรม 1) มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นรวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ 2) สามารถวิเคราะห์ผลกระทบจากการใช้คอมพิวเตอร์ต่อบุคคล องค์กรและสังคม กิจกรรม "การทำงานวิจัยธุรกิจ" จะเป็นการประมวลความรู้ทั้งหมดของการศึกษาสาขาบริหารธุรกิจเพื่อนำไปสู่การเป็นบัณฑิตที่สามารถปฏิบัติงานในหน่วยธุรกิจหรือสร้างหน่วยธุรกิจของตนเอง โดยการปลูกฝังทัศนคติที่ดีต่อการทำธุรกิจ การเคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น และเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์อย่างเท่าเทียมกันจากธรรมชาติของผู้ประกอบการที่นักศึกษาเข้าไปศึกษาวิจัย อีกทั้งตลอดทั้งกระบวนการวิจัยยังต้องใช้ความสามารถในการวิเคราะห์ข้อมูลข่าวสารจากสื่อคอมพิวเตอร์ที่มีผลต่อผู้ใช้ประโยชน์หรือผู้สืบค้น ในการอ้างอิงงานวิจัยที่เกี่ยวข้องมีความจำเป็นต่อจรรยาบรรณความเป็นนักวิจัย ตลอดปีการศึกษา 10%
2 ผลการเรียนด้านความรู้ 1) มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการ ทฤษฎี และการปฏิบัติที่สำคัญในเนื้อหาของสาขาวิชาที่ศึกษา สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตร์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อย่างเหมาะสม และพัฒนาความรู้ ติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการได้อย่างต่อเนื่อง 2) มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เกี่ยวข้องประยุกต์ใช้ความรู้ ทักษะ ในการวิเคราะห์ปัญหา เข้าใจและอธิบายความต้องการที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ศึกษา รวมทั้งประยุกต์ความรู้ทักษะและสามารถเลือกใช้เครื่องมือที่เหมาะสมกับการแก้ปัญหาและการดำรงชีวิตประจำวัน 3) มีความรู้และความเข้าในในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ ในด้านการวางแผน การจัดโครงสร้างองค์การ การปฏิบัติการ การควบคุมและผลการดาเนินงาน รวมทั้งการปรับปรุงแผนงานให้สอดคล้องกับสถานการณ์ 4) มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน 5) มีประสบการณ์ในการพัฒนาและ/หรือการประยุกต์ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในงานได้จริง 1) การรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย 2) การสรุปองค์ความรู้ที่ได้จากทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 3) การเลือกธุรกิจที่สนใจ 4) การสรุปรายงานความก้าวหน้าของงานวิจัย สัปดาห์ที่ 2-17 20%
3 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะปัญญา 1) สามารถสืบค้น ตีความ วิเคราะห์ข้อมูล และประเมินสารสนเทศ จากหลายแหล่ง เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ ตามสถานการณ์แวดล้อมทางธุรกิจ และการตัดสินใจอย่างเหมาะสมด้วยตนเอง 2) สามารถคิดค้นทางเลือก วิเคราะห์ทางเลือก และผลกระทบจากทางเลือกอย่างรอบด้าน มีความสามารถในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ ทำให้เกิดการได้เปรียบทางการแข่งขันทางธุรกิจ 3) คิดอย่างมีวิจารณญาณและเป็นระบบ สร้างสรรค์ และมีเหตุผลสามารถบูรณาการความรู้จากสาขาวิชาชีพที่ศึกษา และประสบการณ์เพื่อใช้ในการแก้ปัญหาทางธุรกิจและสถานการณ์ทั่วไป 4) สามารถรวบรวม ศึกษา วิเคราะห์ และสรุปประเด็นปัญหาและความต้องการ ประเมินจากการนำเสนอโครงงาน รายงานการวิจัย อภิปรายกรณีศึกษา และประเมินจากการทดสอบโดยใช้แบบทดสอบ โดยออกข้อสอบที่ให้นักศึกษาแก้ปัญหา อธิบายแนวคิดการแก้ปัญหา และวิธีการแก้ปัญหาโดยการประยุกต์ความรู้ที่เรียนมา ซึ่งจะต้องหลีกเลี่ยงข้อสอบที่เป็นการเลือกตอบที่ถูกมาคำตอบเดียวจากกลุ่มคาตอบที่ให้มา รวมถึงประเมินจากผลงานและการปฏิบัติงานของนักศึกษา สัปดาห์ที่ 16 30%
4 1) มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นทีมอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟัง และเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งสามารถแก้ไขข้อขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม และสามารถปรับตัวเชิงวิชาชีพได้ 2) มีความสามารถในการแสดงความคิดริเริ่ม แสดงความคิดเห็นต่าง และแสดงความคิดเห็นใหม่ ๆ ได้อย่างสร้างสรรค์ เอื้อต่อการแก้ไขปัญหาของทีม สามารถใช้ความรู้ในศาสตร์มาช่วยเหลือสังคมในประเด็นที่เหมาะสม 3) มีความสามารถในการประสานงาน การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบพร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอานวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ในการแก้ปัญหาสถานการณ์ต่างๆ ทั้งในบทบาทของผู้นำและในบทบาทของผู้ร่วมทีมทำงาน 4) มีความรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเอง และทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง 1) ความครบถ้วนของประเด็นหัวข้อในแต่ละกระบวนการงานวิจัย ที่ส่งมาจากความก้าวหน้าของงานวิจัย 2) การอธิบายทฤษฎีที่เกี่ยข้องกับงานวิจัยของตนเองได้อย่างชัดเจน และสอดคล้องกับปัญหาของหน่วยธุรกิจ อีกทั้งสามารถนำเสนอแนวทางแก้ไขปัญหาธุรกิจจากผลการวิจัยได้อย่างเหมาะสมและตรงตามทฤษฎี 3) การรายงานสรุปความก้าวหน้าของการวิจัยจะแสดงถึงประสิทธิภาพของการประสานงาน การแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ การให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกจากสมาชิกในกลุ่ม การดำเนินทุกกระบวนการวิจัยครบถ้วนและส่งได้ตามกำหนดเวลา สัปดาห์ที่ 2-16 10%
5 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 1) สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์ สถิติ การวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจทางธุรกิจ และชีวิตประจำวัน 2) สามารถสื่อสารเพื่ออธิบาย และสร้างความเข้าใจ โดยใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการ เครื่องมือสื่อสารและเทคโนโลยีได้อย่างถูกต้อง ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงาน และการนำเสนอด้วยวาจาที่เหมาะสมอย่างมีประสิทธิภาพ และสร้างสรรค์ 3) สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศที่จำเป็นต่อการทำธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 4) สามารถแนะนำประเด็นการแก้ปัญหาโดยใช้สารสนเทศทางคณิตศาสตร์หรือการแสดงสถิติประยุกต์ต่อปัญหาที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสรรค์ 5) สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างเหมาะสม และสามารถนำเทคโนโลยีไปใช้สนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ การรายงานสรุปความก้าวหน้าของงานวิจัย ในทุกกระบวนการ ได้แก่ ที่มาและความสำคัญของปัญหา การกำหนดวัตถุประสงค์ การตั้งสมมติฐาน คำถามงานวิจัย ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและการอ้างอิง ระเบียบวิธีวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง การเลือกและจำนวนกลุ่มตัวอย่าง การสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูลภาคสนาม การวิเคราะห์ข้อมูลและการใช้สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ การอภิปรายผลอย่างสอดคล้องกับทฤษฎีที่ใช้ ตลอดจนการนำเสนอความคิดของตนเองอันเกิดประโยชน์ต่อการดำเนินธุรกิจ สัปดาห์ที่ 17 20%
6 ผลการเรียนรู้ทักษะในการปฏิบัติงานในวิชาชีพได้อย่างมืออาชีพ (Hands-On) 1) สามารถปฏิบัติงานโดยนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม 2) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้องค์ความรู้และประสบการณ์ในศาสตร์ที่ศึกษามาใช้เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ นามาใช้แก้ไขปัญหา ค้นคว้าวิจัย ตลอดจนพัฒนาตนเอง ชุมชน และสังคมได้อย่างถูกต้อง 3) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต 4) สามารถปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดำเนินชีวิต 5) สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล 6) สามารถปฏิบัติงานโดยยึดถือแนวทางความคิด วิเคราะห์ บนพื้นฐานของความเป็นไทย การประเมินจากรายงานสรุปความก้าวหน้าของงานวิจัย ในชั้นตอนของการสรุปผลการศึกษาและข้อเสนอแนะ จะเป็นการประเมินความสามารถในการนำองค์ความรู้มาบูรณาการร่วมกับศาสตร์ที่ศึกษาได้อย่างเหมาะสม เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของธุรกิจ อีกทั้งสะท้อนปรับตัวเข้าสู่สังคมชีวิต สังคมการทำงาน สังคมข้ามวัฒนธรรมได้อย่างเหมาะสม และมีความพอเพียงในการดาเนินชีวิต สามารถปฏิบัติงานโดยใช้ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์อย่างเป็นระบบแก้ปัญหาเชิงบูรณาการได้ด้วยการคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ ตีความอย่างมีเหตุผล สัปดาห์ที่ 17 10%
สรชัย  พิศาลบุตร. (2553). การวิจัยทางธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: บริษัทจูน พับลิชชิ่ง จำกัด.
วัชราภรณ์ สุรยาภิวัฒน์. (2550). วิจัยธุรกิจยุคใหม่. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกสารประกอบการสอนวิชาวิจัยธุรกิจ อ.นภาพร สนองบุญ
ฐานข้อมูล ThaiLis
เว็บไซต์ห้องสมุดทุกมหาวิทยาลัย
เว็บไซต์ ของ สกว.
http://www.csubak.edu/ssric/  ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
http://www.Library.miami.edu/data/ ความรู้เกี่ยวกับโปรแกรมสำเร็จรูป SPSS
http://trochim.human.cornell.edu ให้ความรู้เกี่ยวกับระเบียบวิธีวิจัย (Research Methods)
http://www.sosig.ac.uk  ให้ความรู้ด้านสังคมศาสตร์ครบทุกด้าน
http://www.ats.ucla.edu/
http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=ec111
http://www.econ.tu.ac.th/?action=journal-all&menu=26&type=journal-all&pgmenu=77
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวความคิดและความคิดเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้
1)  การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
2)  แบบประเมินผู้สอนและแบบประเมินรายวิชา
3)  ข้อเสนอแนะจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ที่อาจารย์ผู้สอนใช้เป็นช่องทางการสื่อสารกับผู้เรียน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้
1)  การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
2)  ผลการเรียนของนักศึกษา
3)  การทวนสอบผลการประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
1)  เมื่อได้ผลการประเมินสอนนำข้อมูลมาวิเคราะห์แนวทางปรับปรุงพัฒนาการเรียนการสอนให้ดียิ่งขึ้น โดยปรับปรุงเนื้อหาที่สอน และวิธีการวัดผลและประเมินผล
2)  สัมมนาการจัดการเรียนการสอน เพื่อหาแนวทางหรือวางแผนการปรับปรุงพัฒนารายวิชา
3)  การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
1)  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
2)  มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
1)  วางแผน (Plan) ผู้สอนมีการวางแผนการสอนโดยเตรียมการสอนก่อนเริ่มสอนให้สอดคล้องกับแผนการสอนที่ได้กำหนดไว้ตั้งแต่ต้น
2)  ลงมือทำ (Do) ผู้สอนลงมือปฏิบัติตามแผนงานที่ได้วางเอาไว้
3)  ตรวจสอบ (Check) มีการทำแบบประเมินโดยนักศึกษาและโดยผู้สอนทั้งก่อนและหลังเรียน มีการวัดผลการเรียนระหว่างภาคและสิ้นสุดภาคการศึกษา และมีการประมวลผลและแจ้งผลไปยังนักศึกษาได้โดยตรงโดยใช้ระบบประมวลผลกลางของสำนักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน
4) การปฏิบัติ (Action) เมื่อมีการปฏิบัตินอกกรอบแผนงานที่กำหนดไว้จะมีการชี้แจงไว้ในการรายงานผลการดำเนินงานของรายวิชาและมีการปรับปรุงในภาคการศึกษาถัดไป ส่วนข้อปฏิบัติใดที่มีความถูกต้องดีแล้วก็ดำเนินการพัฒนาต่อไป นอกจากนี้อาจต้อง มีการปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี  หรือตามข้อเสนอแนะและผลทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 รวมถึงการปรับเปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เปลี่ยนหรือจัดการเรียนการสอนเป็นทีม   หรือแบ่งหัวข้อรับผิดชอบเพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการวิจัยทางธุรกิจให้มีความหลากหลายมากขึ้น