ระบบบัญชี

Accounting System

๑.๑ เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจถึงลักษณะของระบบบัญชี  ส่วนประกอบของระบบบัญชี เอกสาร ทางการบัญชีหรือแบบฟอร์มที่ใช้ในระบบบัญชี  สมุดรายวัน  บัญชีแยกประเภท  การกำหนดรหัสบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในระบบบัญชี  การควบคุมภายใน
๑.๒ เพื่อให้นักศึกษาเห็นตัวอย่างของระบบบัญชีในการซื้อ การขาย  การรับเงินจ่ายเงิน  เงินเดือนและ ค่าแรง  การควบคุมสินค้า ลูกหนี้ เจ้าหนี้ และค่าใช้จ่ายในการผลิต
๑.๓ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจระบบบัญชีแต่ละกิจกรรมและสามารถอธิบายแผนผังทางเดินเอกสารของแต่ละกิจกรรมได้
  ๑.๔ เพื่อฝึกนักศึกษาทำงานเป็นกลุ่ม  รู้จักการทำงานโดยมีแผนงานกำหนดไว้ล่วงหน้าและส่งงานตรงเวลา
๒.๑ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีทักษะในการจัดทำส่วนประกอบระบบบัญชีให้สอดคล้องกับกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
๒.๒ เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังเป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรี
          สาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาความหมายและลักษณะของระบบบัญชี ส่วนประกอบของระบบบัญชี  เอกสารทางการบัญชีหรือแบบฟอร์มที่ใช้ในระบบบัญชี   สมุดรายวันต่าง ๆ  บัญชีแยกประเภท  การกำหนดรหัสบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในระบบบัญชี  การควบคุมภายใน  ระบบบัญชีเกี่ยวกับการจัดซื้อ การขาย การรับเงิน  การจ่ายเงิน  เงินเดือนและค่าแรงการผลิตสินค้า เป็นต้น
นักศึกษาสามารถเข้าพบได้ตามตารางเวลาที่ให้นักศึกษาเข้าพบได้โดยประมาณ ๑๒ ชั่วโมงต่อสัปดาห์
1 มีความรู้และเข้าใจในคุณค่าของระบบบัญชี มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพเพื่อนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตการทำงาน
2 มีความซื่อสัตย์สุจริต สามารถปฏิบัติตามระเบียบของมหาวิทยาลัยและข้อตกลงการเรียนได้
3 สามารถทำงานที่มอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
4 เข้าใจการทำงานเป็นทีม ฟังความคิดเห็นของคนในกลุ่มเพื่อความสำเร็จของงานส่วนรวม
1 บรรยาย  ซักถาม  เล่าเรื่องจริงที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่บรรยายแล้วให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น
2 กำหนดข้อตกลงเกี่ยวกับการเรียนและระเบียบปฏิบัติของมหาวิทยาลัยเกี่ยวกับ การแบ่งคะแนนที่เกี่ยวกับการสอบ  การเข้าเรียน  การตรงต่อเวลา  การทำงานกลุ่มที่มอบหมาย  คุณธรรม  จริยธรรมในการทำงานการอยู่ร่วมกับผู้อื่น
3  การสอดแทรกคุณธรรม จริยธรรมตามเหตุการณ์ปัจจุบันที่เป็นข่าวที่น่าสนใจโดยให้นักศึกษาแสดงความเห็นต่อเหตุการณ์ทางด้านจริยธรรมและคุณธรรมตลอดภาคเรียน
1 ติดตามพฤติกรรมการเข้าเรียน  การส่งงานที่มอบหมายทุกคาบตลอดภาคการศึกษา
2  การสอบกลางภาค  และปลายภาคโดยมีข้อสอบที่วัดความเข้าใจเกี่ยวกับความมีคุณธรรมและจริยธรรมนอกเหนือจากความรู้เกี่ยวกับส่วนประกอบระบบบัญชี
3 ประเมินผลงานและการรายงานเป็นกลุ่มในห้องเรียนจากการทำงานเป็นทีมจากธุรกิจจริงที่กลุ่มสนใจ โดยผู้สอนแนะนำแก้ไขให้ถูกต้องโดยแต่ละกลุ่มสามารถวิจารณ์ข้อแนะนำและหาข้อสรุป
1 รู้และเข้าใจความหมายและลักษณะของระบบบัญชี  ส่วนประกอบของระบบบัญชี เอกสารทางการบัญชีหรือแบบฟอร์มที่ใช้ในระบบบัญชี   สมุดรายวันต่าง ๆ  บัญชีแยกประเภท  การกำหนดบัญชี เครื่องมือที่ใช้ในระบบบัญชี  การควบคุมภายใน  ระบบบัญชีเกี่ยวกับการจัดซื้อ การขาย การรับเงิน  การจ่ายเงิน  เงินเดือนและค่าแรงการผลิตสินค้า
2 รู้และเข้าใจกฎหมายและการบัญชีที่มีความสัมพันธ์กับส่วนประกอบของระบบบัญชีการควบคุมภายใน
3 สามารถนำเอาความรู้ความเข้าใจไปปรับใช้และออกแบบส่วนประกอบของระบบบัญชีของธุรกิจ 
          จากงานกลุ่มที่นักศึกษาสนใจ
1 การบรรยาย   ยกตัวอย่างธุรกิจจริง  อภิปรายในชั้นเรียน
2 มอบหมายงานกลุ่มโดยให้แต่ละกลุ่มเลือกธุรกิจที่สนใจ และทำหัวข้ออภิปรายท้ายบท
1 ประเมินผลจากการส่งงานหัวข้ออภิปรายท้ายบท การทำงานกลุ่มและประเมินผลการเข้าเรียน
2 การสอบกลางภาค  การสอบปลายภาค
1 สามารถการนำความรู้ไปใช้แก้โจทย์ปัญหาอภิปรายท้ายบท และการวิเคราะห์ปัญหาด้วยตนเอง
2 สามารถประยุกต์ความรู้ด้านส่วนประกอบของระบบบัญชีในการใช้ดุลยพินิจในการพิจารณาส่วนประกอบของระบบบัญชีของธุรกิจจริงที่นักศึกษาไปสอบถาม  สืบค้น เป็นไปตามข้อกำหนดตามกฎหมายบัญชี
3 สามารถติดตาม ประเมินผล และการรายงานผลเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบบัญชี ได้อย่างเหมาะสมและถูกต้อง
๑ การบรรยายพร้อมทั้งยกตัวอย่าง  และมีการถามตอบในชั้นเรียน
๒ การให้ทำหัวข้ออภิปรายท้ายบทเป็นกลุ่มและมอบหมายให้มีการทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับส่วนประกอบของระบบบัญชีจากธุรกิจที่กลุ่มสนใจโดยกลุ่มจะเป็นผู้เลือกธุรกิจเอง
๑ การสอบกลางภาค การสอบปลายภาค
๒ การฝึกปฏิบัติหัวข้ออภิปรายท้ายบทเป็นกลุ่ม
๓ คุณภาพของรายงานที่ได้รับมอบหมายเป็นกลุ่มและความสามารถในการนำเสนอหน้าห้องเรียน
1 สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด
2 สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในกลุ่มได้และปรับตัวให้เข้ากับสถานการณ์และวัฒนธรรมของกลุ่มได้
3 สามารถให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกในการแก้ไขปัญหาในสถานการณ์ต่างๆของผู้ร่วมกลุ่มได้เป็นอย่างดี
4 มีความรับผิดชอบการพัฒนาความรู้ความสามารถทางวิชาชีพบัญชีของตนเองอย่างต่อเนื่อง
1 จัดกลุ่มวิเคราะห์หัวข้ออภิปรายท้ายหน่วยเรียน
2 มอบหมายให้ทำรายงานส่วนประกอบระบบบัญชีเป็นกลุ่มโดยกลุ่มเป็นผู้กำหนดธุรกิจที่กลุ่มสนใจ
3 ให้นักศึกษาจัดทำสื่อประกอบการรายงานและการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
คุณภาพของรายงานกลุ่มที่ได้รับมอบหมายและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
1 มีทักษะการใช้วิธีวิเคราะห์เชิงปริมาณเพื่อตัดสินใจอย่างสร้างสรรค์ในการแปลความหมายและเสนอแนะแนวทางในการแก้ไขปัญหาหรือข้อโต้แย้ง
2 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการข้อมูลในการ เขียนรายงานและการรายงานด้วยวาจา
ที่เหมาะสม
3 สามารถเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและเทคนิคการสื่อสารที่เหมาะสมในการเก็บรวบรวมข้อมูล การแปลความหมายและการสื่อสารสารสนเทศ
1  มอบหมายให้จัดทำรายงานกลุ่มโดยกลุ่มเป็นผู้กำหนดธุรกิจที่กลุ่มมีความสนใจและสามารถสืบค้นข้อมูลได้
2 ให้นำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียนที่ได้จากการวิเคราะห์และสืบค้นโดยการจัดทำสื่อประกอบรายงานที่เหมาะสม
คุณภาพของสื่อในการนำเสนอรายงานและการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรม จริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะในการวิเคราะห์เชิงตัวเลขการสื่อสารการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3. 1. 2. 3. 4. 1. 2. 3.
1 11014301 ระบบบัญชี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2, 3, 5 การทดสอบ 9, 17 60
2 2, 3, 4, 5 รายงานการศึกษาระบบบัญชี 15, 16 20
3 1, 2, 3, 4, 5 มอบหมายงานเดียว และการส่งงานฝึกปฏิบัติ ทุกสัปดาห์ที่มีการบรรยาย 15
4 1, 2, 3, 4, 5 พฤติกรรมการเข้าชั้นเรียนและการแต่งกายให้ถูกระเบียบและความประพฤติ ทุกสัปดาห์ที่มีการบรรยาย 5
ระบบบัญชี             เรียบเรียงโดย ผศ.ชนิตา โชติเสถียรกุล
การวางระบบบัญชี    เรียบเรียงโดย ดร.อุเทน เลานำทา
บทความวิจัย, และบทความเกี่ยวกับระบบบัญชี
เวปไซต์ที่เกี่ยวข้องของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า, กรมสรรพากร, สภาวิชาชีพบัญชี, ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    -แบบประเมินผลการสอนของอาจารย์ผู้สอน ซึ่งเป็นแบบประเมินผลการสอนของมหาวิทยาลัยที่กำหนดให้มีการประเมินการสอนอาจารย์ผู้สอนโดยนักศึกษาทุกภาคการศึกษา
    -แบบบันทึกหลังเรียนของนักศึกษาทุกคาบเรียนเพื่อเป็นการสื่อสารระหว่างอาจารย์ผู้สอนและนักศึกษาจากการสอนในแต่ละคาบมีข้อสงสัยในเนื้อหาเรื่องใดบ้างเพื่อที่อาจารย์ผู้สอนจะได้อธิบายเพิ่มเติมในคาบต่อไป
วิธีการประเมินการสอนที่ให้ได้ข้อมูลการสอนมีดังนี้
-ผลการสอบของนักศึกษา
-ผลการรายงานเป็นรายกลุ่ม
-ผลการประเมินการสอนของนักศึกษา
-การนำเอาเครื่องมือ คือการบันทึกหลังเรียนมาใช้ในการสอนด้วย  เพื่อพิจารณาในการที่จะปรับปรุงในการสอนในคาบต่อไป
-การเอาผลการประเมินจากนักศึกษามาปรับปรุงการเรียนการสอน
-การทวนสอบจากคะแนนสอบกลางภาค  โดยคะแนนที่แต่ละคนได้คะแนนที่ต่างกัน หากมีข้อสงสัยก็อธิบายเพิ่มเติมเพื่อนำไปพัฒนาในการทำข้อสอบตอนปลายภาค 
-การทวนสอบงานที่มอบหมายว่าผลงานกลุ่มเป็นอย่างไร    สามารถนำความรู้ไปใช้ในงานที่ได้รับมอบหมายมากน้อย  หากกลุ่มใด ยังทำผลงานไม่ถูกต้องก็จะอภิปราย หรือแนะนำให้แก้ไขให้ถูกต้อง และแนะนำให้ใช้ข้อเท็จจริงที่พบมาปรับใช้  ไม่ใช่ทำตามทฤษฎีอย่างเดียว
การนำข้อมูลที่ได้จากการประเมินจากข้อ ๑ และ ๒ และข้อ ๔  มาทบทวนเพื่อวางแผนเพื่อปรับปรุงประสิทธิผลของการเรียนในรายวิชา
-การปรับปรุงการจัดคาบเรียนของนักศึกษา  เพิ่มการอภิปรายในชั้นเรียนมากขึ้นโดยมีการตั้งคำถามในชั้นเรียนโดยให้นักศึกษาตอบหลาย ๆ คนแล้วสรุป
-การทบทวนเวลาเรียนในการสอนเนื้อหาแต่ละกลุ่มเรียนให้เหมาะสมกับนักศึกษาแต่ละกลุ่ม
-อธิบายเพิ่มเติมจากความไม่เข้าใจในคาบเรียน โดยคาบเรียนต่อไปก็จะนำเอาข้อสงสัยหรือไม่เข้าใจมาอธิบาย
เพิ่มเติม