เศรษฐศาสตร์มหภาค

Macroeconomics

รู้ปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ รู้รูปแบบการทำงานของระบบเศรษฐกิจ กลไกและแนวคิดทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมาย ความสำคัญ และประโยชน์ของวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค รู้ความหมายและวิธีการคำนวณรายได้ประประชาชาติ เข้าใจองค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ และการกำหนดรายได้ประชาชาติดุลยภาพ เข้าใจอุปสงค์และอุปทานของเงิน สถาบันการเงิน เข้าใจภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด เข้าใจทฤษฎีและนโยบายการเงิน  นโยบายการคลัง นโยบายการค้าและการเงินระหว่างประเทศ

เข้าใจการแก้ปัญหาเศรษฐกิจมหภาคและการพัฒนาเศรษฐกิจ
1. เพื่อเพิ่มการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสืบค้นข้อมูล
2. เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ที่สามารถนำมาใช้ได้กับสถานการณ์ปัจจุบัน
ศึกษาเกี่ยวกับปัญหาพื้นฐานทางเศรษฐศาสตร์ รูปแบบและการทำงานของระบบเศรษฐกิจ  กลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านการวัดรายได้ประชาชาติ  องค์ประกอบและตัวกำหนดรายได้ประชาชาติ  การบริโภค  การออม  การลงทุน   รายได้และรายจ่ายของรัฐบาลและการค้าต่างประเทศ ระดับรายได้ และผลผลิตดุลยภาพระบบธนาคาร ตลาดเงิน อุปทานของเงิน  อุปสงค์ของเงิน การกำหนดอัตราดอกเบี้ยดุลยภาพ ภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด ตลาดแรงงาน  การจ้างงาน นโยบายการเงิน นโยบายการคลังและการว่างงาน ทฤษฎีและนโยบายการค้าระหว่างประเทศ ดุลการเงิน การพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้
- อาจารย์ผู้สอนประจำรายวิชา  แจ้งช่องทางการส่งงานที่นักศึกษาได้รับมอบหมาย
- อาจารย์ผู้สอนจัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
       (เฉพาะรายที่ต้องการ)
พัฒนาผู้เรียนให้มีจิตสำนึกในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเอง  ต่อผู้อื่น  ตรงต่อเวลา  มีมโนธรรมสามารถแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  ความชั่ว  โดยมีคุณธรรมจริยธรรม  ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้

มีความซื่อสัตย์สุจริต  ซื่อตรงต่อหน้าที่  ต่อตนเองและต่อผู้อื่น  ไม่เอารัดเอาเปรียบผู้อื่น และมีความสำนึกรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย มีความกตัญญู  ความเสียสละ ความอดทน  ความเพียรพยายาม มีความพอเพียงเป็นหลักในการดำเนินชีวิต โดยยึดแนวความคิดความพอประมาณ  ความมีเหตุผล และการสร้างภูมิคุ้มกัน มีความเคารพต่อกฎ  ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ขององค์กรและสังคม

มีจิตสำนึกและมีนโนธรรมที่จะแยกแยะความถูกต้อง  ความดี  และความชั่ว
บรรยายพร้อมสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม

ให้ความสำคัญในด้านระเบียบวินัย  การตรงต่อเวลา และการส่งงานภายในเวลาที่กำหนด
1.3.1    ประเมินผลจากพฤติกรรมการเข้าเรียน และการส่งงานที่ได้รับมอบหมายตรงเวลา
1.3.2    การอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงานอย่างถูกต้อง และเหมาะสม
           มีความรู้ในกลไกและแนวคิดของทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค ในด้านรายได้ประชาชาติ รายได้ประชาชาติดุลยภาพ  องค์ประกอบของรายได้ประชาชาติ  ภาวะเงินเฟ้อ  ภาวะเงินฝืด ทฤษฎีและนโยบายการเงิน การคลัง การค้าและการเงินระหว่างประเทศ ตลอดถึงการพัฒนาเศรษฐกิจและการกระจายรายได้  และมีความรู้ตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้

มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ที่เป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับการเรียนด้านบริหารธุรกิจ ที่ครอบคลุมทั้งการบัญชี  เศรษฐศาสตร์  นิติศาสตร์  ศิลปะศาสตร์  วิทยาศาสตร์ มีความรู้และความเข้าใจในสาระสำคัญของศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจทางการตลาด  การเงิน  การผลิต และการดกำเนินงานรวมทั้งการจัดองค์กร  ทรัพยากรมนุษย์ มีความรู้ความเข้าใจในสาระสำคัญเกี่ยวกับกระบวนการบริหารธุรกิจ  ในด้านการวางแผน  การควบคุมและการประเมินผลการดำเนินงานรวมทั้งการปรับปรุงแผนงาน มีความรู้เกี่ยวกับความก้าวหน้าทางวิชาการและวิชาชีพด้านบริหารธุรกิจรวมทั้งมีความเข้าใจในสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงและผลกระทบอย่างเท่าทัน
2.2.1    จัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
2.2.2    ใช้การสอนหลายรูปแบบ ตามลักษณะของเนื้อหารายวิชา โดยเน้นหลักของทฤษฎี และลงมือปฏิบัติเพื่อให้เกิดองค์ความรู้
2.2.3    มอบหมายให้ทำแบบฝึกหัด หรือศึกษากรณีศึกษา  และนำเสนอหน้าชั้นเรียน
ประเมินผลจากงานที่มอบหมาย หรือ ศึกษากรณีศึกษา  และการนำเสนอหน้าชั้นเรียน
                   ผู้เรียนสามารถสืบค้น  จำแนกและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อให้ได้ซึ่งสาระสนเทศทางด้านเศรษฐศาสตร์/เศรษฐกิจระดับมหภาคที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหาและตัดสินใจอย่างเหมาะสม ตลอดจนถึง มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์ โดยมีทักษะทางปัญญาตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้
3.1.1    มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์  ต่อยอดกรอบความรู้เดิม สามารถบูรณาการความรู้ในสาขาวิชาที่ศึกษาและประสบการณ์เพื่อให้เกิดนวัตกรรม  กิจกรรม  หรือแนวทางในการบริหารธุรกิจใหม่ๆ
3.1.2    สามารถสืบค้น  จำแนก  และวิเคราะห์ข้อมูล เพื่อให้ได้ซึ่งสารสนเทศที่เป็นประโยชน์ในการแก้ไขปัญหา และตัดสินใจอย่างเหมาะสม
3.1.3    สามารถคิดค้นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งสามารถวิเคราะห์ทางเลือกและผลกระทบที่เป็นผลจากทางเลือกอย่างรอบด้าน โดยการนำความรู้และประสบการณ์มาประยุกต์ใช้
3.1.4    มีความกล้าในการตัดสินใจเลือกทางเลือกที่สอดคล้องกับสถานการณ์
3.2.1    การมอบหมายงานให้นักศึกษา
3.2.2 วิเคราะห์กรณีศึกษา  เกี่ยวกับเศรษฐศาสตร์/เศรษฐกิจระดับมหภาค
3.3.1    ประเมินจากเอกสารรายงาน
3.3.2    ประเมินจากกรณีศึกษา
พัฒนาผู้เรียนให้สามารถทำงานเป็นกลุ่ม  ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่นได้  ประสานงานได้  โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้
4.1.1    มีความสามารถในการประสานงาน มีมนุษยสัมพันธ์และสามารถสร้างสัมพันธภาพอันดีกับผู้อื่นด้วยพื้นฐานความเข้าใจถึงความแตกต่างของผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างมีจิตวิทยา
4.1.2    มีความสามารถในการทำงานเป็นกลุ่ม  การประสานงาน  การมอบหมายบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบ พร้อมทั้งให้ความช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกต่อเพื่อนร่วมงาน ซึ่งเป็นการแสดงออกถึงความเป็นผู้นำที่มีความรับผิดชอบ
4.1.3    มีความกระตือรือร้นและความสามารถในการทำงานร่วมกับผู้อื่นอย่างมีความรับผิดชอบ ยอมรับฟังและเคารพความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งมีความเป็นผู้ตามในจังหวะที่เหมาะสม
4.1.4  มีความสามารถในการริเริ่มแสดงความคิดเห็นใหม่ๆ ที่อาจมีความแตกต่าง อย่างสร้างสรรค์
4.2.1    จัดกิจกรรมกลุ่ม ในการวิเคราะห์กรณีศึกษา
4.2.2    มอบหมายงานรายกลุ่ม
4.3.1    ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ
4.3.2    สังเกตพฤติกรรมการทำงานเป็นทีม
 
                   สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐานและเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงานค้นคว้าข้อมูลสารสนเทศทางเศรษฐศาสตร์/เศรษฐกิจระดับมหภาคและสามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา  มีความสามารถนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเรียน  การทำงานที่ได้รับมอบหมายและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี  โดยมีทักษะดังกล่าวตามคุณสมบัติของหลักสูตรดังนี้
5.1.1     สามารถประยุกต์ใช้หลักคณิตศาสตร์  สถิติและการวิเคราะห์เชิงปริมาณมาใช้ในการวิเคราะห์และตัดสินใจในทางธุรกิจ
5.1.2     สามารถสื่อสารภาษาไทยและภาษาต่างประเทศได้อย่างมีสิทธิภาพ
5.1.3     สามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์พื้นฐาน และเทคโนโลยีระบบสารสนเทศที่จำเป็นต่อการปฏิบัติงาน
5.1.4     สามารถสื่อสารเพื่ออธิบายและสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้อง  ทั้งในรูปแบบการเขียนรายงานและการนำเสนอด้วยวาจา
5.1.5     สามารถสื่อสารด้วยบุคลิกภาพที่น่าเชื่อถือ และสามารถเลือกใช้รูปแบบของสื่อเทคนิควิธีการและเทคโนโลยีที่เหมาะสม สอดคล้องกับกลุ่มบุคคลที่มีพื้นฐานและแนวความคิดที่หลากหลาย
 
 
5.1.6     ความสามารถนำเทคโนโลยีไปเป็นเครื่องมือในการสนับสนุนในการดำเนินงานและทราบถึงข้อจำกัดของเทคโนโลยี
5.1.7     ความสามารถนำเทคโนโลยีการสื่อสารแบบเครือข่าย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารและดำเนินงาน
5.2.1     มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าทางอินเทอร์เน็ต และทำรายงานโดยให้ความสำคัญในการอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูล
5.2.2     ส่งเสริมให้มีการตัดสินใจจากข้อมูลบนฐานข้อมูลและข้อมูลเชิงตัวเลข
5.2.3     การใช้ศักยภาพทางคอมพิวเตอร์ และเทคโนโลยีสารสนเทศในงานที่ได้รับมอบหมาย
5.3.1   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
5.3.2   ประเมินจากผลงานการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศที่มอบหมาย
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 บทที่ 1-3,4,5-8 บทที่ 1-3 บทที่ 4-8 -การทดสอบย่อย -การสอบกลางภาค -การสอบปลายภาค 6,7,11,16 8 17 20% 30% 20%
2 บทที่ 2,3,4-8 การวิเคราะห์กรณีศึกษา การค้นคว้า การนำเสนอรายงาน -การทำรายงาน/งานที่มอบหมาย -การส่งงานตามกำหนดเวลา ตลอดภาคการศึกษา ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 การเข้าชั้นเรียน -การมีส่วนร่วมในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
เอกสารประกอบการสอนวิชาเศรษฐศาสตร์มหภาค ผู้ช่วยศาสตราจารย์กรรณิการ์  ฤทธิ์ขุนคณะบริหารธุรกิจและศิลปะศาสตร์  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา  ตาก
รศ.ดร.รัตนา  สายคณิต และคณะ.  พื้นฐานเศรษฐศาสตร์มหภาค:โครงการตำรา
คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ
รศ.ดร.รัตนา  สายคณิต และคณะ . หลักเศรษฐศาสตร์  2 : มหเศรษฐศาสตร์.  โครงการตำรา
คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ
รศ.ดร.ประพันธ์  เศวตนันนท์  .ทฤษฎีเศรษฐศาสตร์มหภาค.   โครงการตำรา
คณะเศรษฐศาสตร์จุฬาฯ
หนังสือพิมพ์ธุรกิจต่างๆเช่นประชาชาติธุรกิจฐานเศรษฐกิจผู้จัดการฯลฯ
     วารสารนิตยสารบทความหรืองานวิจัยต่างๆทางเศรษฐศาสตร์และเว็บไซด์ เช่น www.bot.or.thwww.nesdb.go.th
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษา ได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา

ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด  ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
2.1   ผลการเรียนของนักศึกษา
2.2   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ  2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
3.2   การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จากการสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชา ได้ดังนี้
4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์ท่านอื่น
4.2  การตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน  เพื่อให้นักศึกษามีมุมมอง ในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่างๆ