การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม

Industrial Safety Management

1.   วัตถุประสงค์ของรายวิชา   :  เมื่อนักศึกษาเรียนรายวิชานี้แล้ว นักศึกษามีสมรรถนะที่ต้องการในด้านต่างๆ ดังนี้  1.1 นักศึกษาสามารถสรุปหลักการ /อภิปรายหลักการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดการความปลอดภัยใน อุตสาหกรรม 1.2 นักศึกษานำความรู้ ความสามารถ ทั้งทฤษฎี และปฏิบัติ ไปแก้โจทย์ปัญหาของการจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม 1.3 นักศึกษาสามารถจัดระบบ และวิเคราะห์องค์ความรู้ แสดงให้เห็นถึงความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างหลักความปลอดภัยกับกฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม โดยมุ่งเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ 1.4 นักศึกษามีจรรยาบรรณแห่งวิชาชีพ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความรับผิดชอบต่อตนเอง และสังคม  
2.  วัตถุประสงค์ในการพัฒนา/ปรับปรุงรายวิชา : 2.1 เพื่อให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษากระทรวงศึกษาธิการ
    2.2 เพื่อปรับปรุงรายละเอียดของวิชาให้เหมาะสมกับการเปลี่ยนแปลงสถานการณ์ปัจจุบัน
คำอธิบายรายวิชา ศึกษาเกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ และการป้องกันในโรงงานอุตสาหกรรม หลักการการจัดการความปลอดภัยในโรงงาน และการควบคุมสภาวะแวดล้อมโรงงาน การบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และเครื่องจักร ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ และวัตถุอันตราย กฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย
จำนวนชั่วโมงต่อสัปดาห์ที่อาจารย์ให้คำปรึกษาและแนะนำทางวิชาการแก่นักศึกษาเป็นรายบุคคล    -   อาจารย์ประจำรายวิชา ให้คำปรึกษาตามตารางผู้สอน -  อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 3 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)     3.1 วันจันทร์ พุธ ศุกร์ เวลา 15.00 - 16.30 น. ห้องทำงานชั้น 3 ตึกวทอ. โทร  086-6541640     3.2  e-mail; oxsuphat1@gmail.com เวลา 20.00 - 21.00 น. ทุกวัน  
. คุณธรรมและจริยธรรม      1.1 คุณธรรม จริยธรรม ที่ต้องพัฒนา 1.1.1 มีจิตสำนึกและตระหนักในการปฏิบัติตามจรรยาบรรณวิชาชีพ        1.1.2 แสดงออกอย่างสม่ำเสมอถึงความซื่อสัตย์สุจริต                    1.1.3 มีวินัยและความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม                    1.1.4 เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม                  1.1.5 เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น  
วิธีการสอน
กำหนดให้มีวัฒนธรรมองค์กร เพื่อเป็นการปลูกฝังให้นักศึกษามีระเบียบวินัย โดยเน้นการเข้าชั้นเรียนให้ตรงเวลาตลอดจนการแต่งกายที่เป็นไปตามระเบียบของมหาวิทยาลัย นักศึกษาต้องมีความรับผิดชอบโดยในการทำงานกลุ่มนั้นต้องฝึกให้รู้หน้าที่ของการเป็นผู้นำกลุ่มและการเป็นสมาชิกกลุ่ม มีความซื่อสัตย์โดยต้องไม่กระทำการทุจริตในการสอบหรือลอกการบ้านของผู้อื่น เป็นต้น นอกจากนี้อาจารย์ผู้สอนทุกคนต้องสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรมในการสอนทุกรายวิชา รวมทั้งมีการจัดกิจกรรมส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม เช่น การยกย่องนักศึกษาที่ทำดี ทำประโยชน์แก่ส่วนรวม เสียสละ
1.3.1 ประเมินจากการตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม การแต่งกายให้ถูกต้องตามระเบียบของสาขาและมหาวิทยาลัย
1.3.2 บันทึกการเข้าสอบข้อเขียนแบบปรนัยและหรืออัตนัย ปฏิบัติตามระเบียบการสอบของมหาวิทยาลัย โดยไม่พบหลักฐานการทุจริต ไม่พบข้อร้องเรียนหรือเหตุอื่นๆ อันมิบังควร
1.3.3 ประเมินจากการมีวินัย และพร้อมเพรียงของนักศึกษาในการเข้าร่วมกิจกรรมเสริมหลักสูตร
พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
นักศึกษาต้องมีความรู้เกี่ยวกับสาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ และการป้องกันในโรงงานอุตสาหกรรม  หลักการการจัดการความปลอดภัยในโรงงาน และการควบคุมสภาวะแวดล้อมโรงงาน การบริหารความปลอดภัยในโรงงานอุตสาหกรรม  ความปลอดภัยในการใช้เครื่องมืออุปกรณ์และเครื่องจักร  ความปลอดภัยในการเคลื่อนย้ายวัสดุ และวัตถุอันตราย  กฎหมาย และมาตรฐานความปลอดภัย
2.2.1 ใช้การสอนบรรยายแบบ Active Learning โดยเน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าข้อมูลเพิ่มเติมและหาทางแก้ไขปัญหาด้วยตนเองหรือภายในกลุ่ม โดยมีอาจารย์เป็นที่ปรึกษาเบื้องต้นร่วมกับการสอนแบบ Hybrid learning  2.2.2 การสอนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง  2.2.3 การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต   
2.3.1 สังเกตความสนใจ และซักถามระหว่างการบรรยาย            2.3.2 การทดสอบย่อย การสอบกลางภาคเรียน และปลายภาคเรียน            2.3.3 ประเมินจากรายงานที่นักศึกษาจัดทำ การนำเสนอรายงานในชั้นเรียน และการทำงานกลุ่ม            2.3.4 ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยทางความปลอดภัย เช่น การตอบข้อ                    ซักถาม ความเข้าใจ และการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ   
3.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะทางปัญญา           3.1.1 มีความสามารถในการค้นหาข้อเท็จจริง ทำความเข้าใจและประเมินข้อมูลสารสนเทศ แนวคิดและหลักฐานใหม่ ๆ จากแหล่งข้อมูลที่หลากหลาย และใช้ข้อสรุปที่ได้ในการแก้ไขปัญหา หรืองานอื่น ๆ โดยไม่ต้องอาศัยคำแนะนำ

สามารถคิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบ ในการวิเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อน และเสนอแนวทางแก้ไขอย่างสร้างสรรค์

           3.1.3 สามารถใช้ทักษะและความเข้าใจ ในบริบททางวิชาชีพและวิชาการ ตามเนื้อหาสาระสำคัญของวิชา พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น จากการใช้เทคโนโลยี
3.2.1  มอบหมายงานกลุ่มเพื่อศึกษากรณีศึกษา พร้อมอภิปราย         3.2.2 มอบหมายงานให้มีการค้นคว้าความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยที่เกี่ยวข้องความปลอดภัยอุตสาหกรรม  
     3.3.1 การสอบย่อย สอบกลางเทอม และสอบปลายภาค
          3.3.2 ประเมินผลการนำเสนอรายงานในชั้นเรียน ความรู้ใหม่ หรืองานวิจัยความปลอดภัยอุตสาหกรรม เช่น การตอบข้อซักถามความเข้าใจและการประยุกต์ความเข้าใจกับวิชาอื่นๆ
      4.1 ผลการเรียนรู้ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ           4.1.1   มีความรับผิดชอบในงานที่ได้รับมอบหมายทั้งของตนเองเเละรับผิดชอบงานในกลุ่ม
          4.1.2  สามารถปรับตัวทำงานร่วมกับผู้อื่นทั้งในฐานะผู้นำกลุ่มและสมาชิกกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วางตัวและแสดงความคิดเห็นได้เหมาะสมกับบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ สามารถวางแผนและรับผิดชอบการพัฒนาการเรียนรู้ทั้งของตนเองและทางวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง
4.2.1 อธิบายข้อปฏิบัติในการเข้าชั้นเรียน
           4.2.2 มอบหมายงานรายบุคคล
     4.2.3 กำหนดกิจกรรมให้มีการทำงานเป็นกลุ่ม การทำงานที่ต้องประสานงานกับผู้อื่น บทบาทและหน้าที่ของผู้นำ และผู้ตามภายในกลุ่ม เพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่น โดยไม่ยึดติดกับเฉพาะเพื่อนที่ใกล้ชิด
4.3.1 ทำงานเสร็จสิ้นภายในระยะเวลาที่กำหนด และคุณภาพของงานเป็นไปตามที่กำหนด
4.3.2 ตรวจสอบการความสม่ำเสมอในการเข้าชั้นเรียนของนักศึกษา การแต่งกายที่เหมาะสม       4.3.3 สังเกตจากพฤติกรรมที่แสดงออกในการร่วมกิจกรรมต่าง ๆ และประเมินจากการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างเหมาะสม
4.3.4 ประเมินจากพฤติกรรมและการแสดงออกของนักศึกษาในการนำเสนอรายงานกลุ่มในชั้นเรียน การตอบข้อซักถามของอาจารย์ และนักศึกษา
รรมเสริมหลักสูตร
พฤติกรรมระหว่างการทำงานกลุ่ม การนำเสนอและอภิปราย โดยผู้สอนอาจซักถามประเด็นด้านจริยธรรม
5.1.1 สามารถระบุและนำเทคนิคทางสถิติหรือคณิตศาสตร์ที่เกี่ยวข้อง มาใช้ในการวิเคราะห์ แปลความหมาย และเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาได้อย่างสร้างสรรค์
5.1.2 สามารถสรุปประเด็นและสื่อสารทั้งการพูดและการเขียน รู้จักเลือกและใช้รูปแบบของการนำเสนอที่เหมาะสมสำหรับเรื่องและผู้ฟังที่แตกต่างกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.1.3 สามารถระบุ เข้าถึง และคัดเลือกแหล่งข้อมูลความรู้ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร จากแหล่งข้อมูลสารสนเทศทั้งในระดับชาติและนานาชาติ
5.1.4 มีวิจารณญาณในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารที่เหมาะสม และ ใช้อย่างสม่ำเสมอ  เพื่อรวบรวมข้อมูล แปลความหมาย และสื่อสารข้อมูลข่าวสารและแนวความคิด
5.1.5 สามารถใช้คอมพิวเตอร์ในการจัดการกับข้อมูลต่างๆ อย่างเหมาะสม
5.1.6 สามารถติดตามความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นวัตกรรม และสถานการณ์โลก โดยใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ
5.1.7 สามารถใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้อง และภาษาอังกฤษในระดับใช้งานได้และเหมาะสม
5.1.1 มอบหมายงานค้นคว้างานวิจัยใหม่ๆ ทางด้านความปลอดภัยในอุตสาหกรรม และมีการนำเสนอในชั้นเรียน
5.1.2 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ในรายวิชาต่าง ๆ ให้นักศึกษาได้วิเคราะห์สถานการณ์จำลอง และ
        สถานการณ์เสมือนจริง แล้วนำเสนอการแก้ปัญหาที่เหมาะสม
5.1.3 เรียนรู้เทคนิคการประยุกต์เทคโนโลยีสารสนเทศในหลากหลาย สถานการณ์
 
5.3.1 ประเมินผลการนำเสนอความรู้ใหม่หรืองานวิจัยความปลอดภัยในอุตสาหกรรม เช่น การใช้ภาษาไทยที่ถูกต้อง รูปแบบการนำเสนอที่เหมาะสม ความต่อเนื่องของเนื้อหาที่นำเสนอ การใช้สื่อที่เหมาะสมนำเสนอ
5.3.2 จากการเลือกใช้เครื่องมือทางเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือคณิตศาสตร์ และสถิติ ที่เกี่ยวข้อง
 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรมจริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 5 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 1 2 3 4 5 5 6 7 1
1 24128303 การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 การสอบรายหน่วย 2-6,9-16 50%
2 การสอบกลางภาค 8 10%
3 การสอบปลายภาค 17 10%
4 งานมอบหมาย และการนำเสนอผลงาน 3, 7, 11, 15 20%
5 การตรงเวลาของนักศึกษาในการเข้าชั้นเรียน การส่งงานตามกำหนดระยะเวลาที่มอบหมาย และการร่วมกิจกรรม 1-7, 9-16 10%
1. ศูนย์ข้อมูลวัตถุอันตราย และเคมีภัณฑ์ กรมควบคุมมลพิษ. เอกสารข้อมูลความปลอดภัยเคมีภัณฑ์ (MSDS): Ammonia. [ออนไลน์].ที่มา : http://msds.pcd.go.th/searchName.asp?vID=95
2. สมาคมเครื่องทำความเย็นไทย. การใช้งานระบบแอมโมเนียอย่างปลอดภัย. วารสารสมาคมเครื่องทาความเย็น
    ไทยฉบับที่ 10 เดือน พฤศจิกายน 2546.
3. สำนักความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อมเครือเจริญโภคภัณฑ์. วิธีการใช้ถังดับเพลิง. [ออนไลน์].
    ที่มา :http://www.thaisafetywork.com/วิธีการใช้ถังดับเพลิง/.
4. สานักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม.
    มาตรฐานสี และเครื่องหมายเพื่อความปลอดภัย มอก. 635 เล่ม 1.
5. สานักงานสิ่งแวดล้อมภาค 10 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม.
    คู่มือ การจัดการอุบัติภัยสารเคมี กรณีก๊าซแอมโมเนียรั่วไหล. [ออนไลน์]. ที่มา :
http://www.reo3.go.th/newversion//index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=91.
-
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อ เกี่ยวกับ การจัดการความปลอดภัยในอุตสาหกรรม                                              
กลยุทธ์การประเมินประสิทธิผลของรายวิชาโดยนักศึกษา
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอน และผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
กลยุทธ์การประเมินการสอน
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   การสังเกตจากพฤติกรรมของผู้เรียน
2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
การปรับปรุงการสอน
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
3.3 การบรรยายความรู้ความก้าวหน้าทางความปลอดภัยอุตสาหกรรมจากวิทยากรภายนอกตามโอกาส 3.4 การศึกษาดูงานโรงงานอาหาร ตามโอกาส
การทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนักศึกษาในรายวิชา
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
การดำเนินการทบทวน และการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา       จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้ภาควิชามีระบบการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา โดยพิจารณาจากผลการประเมินการสอนโดยนักศึกษา ผลการประเมินโดยคณะกรรมการประเมินการสอนของภาควิชา การรายงานรายวิชาโดยอาจารย์ผู้สอน หลังการทบทวนประสิทธิผลของรายวิชา อาจารย์ผู้สอนรับผิดชอบในการทบทวนเนื้อหาที่สอน และกลยุทธ์การสอนที่ใช้ และนำเสนอแนวทางในการปรับปรุงและพัฒนาในรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา เสนอต่อหัวหน้าภาควิชา เพื่อนำเข้าที่ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตรพิจารณาให้ความคิดเห็น และสรุปวางแผนพัฒนาปรับปรุงสำหรับใช้ในปีการศึกษาถัดไป
o-spacerun:yes'>  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม