ศิลปะการแกะสลักและการจัดดอกไม้

Arts of Carving and Flower Arrangement

1.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้เกี่ยวกับการจัดดอกไม้ รูปทรง ภาชนะ และการแกะสลักผักและผลไม้ขั้นพื้นฐาน การประดิษฐ์ภาชนะจากใบตอง กระทงแบบต่างๆ การประกอบการตกแต่ง และใส่อาหารได้
1.2 เพื่อนำไปจัดตกแต่งโต๊ะอาหาร เทศกาลและลักษณะการจัดเลี้ยง รวมทั้งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ ความงาม สุนทรียศาสตร์ ความสมดุล มิติ เป็นต้น
2.1 เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจการแกะสลักและการจัดดอกไม้ ผลไม้ทั้งนี้เป็นการเตรียมความพร้อมทั้งทางด้านปัญญาในการนำความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดดอกไม้และการแกะสลักฯ มาประยุกต์ให้เข้ากับบริบทของงานบริการในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและการบริการรวมทั้งธุรกิจบริการอื่น ๆ ได้
2.2 เพื่อให้เพิ่มมูลค่า และสร้างบรรยากาศของงานบริการที่ดีพร้อม และยังเป็นการฝึกทักษะนักเรียนให้มีความชำนาญมาขึ้นในศาสตร์ด้านการจัดดอกไม้ที่เปลี่ยนแปลงไปตามกระแสพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเช่นในรูปแบบของ Zen หรือ Minimal เป็นต้น
พื้นฐานการแกะสลักผักและผลไม้ การจัดตกแต่งจานและโต๊ะอาหาร การประดิษฐ์ภาชนะจากใบตองและวัสดุอื่น ๆ การประกอบการตกแต่งอาหารได้สวยงาม เหมาะสมกับเทศกาล การจัดดอกไม้แบบต่างๆ ลักษณะของภาชนะที่ใช้ในการจัดดอกไม้ การเลือกดอกไม้และใบไม้ การถนอมดอกไม้ให้คงทน การฝึกปฏิบัติจัดดอกไม้ในโอกาสต่างกัน
3.1 อาจารย์ประจำรายวิชาประกาศให้คำปรึกษาในชั่วโมงเรียน
3.2 อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลหรือรายกลุ่ม 3 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
มีความรับผิดชอบในหน้าที่ เป็นสมาชิกที่ดี และมีส่วนร่วมในกิจกรรมเพื่อการพัฒนา มีภาวะผู้นำ และเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้อื่น
สอนคุณธรรม จริยธรรมสอดแทรกในบทเรียนวิชาเฉพาะ
สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน
มีความรู้ในสาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรมทั้งภาคทฤษฏีและภาคปฏิบัติอย่างกว้างขวาง เป็นระบบ เป็นสากล และทันสมัยต่อสถานการณ์โลก
1) การบรรยายภายในชั้นเรียน และการถาม-ตอบ
2) ทำรายงานเปรียบเทียบความรู้จากห้องเรียนกับการทำงานจริง ภาคปฏิบัติ
3) ฝึกปฏิบัตินอกสถานที่โดยร่วมกับมืออาชีพ (professional) ในวิชานั้นๆ
1) ทดสอบทฤษฎีและปฏิบัติ โดยการสอบย่อย และให้คะแนน
2) ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน
มีความสามารถประมวลและศึกษาข้อมูลเพื่อวิเคราะห์สาเหตุของปัญหา และความขัดแย้ง รวมทั้งหาแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาได้อย่างเหมาะสม ทั้งเชิงกว้างและเชิงลึก
1) ฝึกปฏิบัติและจัดทำโครงการเกี่ยวกับธุรกิจนำเที่ยว ธุรกิจโรงแรม ตลอดจนการวิจัย
2) การอภิปรายเป็นกลุ่ม
ประเมินผลจากผลงานที่มอบหมายให้ทำ
มีความสามารถในการปฏิบัติและรับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายตามหน้าที่และบทบาทของตน ในกลุ่มงานได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือผู้ร่วมงานและแก้ไขปัญหาได้
1) บรรจุเนื้อหาความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในรายวิชาชีพ
2) มอบหมายงานเป็นกลุ่มย่อย และแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยหมุนเวียนกันในกลุ่ม
1) ประเมินจากผลงานของกลุ่มและผลงานของผู้เรียนในกลุ่มที่ได้รับมอบหมายให้ทำงาน
2) ประเมินตนเอง และประเมินซึ่งกันและกัน (peer)
3) สังเกตพฤติกรรมในการเรียน
 
มีความสามารถในการใช้ภาษาไทย และภาษาต่างประเทศในการฟัง การพูด การอ่าน การเขียน และการสรุปประเด็นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
นำเสนอผลงานที่ค้นคว้าและอภิปรายด้วยตนเองหรือแบบกลุ่มในห้องเรียน
 
ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน
1) มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานขั้นพื้นฐานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
2) มีทักษะและสามารถปฏิบัติงานตามตำแหน่งงานของบุคลากรวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการ
ทดสอบทักษะทางวิชาชีพด้านการท่องเที่ยวและการบริการโดยการสอบปฏิบัติ
ประเมินผลจากความถูกต้องตามมาตรฐาน
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1. คุณธรรมจริยธรรม 2. ความรู้ 3. ทักษะทางปัญญา 4. ทักษะความสัมพันธ์ระหว่าง บุคคลและความรับผิดชอบ 5. ทักษะ การวิเคราะห์ เชิงตัวเลขและ การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6. ทักษะด้าน การปฏิบัติงานในวิชาชีพ
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3 1 2 3
1 BOATH139 ศิลปะการแกะสลักและการจัดดอกไม้
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 3.2.1,3.2.2,3.3.2 สังเกตการแสดงพฤติกรรมระหว่างผู้เรียนร่วมกันและกับผู้สอนทุกคน ตลอดภาคการศึกษา 10%
2 2.1, 3.1, 4.1 ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน (Project 1) 8 10%
3 2.1 ทดสอบโดยการสอบข้อเขียนกลางภาค 9 20%
4 2.1, 3.1, 4.1 - ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายในแต่ละสัปดาห์ - การบริหารจัดการและความพร้อมของวัสดุอุปกรณ์ในการเรียน - ความสะอาดเรียบร้อยและความรับผิดชอบ ทุกสัปดาห์ 20%
5 5.1 ประเมินผลจากการนำเสนอผลงาน (Project 2) 15 30%
6 2.1, 3.1, 4.1 ประเมินผลจากการทำงานที่ได้รับมอบหมายและรายงาน (Portfolio) 16 10%
ชูเกียรติ  ศิริวงศ์, การแกะสลักและการจัดดอกไม้. เอกสารประกอบการสอน มทร.ล้านนา
วารสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดตกแต่งดอกไม้ ในการจัดงานในลักษณะต่างๆ ให้มีความทันสมัยและสามารถนำมาต่อยอดเชิงสร้างสรรค์
วารสารวิชาการ วารสารงานวิจัย นิตยสาร ที่เกี่ยวข้อง โดยนักศึกษาสามารถศึกษาค้นคว้าได้ด้วยตนเอง
ให้นักศึกษาประเมินเมื่อสิ้นสุดการเรียนการสอนในประเด็นต่อไปนี้
1.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนในประเด็นต่อไปนี้

ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน

1.2 ให้นักศึกษาประเมินภาพรวมของรายวิชาในประเด็นต่อไปนี้

ความรู้ความสามารถโดยรวมและประโยชน์ที่ได้รับจากการเรียนวิชานี้ ความพึงพอใจต่อการเรียนวิชานี้

ข้อเสนอแนะอื่นๆ
2.   กลยุทธ์การประเมินการสอน
ให้อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาหรืออาจารย์ประจำหลักสูตร ดำเนินการดังต่อไปนี้
2.1 ให้นักศึกษาประเมินอาจารย์ผู้สอนและภาพรวมของรายวิชาตาม ข้อ 1
2.2 สุ่มสังเกตการสอนและการประเมินการจัดการเรียนการสอน (โดยเพื่อนอาจารย์) ในประเด็นต่อไปนี้
ความตรงต่อเวลา การแต่งกาย บุคลิกภาพ คำพูดและวาจาสุภาพ เหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดี สอดแทรกคุณธรรมและจริยธรรมระหว่างการสอน ความสามารถในการถ่ายทอดเนื้อหาให้เขาใจและกระตุ้นการเรียนรู้ แจ้งและสรุปวัตถุประสงค์ของหัวข้อที่สอน จัดการเรียนการสอนให้เกิดการเรียนรู้ตรงกับที่ระบุไว้ในวัตถุประสงค์การศึกษา การเปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้ซักถาม แสดงความคิดเห็นระหว่างการเรียนการสอน
2.3 ให้อาจารย์ผู้สอนประเมินตนเอง ในประเด็นต่อไปนี้
ความเหมาะสมของเวลาที่ใช้ในการเตรียมสอน ความพึงพอใจของผู้สอนต่อผลการสอน ข้อที่ควรปรับปรุงแก้ไขหรือพัฒนาตนเองในการสอนครั้งต่อไป
หลังจากผลการประเมินการสอนข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้
3.1 สัมมนา ประชุมปฏิบัติการการจัดการเรียนการสอน
3.2 การวิจัยในชั้นเรียน
4.1. การประเมินโดยการทบทวนมีการสอนตาม มคอ.3 ที่ได้กำหนดไว้ในแผนการเรียน
 4.2. การประเมินโดยผู้เรียนในรายวิชา
4.3. ประเมินเนื้อหารายวิชาและการวัดผลการเรียนรู้ของมคอ.3 โดยกรรมการทวนสอบของหลักสูตร
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้
5.1 ปรับปรุงรายวิชาทุก 1 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
5.2 เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ