การพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2

Product Development 2

เพื่อให้มีรู้และเข้าใจเกี่ยวกับการวางแผนโครงการและต้นทุนในการพัฒนาโครงการ การวางแผนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ การควบคุมผลิตภัณฑ์สุดท้าย การทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการตลาดและผู้บริโภค การคาดคะเนศักยภาพตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การประเมินผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การทดสอบอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ และเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะในการทำงานวิจัย อย่างมีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และงานที่ได้รับมอบหมาย
มีการปรับปรุงโดยการนำความรู้จากงานวิจัย มาเพิ่มในเนื้อหาการสอนเพื่อให้ทันสมัยมากยิ่งขึ้น
การวางแผนโครงการและต้นทุนในการพัฒนาโครงการ การวางแผนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ การควบคุมผลิตภัณฑ์สุดท้าย การทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการตลาดและผู้บริโภค การคาดคะเนศักยภาพตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การประเมินผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การทดสอบอายุการเก็บผลิตภัณฑ์
3.1 วันพุธ พฤหัส เวลา 16.30 - 17.30 น. ห้องพักอาจารย์สาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร โทร.054342548 ต่อ 186
3.2 เวลา 19.00 – 20.00 น. วันจันทร์ถึงพฤหัส
1.1.1 สามารถเลือกใช้แหล่งข้อมูลที่ถูกต้องและเข้าใจเพื่อใช้กับกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม โดยคำนึงถึงจริยธรรมและจรรยาบรรณวิชาชีพ
1.1.2 มีจรรยาบรรณในการนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์และนำเสนอข้อมูลสู่สังคม
1.2.1 มอบหมายให้ทำรายงานเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่มในโครงการ
1.2.2 อภิปรายเพื่อสะท้อนความคิดเห็นเป็นกลุ่ม
1.3.1 ประเมินผลงานรายบุคคลหรือกลุ่ม (เอกสาร รายงาน) การส่งรายงานบทปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมายตามระยะเวลาที่กำหนด
2.1.1 ทราบถึงวิธีการวิเคราะห์อุตสาหกรรมเกษตร และวิเคราะห์ตลาดในการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร
2.1.2 มีความรู้ความเข้าใจหลักการและกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์
2.2.1 บรรยายเกี่ยวกับการวางแผนโครงการและต้นทุนในการพัฒนาโครงการ การวางแผนกระบวนการผลิตเชิงพาณิชย์ การควบคุมผลิตภัณฑ์สุดท้าย การทดสอบผลิตภัณฑ์ทางการตลาดและผู้บริโภค การคาดคะเนศักยภาพตลาดสำหรับผลิตภัณฑ์ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การประเมินผลการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ การทดสอบอายุการเก็บผลิตภัณฑ์ และกรณีศึกษา
2.3.1 สอบข้อเขียนแบบอัตนัยและ/หรือแบบปรนัย
3.1.1 สามารถระบุปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถประยุกต์ความรู้พื้นฐานด้านหลักการของกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยผู้บริโภค ตลอดจนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องในกระบวนการคิดและตัดสินใจในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสม
3.1.2 สามารถวางแผนและปฏิบัติงานทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3.2.1 ฝึกทักษะปฏิบัติการการพัฒนาผลิตภัณฑ์
3.2.2 มอบหมายให้นักศึกษาฝึกปฏิบัติโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร (Mini project) และอภิปรายสรุปในชั้นเรียน
3.3.1 ประเมินทักษะปฏิบัติหลังเสร็จสิ้นการเรียนการสอน การแก้ปัญหาระหว่างปฏิบัติ และประเมินผลโครงการ 3.3.2 ประเมินผลงานรายบุคคลหรือกลุ่ม (เอกสาร รายงาน)และการส่งรายงานบทปฏิบัติการตามที่ได้รับมอบหมาย
4.1 มีส่วนร่วมรับผิดชอบและสนับสนุนต่อการแก้ปัญหาในกลุ่มได้อย่างสร้างสรรค์ ไม่ว่าจะในฐานะผู้นำหรือสมาชิกของกลุ่ม
4.2 มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีในการดำเนินงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
 
4.2.1 แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
4.2.2 มอบหมายงานทั้งรายบุคคลและกลุ่ม                 
4.2.3 อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียนทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติ
4.3.1 ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
4.3.2 ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม และการทำความสะอาดหลังการปฏิบัติ
4.3.3 สังเกตและประเมินการทำงานร่วมกับผู้อื่นจากการส่งรายงานบทปฏิบัติการ
5.1.1 สามารถเลือกใช้แหล่งข้อมูล เก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลเพื่อใช้ในกระบวนการพัฒนาผลิตภัณฑ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.2 สามารถใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูลในงานด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์
5.1.3 สามารถประมวลความรู้พื้นฐานและผลการวิเคราะห์ข้อมูลที่ได้เพื่อใช้สำหรับการกำหนดแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนสามารถนำเสนอแนวคิดทั้งด้านการพูดและเขียนได้อย่างเหมาะสม
5.2.1มอบหมาย และมีการนำเสนอในชั้นเรียน
5.3.1 ประเมินผลการนำเสนอ รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
6.1.1 สามารถบริหารจัดการด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์ และวิธีการได้อย่างถูกต้อง เหมาะสม
6.1.2 สามารถทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม และมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบ
6.1.3 มีทักษะการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
6.2.1 แบ่งกลุ่มนักศึกษาในภาคปฏิบัติ
6.2.2 อธิบายวิธีการปฏิบัติวิธีการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ที่เหมาะสม และข้อควรระวังใช้การใช้เครื่องมือ
6.2.3 ฝึกทักษะปฏิบัติตามลำดับขั้นตอน
6.3.1 สังเกตความสำเร็จของงาน ตามระยะเวลาที่กำหนดอย่างเหมาะสม
6.3.2 สังเกตการใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ถูกต้องและเหมาะสม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 หน่วยที่ 1-8 มอบหมายงาน และประเมินจากงานที่ให้ทำ ทุกสัปดาห์ 20%
2 หน่วยที่ 1-8 นำเสนอรายงานเป็นกลุ่ม 2, 5, 15, 16 20%
3 หน่วยที่ 1-8 ทดสอบย่อย 4, 7, 11, 14 10%
4 หน่วยที่ 1-4 สอบกลางภาค 9 20%
5 หน่วยที่ 5-8 สอบปลายภาค 17 20%
นฤดม บุญ-หลง. 2532. อุตสาหกรรมเกษตรเพื่อความหวังใหม่. กองทุนเพื่อการศึกษาวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมเกษตร,
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 132 น.
นิรมล อุตมอ่าง. 2540. เอกสารประกอบการสอน : วิชา การพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหาร. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขต
ลำปาง, ลำปาง. 180 น.
ไพโรจน์ วิริยะจารี. 2545. หลักการทางเทคโนโลยีการพัฒนาผลิตภัณฑ์. พิมพ์ครั้งที่ 2. ภาควิชาเทคโนโลยีการพัฒนา
ผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่. 436 น.
วิชัย หฤทัยธนาสันติ์. 2527. เอกสารประกอบคำสอนวิชา PD 351 การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร. ภาควิชา
พัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 136 น.
ศิริวรรณ เสรีรัตน์, สมชาย หิรัญกิตติ, จิรศักดิ์ จิยะจันทน์, ชวลิต ประภวานนท์, ณดา จันทร์สม และ วลัยลักษณ์
อัตธีรวงศ์. 2540. การวิจัยตลาด. A. N. การพิมพ์, กรุงเทพฯ. 310 น.
หทัยรัตน์ ริมคีรี. 2542. เอกสารประกอบการสอน: การพัฒนาผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเกษตร 1 (054-351). ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 23 น.
คณาจารย์ภาควิชาพัฒนาผลิตภัณฑ์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2549. การพัฒนาผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมเกษตร. ภาควิชา
พัฒนาผลิตภัณฑ์ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ. 466 น.
Angle D. And V. Daniel. Design and Analysis of Experiments. Springer, New York. 740 p.
Bruce T. and K. G. Grunert. 1997. Product and Process Innovation in Food Industry. Blackie Academic &
Professional, USA. 242 p.
Fuller, G.W. 1994. New Food Product Development from Concept to Marketplace. CRC Press, Inc., Florida. 270p.
Hu, Ruguo. 1999. Food Product Design : A computer -Aided Statistical Approach. Technomic Publishng Co. ,
Inc. Pennsylvania, USA. 225 p.
และหนังสืออื่น ๆ ที่มีเนื้อหาเกี่ยวข้องกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ฯ
- http://www.sciencedirect.com
                - http://www.youtube.com
-วารสารอาหาร, Journal of Food Science
- เวปไซด์มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมอาหาร มาตรฐานผลิตภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ชุมชน อย. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ E-learning ของมหาวิทยาลัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง
การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
2.1 การสังเกตการณ์สอนของผู้สอน
2.2 ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3 การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 การจัดสัมมนาความรู้ใหม่ๆ เกี่ยวกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารในชั้นเรียน
3.2 การแทรกตัวอย่างงานวิจัยที่เกี่ยวข้องในบทเรียน
3.3 การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.4 การศึกษาดูงานนอกสถานตามโอกาส
ระหว่างการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามหรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1 การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2 มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
 
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4 จากผู้ทรงคุณวุฒิและนักศึกษา
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ