เทคนิคการพัฒนาบุคลิกภาพ

Personality Development Techniques

เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจแนวคิดและหลักทฤษฎีของการพัฒนาบุคลิกภาพ ทั้งภายในและภายนอก ในการพัฒนาบุคลิกภาพต้องดำเนินการควบคู่กันไปอย่างสอดคล้องกัน รูปแบบการพัฒนาบุคลิกภาพที่เหมาะสมสององค์ประกอบนี้ จะทำให้นิสิตสามารถนำไปพัฒนาให้เหมาะสมกับตนเองได้
2.1  เพื่อให้นิสิตได้ทราบถึงแนวคิดหลักของบุคลิกภาพ แนวทางการพัฒนา และประโยชน์ของการพัฒนาบุคลิกภาพ
2.2  เพื่อให้นิสตได้รับแนวทางการสร้างภาพลักษณ์อันน่าประทับใจของตนเองต่อสังคม
2.3  เพื่อให้นิสิตมีความรู้ความเข้าใจ และมีทักษะในการเสริมบุคลิกภาพของตนเองในภาพรวม
ศึกษาความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับบุคลิกภาพ ทฤษฎีบุคลิกภาพ ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อบุคลิกภาพ เทคนิค วิธีการปรับปรุงบุคลิกภาพ การรับรู้เกี่ยวกับตนเอง อิทธิพลของมนุษยสัมพันธ์กับบุคลิกภาพ สุขภาพจิตและการ ปรับตัว บุคลิกภาพที่พัฒนาสมบูรณ์แล้ว
อาจารย์ประจำวิชาจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือ รายกลุ่มตามความต้องการ  1 ชั่วโมง ต่อสัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาให้ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ มีวินัย เคารพกฎระเบียบ เคารพในสิทธิส่วนบุคคล และไม่ละเมิดสิทธิของผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีความซื่อสัตย์ในการทำรายงาน การเข้าชั้นเรียน
- บรรยายเนื้อหาในแต่ละบท พร้อมทั้งสอดแทรกคุณธรรมจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง เช่น การเข้าเรียนตรงเวลา การรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น
 - แบ่งกลุ่มในชั้นเรียน เพื่อทำกิจกรรมกลุ่มและการมีส่วนร่วมของนิสิต
- การศึกษาค้นคว้าอีสระ  ตัวอย่างกรณีศึกษา  การตอบคำถามในชั้นเรียน 
- การส่งงานที่ได้รับมอบหมาย เช่น ไม่ลอกงานเพื่อน
 - พฤติกรรมการเข้าเรียน เช่น ไม่เข้าเรียนสาย ไม่คุยกันในระหว่างบรรยาย
- รู้ความหมายและความสำคัญของการพัฒนาบุคลิกภาพ
- การแต่งกาย และการแต่งตัว ตลอดจนการเจรจาที่ถูกต้องตามกาละและเทศะ
- รู้มารยาททางสังคม การเข้าสังคม การสร้างมนุษย์สัมพันธ์
- รู้แนวคิดการสร้างความเป็นผู้นำ รู้จักการประเมินตนเอง วิเคราะห์ตนเอง 
- รู้จักการวางแผนพัฒนาตนเอง และรู้จักเลือกรูปแบบการพัฒนาตนเองให้เหมาะสมกับ
  บุคลิกภาพตนเองได้อย่างเหมาะสม
1) บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การเสนอรายงาน และมอบหมายงานให้ไปค้นคว้าหาข้อมูลโดยนำเสนอในแบบรายงานกิจกรรมแต่ละบท โดยเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง
 2) เชิญวิทยากรจากภายนอกมาบรรยาย เรื่องบุคลิกภาพ
- มีแบบประเมินมีรูปแบบของการประเมินผลที่ครอบคลุมส่วนที่เกี่ยวข้องของการการพัฒนาบุคลิกภาพตลอดภาคการศึกษา
- แบบฝึกหัด กรณีศึกษา  วิพากษ์ในชั้นเรียน
 - สอบปลายภาค
- การคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ การจำแนกแยกแยะ
- วิธีการตัดสินใจในการถูกต้องและเหมาะสม
- การสร้างความคิดรวบยอด
- การควบคุมสถานการณ์ในสภาวการณ์ที่มีเปลี่ยนแปลง
- การมอบหมายให้นักศึกษาอ่านบทความ เพื่อวิเคราะห์และนำเสนอในรูปรายงานเป็นกลุ่ม
- การมอบหมายให้นักศึกษารายบุคคลทำรายงานที่ให้วิเคราะห์ข้อมูลในแต่ละบท
- เปิดวิดีโอที่เกี่ยวกับสถานการณ์ที่เกี่ยวข้อง และให้นิสิตร่วมวิพากษ์ร่วมกัน
- สอบปลายภาคครอบคลุมเนื้อหา
- วัดผลจากรายงานกิจกรรมรายบุคคลและรายงานกลุ่ม
- ประเมินผลตามรูปแบบที่กำหนด
- พัฒนาทักษะการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างผู้เรียนในแต่ละกลุ่ม
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบต่อส่วนรวม
- พัฒนาทักษะความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมาย ส่งงานครบและตรงเวลา
 - พัฒนาทักษะการมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีและมีความเข้าใจตนเองและผู้อื่น
- ให้มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและข้อซักถามระหว่างผู้เรียนและผู้สอน
- จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
 - กำหนดเวลาในการส่งงานที่มอบหมายให้ชัดเจน
- ประเมินจากรายงานที่ได้รับมอบหมาย
 - ประเมินจากรายงานการศึกษา พฤติกรรมการทำงานในกลุ่ม
- ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยในการทำงานส่งอาจารย์
 - ทักษะการสืบค้นข้อมูลทางอินเทอร์เน็ต เช่น การค้นงานทางอินเทอร์เน็ต
- มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซด์ ทำรายงาน บางครั้งมีการคำนวณ
 - ยกตัวอย่างกรณีศึกษา เช่นภาพถ่าย วีดีโอ โดยให้นิสิตวิเคราะห์ หรือวิจารณ์ร่วมกัน
- ประเมินจากรายงานกิจกรรมและรายงานกิจกรรมกลุ่ม
 - การตอบคำถาม การส่งงานในชั้นเรียน
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 ประเมินการพัฒนาบุคลิกภาพภายในและภายนอก (พูด แต่งกาย ความเรียบร้อยมารยาท การแสดงออก ฯลฯ) 1-15 5%
2 การเข้าเรียน จิตพิสัย และการ แต่งกาย 1-16 10%
3 รายงานเดี่ยว (วิเคราะห์บทความการพัฒนาบุคลิกภาพ บทความพูดถึงเรื่องอะไร เพื่ออะไร มีแนวคิดหรือมีแง่คิดอย่างไร เห็นด้วยหรือแย้งอย่างไร นำไปพัฒนาตนเองอย่างไร และสรุป) 1-15 5%
4 รายงานกลุ่ม (การพัฒนาบุคลิกภาพ แบ่งกลุ่มมอบหมายงานให้ครอบคลุมเนื้อหาที่สอนให้ครบทุกบทเรียน) 1-16 10%
5 การทดสอบย่อย 1-16 30%
ดำรงศักดิ์  ชัยสนิท และ สุนี  เลิศแสวงกิจ. (2542).   การพัฒนาบุคลิกภาพ .  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ :  วังอักษร.
นพมาศ  อุ้งพระ (ธีรเวคิน) .  (2551).   ทฤษฎีบุคลิกภาพและการปรับตัว . พิมพ์ครั้งที่ 4 .  กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วรรณประภา , นามแฝง.  (2544).  คู่มือปรับปรุงตนเอง : พัฒนาศักยภาพในตัวเอง.  พิมพ์ครั้งที่ 3 .  นครปฐม : ไดนามิค เพรส.
ศรีเรือน  แก้วกังวาน .  (2547).   ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ .  พิมพ์ครั้งที่ 11 .  กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน .  
    บทความ ข่าวสาร และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง หนังสือพิมพ์  วารสาร
เว็บไซต์ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา
- การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
- แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
- ผลตอบรับ การให้ความสนใจในชั้นเรียนจากผู้เรียน
 - ผลการเรียนของผู้เรียน
- การสังเกตการณ์สอนของอาจารย์ผู้ร่วมสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนแล้ว จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในชั้นเรียน
3.3  การสนทนากลุ่มระหว่างอาจารย์ผู้ร่วมสอนเรื่องการจัดการเรียนการสอน
- การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
- มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา
- ดำเนินการวิเคราะห์ศักยภาพของผู้เรียนและเข้าใจผู้เรียนเป็นรายบุคคล
 -ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะตามผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ในรายวิชา