การตัดสินใจทางธุรกิจเชิงปริมาณ

Quantitative Decision Making in Business

เพื่อให้นักศึกษามีความเข้าใจในหลักและทฤษฎีการตัดสินใจต่างๆ ในวงการธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจวิธีการคำนวณประโยชน์ ข้อจำกัดและรูปแบบปัญหาที่จะนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจในวงการธุรกิจ เพื่อให้นักศึกษาเข้าใจการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆ ทางธุรกิจ
2.1 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจในเทคนิคทางการคณิตศาสตร์เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิงธุรกิจ
         2.2 เพื่อพัฒนานักศึกษาให้มีผลการเรียนรู้ที่คาดหวังให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณวุฒิระดับปริญญาตรีสาขาวิชาการบัญชี
ศึกษาเทคนิคการสร้างรูปแบบทางคณิตศาสตร์เพื่อการตัดสินใจทฤษฎีการตัดสินใจต่างๆในวงการธุรกิจ หลักการ วิธีการคำนวณประโยชน์ ข้อจำกัด และรูปแบบปัญหาที่จะนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจในวงการธุรกิจ ตลอดจนการวิเคราะห์และประเมินผลโครงการต่างๆทางธุรกิจ
อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
1.1.1    มีความรู้ความเข้าใจในวิชาที่เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อวิชาชีพ มีความซื่อสัตย์สุจริต
1.1.2    มีวินัย ปฏิบัติตามระเบียบของสังคมและมหาวิทยาลัย เคารพข้อกติกาการเรียนการสอน
1.1.3    สามารถทำงานที่มอบหมายภายในเวลาที่กำหนด
ใช้การสอนแบบบรรยายประกอบการคำนวณและฝึกปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักศึกษาแสดงความคิดเห็น สอบถามในประเด็นที่ไม่เข้าใจ มอบหมายแบบฝึกหัดให้นักศึกษา
ประเมินผลจากคะแนนสอบกลางภาค คะแนนแบบฝึกหัด คะแนนทดสอบย่อย และคะแนนสอบ ปลายภาค และจากพฤติกรรมที่แสดงออก
ประเมินผลจากคะแนนสอบกลางภาค คะแนนแบบฝึกหัด คะแนนทดสอบย่อย และคะแนนสอบ ปลายภาค และจากพฤติกรรมที่แสดงออก
ใช้การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้แก่ การสอนบรรยายร่วมกับการสื่อสารสองทาง โดย เน้นให้นักศึกษาหาทางค้นคว้าหาข้อมูลเพิ่มเติม การสอนแบบร่วมมือกันเรียนรู้ (Co-Operative
Learning) การสอนแบบศึกษาด้วยตนเอง การค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ต
 
2.3.1   ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่วัดหลักการและทฤษฏี
2.3.2   พฤติกรรมการเข้าห้องเรียน             
3.1.1    สามารถคิดและวิเคราะห์แสดงความคิดเห็นต่อตัวแบบการวิเคราะห์เชิงปริมาณ
3.1.2    สามารถใช้ความรู้ทางทฤษฎีเพื่อการพัฒนาปรับปรุงปัญหาที่เกิดขึ้นในเชิงธุรกิจ
3.2.1   สอนโดยการบรรยายทฤษฎีและรูปแบบปัญหา
3.2.2   ซักถามและแสดงความคิดเห็นต่อปัญหากรณีศึกษา
3.3.1   แบบฝึกหัด การสอบย่อย การสอบนกลางภาคและปลายภาค
4.1.1   สามารถปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายได้ตามกำหนด
4.1.2   สามารถปฏิบัติงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนได้
4.2.1   มอบหมายงานกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาทำงานได้กับผู้อื่นได้
4.3.1   ประเมินการมีส่วนร่วมในชั้นเรียน
4.3.2   ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง   
5.1.1   สามารถคำนวณตัวแบบต่างๆ จากแบบฝึกหัดได้     
5.1.2   สามารถคัดเลือกแหล่งข้อมูลเพื่อการตัดสินใจได้
5.2.1    ใช้ PowerPoint ที่น่าสนใจ ชัดเจน ง่ายต่อการติดตามทำความเข้าใจ ประกอบการสอนในชั้นเรียน
5.2.2    การมอบหมายงานที่ต้องมีการนำเสนอทั้งในรูปเอกสารและด้วยวาจาประกอบสื่อเทคโนโลยี
5.3.1  ประเมินทักษะการใช้สื่อและการใช้ภาษาพูดจากการนำเสนอรายงานหน้าชั้นเรียน
          5.3.2  ประเมินรายงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
ไม่มีข้อมูล
สุทธิมา ชำนาญเวช.2547. การวิเคราะห์เชิงปริมาณ. พิมพ์ซ้ำครั้งที่ 5. บริษัทวิทยพัฒน์ จากัด : กรุงเทพมหานคร
นรินทร์ โอฬารกิจอนันต์.2548.เอาตัวรอดด้วยทฤษฏีเกม.พิมพ์ครั้งที่ 6 . สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กทม.
วรรณภา ธิติธนานนท์.การวิเคราะห์เชิงปริมาณ.สุราษฎร์ธานี.คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
อัจฉรา จันทร์ฉาย.2546. การจัดการเชิงปริมาณสาหรับนักบริหาร. พิมพ์ครั้งที่ 5. สานักพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย: กรุงเทพมหานครประกาศ
ใช้การทดสอบย่อยในแต่ละบท
      เก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน โดยการทดสอบกลางภาค ทดสอบย่อย และปลายภาค
 
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

การประมวลความคิดเห็นของนักศึกษา การประเมินการสอนของตนเองและสรุปปัญหา อุปสรรค แนวทางแก้ไขเมื่อสิ้นสุดการสอน เพื่อเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการปรับปรุงรายวิชาในภาคการศึกษาต่อไป การปรับปรุงรายละเอียดของรายวิชา เพื่อพัฒนารูปแบบ วิธีการเรียนการสอน และวิธีการฝึกการวิเคราะห์
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในรายวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

ทบทวนงานที่ให้ผู้เรียนไปค้นคว้า จัดทำว่ามีความเหมาะสมมากน้อยเพียงใด ทบทวนข้อสอบกลางภาคและปลายภาคที่ใช้วัดความรู้ว่ามีความยากง่ายเหมาะสมเพียงใด

 
5. การดำเนินการทบทวนและการวางแผนปรับปรุงประสิทธิผลของรายวิชา
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอน และรายละเอียดรายวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

นำข้อคิดเห็นของนักศึกษามาประมวล เพื่อปรับปรุงเนื้อหาและการจัดการเรียนการสอนในรุ่นต่อไป นำผลการประเมินการสอนของตนเองมาจัดเทียบเคียงกับข้อคิดเห็นของนักศึกษา เพื่อพัฒนาเนื้อหาสาระให้ทันสมัย ปรับวิธีการเรียนการสอน และวิธีการประเมินผลให้ตรงกับผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง