ทฤษฎีสี

Theory of Color

 
        1.1 เพื่อให้ผู้เรียนนำความรู้ที่ได้รับเกี่ยวกับทฤษฎีสีที่นำมาใช้ในการออกแบบได้            
        1.2 เพื่อให้ผู้เรียนเลือกใช้ค่าสีนำมาใช้ในงานออกแบบได้อย่างเหมาะสม                      
        1.3 เพื่อให้ผู้เรียนมีความคิดสร้างสรรค์ในการนำไปใช้ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้อย่างเหมาะสมกับผลิตภัณฑ์
        1.4 ให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจหลักการจัดองค์ประกอบศิลป์ให้เกิดความงาม
        1.5 ให้ผู้เรียนรู้หลักการและเข้าใจในการสร้างสรรค์ผลงานภาพ 2 มิติและ 3 มิติ
        1.6 ให้ผู้เรียนอธิบายเกี่ยวกับการสร้างสรรค์ผลงานให้มีความงามได้
        1.7 ให้ผู้เรียนนำความรู้เกี่ยวกับสีไปประยุกต์ใช้ในการออกแบบต่อไปได้
   เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ขั้นพื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญญาในการนำความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสังคม เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ควรมีการเปลี่ยนแปลงตัวอย่างอ้างอิงให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน
           ศึกษาและฝึกปฏิบัติเกี่ยวกับแม่สีและสีผสม วงจรสี วรรณะของสี ค่าน้ำหนักของสี กลุ่มสี สีคู่ปฏิปักษ์ หลักการและเทคนิคการใช้สี จิตวิทยาสี
 -   อาจารย์ประจำรายวิชา  ประกาศเวลาให้คำปรึกษาภายในชั้นเรียน
 -   อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์ (เฉพาะรายที่ต้องการ)
  พัฒนาผู้เรียนให้มีความรับผิดชอบ มีวินัย มีจรรยาบรรณวิชาชีพ โดยมีคุณธรรม จริยธรรมตามคุณสมบัติหลักสูตร  ดังนี้
      1. ตระหนักในคุณค่าและคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ ซื่อสัตย์สุจริต กตัญญูและเที่ยงธรรม
      2. มีวินัย  ตรงต่อเวลา และความรับผิดชอบหน้าที่  มีความมุ่งมั่นในการทำงานให้สำเร็จ
      3. สุภาพอ่อนน้อม ถ่อมตน รู้จักกาละเทศะ ใจกว้าง เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
      4. มีน้ำใจ มีจิตอาสา จิตสาธารณะเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมและเห็นอกเห็นใจผู้อื่น
      5. มีความพอเพียง
      6. เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม
      7. มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ
  1.2.1 บรรยายพร้อมยกตัวอย่างเกี่ยวกับประเด็นทางคุณธรรม และ จริยธรรม
  1.2.2 อาจารย์ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี
  1.2.3 สอดแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับด้านคุณธรรม จริยธรรมเกี่ยวกับวิชาชีพในการครองตนและการศึกษาระหว่างสอน
   1.3.1   พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา
   1.3.2   พฤติกรรมที่แสดงออกในชั้นเรียนและกิจกรรมที่สาขาฯจัดขึ้น
   1.3.3   สังเกตพฤติกรรมการทำงานเดี่ยวและกลุ่ม ร่วมกัน การแก้ปัญหา การเสียสละการบริหารจัดการงานส่วนรวม
   2.1.1 มีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการและทฤษฎีสี นักศึกษารู้ขั้นตอนการผสมสี เข้าใจวงจรสีการจับคู่สีรวมถึงจิตวิทยาการใช้สี สามารถวิเคราะห์การจับคู่สีต่างๆในการออกแบบได้
   2.1.2 มีประสบการณ์ในการพัฒนาและฝึกปฏิบัติงานด้านออกแบบ
   2.1.3 สามารถบรูณาการความรู้ในรายวิชาที่ศึกษากับความรู้ในศาสตรอื่นๆที่เกี่ยวข้อง
   2.2.1 เน้นการเรียนการสอนที่เป็น active learning
   2.2.2 จัดให้มีการเรียนรู้จากสถานการณ์จริง
   2.2.3 บรรยายในชั้นเรียน ยกตัวอย่างและให้ปฏิบัติงานพัฒนาผลิตภัณฑ์หรือการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับตัวผลิตภัณฑ์โดยการนำเอาหลักการในรายวิชาทฤษฎีสีไปใช้ในการประยุกต์หรือพัฒนา
   2.3.1  สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี
   2.3.2  ประเมินจากการปฏิบัติงาน, ผลงาน
   2.3.3  การตอบคำถาม
   2.3.4  การนำเสนอหน้าชั้นเรียน
      พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
    3.2.1  บรรยาย และการให้นักศึกษาปฏิบัติโครงงานที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา
    3.2.2  ฝึกตอบคำถามในชั้นเรียนแสดงความคิดเห็นต่อปัญหา ระดมสมองในการแก้ปัญหา
    3.2.3  มอบหมายงานเดี่ยวและงานกลุ่ม
    3.2.4  การสะท้อนแนวคิดจากการประพฤติ
    3.3.1   พิจารณาจากผลงานการปฏิบัติงานหลังจากการเรียนรู้ทางทฤษฎีแล้ว
    3.3.2   สอบปลายภาคโดยเน้นการคิดวิเคราะห์และสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาทางทฤษฎีมาสู่การออกแบบสร้างสรรค์ในทางปฏิบัติได้
    3.3.3   การนำเสนอผลงานหน้าชั้นเรียนและมีการคิดวิเคราะห์วิจารณ์ร่วมกัน
  4.1.1 พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน
  4.1.2 พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
  4.1.3 การมีปฎิสัมพันธ์ที่ดีต่อบุคคลรอบข้าง สามารถปรับตัวให้เข้ากับสังคมและสิ่งแวดล้อม
  4.1.4 กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
  4.1.5 เข้าใจบทบาทของความเป็นผู้นำและผู้ตาม มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่และบทบาทของตน
  4.1.6 สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าในสถานการณ์หลากหลายได้อย่างเหมาะสม
    4.2.1   มอบหมายงานรายกลุ่มเพื่อให้นักศึกษาได้ทำงานกับผู้อื่น และรายงานรายบุคคล
    4.2.2   กำหนดหน้าที่รับผิดชอบของนักศึกษาแต่ละคนให้ชัดเจน
    4.2.3   การนำเสนอรายงาน
   4.3.1  ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ และผลการปฏิบัติงาน การมีส่วนร่วมในการทำงานกลุ่ม
   4.3.2  ประเมินจากงานที่มอบหมาย  
   4.3.3  การสังเกพฤติกรรมระหว่างทำกิจกรรมกลุ่ม
  5.1.1  พัฒนาทักษะด้านการสื่อสารโดยการรายงานและการนำเสนอผลงานในชั้นเรียน
  5.1.2  พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง  การเขียน
  5.1.3  พัฒนาทักษะในการสืบค้น  ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต
  5.1.4  ทักษะในการนำเสนอรายงานโดยใช้รูปแบบ เครื่องมือ และเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  5.1.5  มีความสามารถในการค้นคว้าหาความรู้ทางด้านวิชาการที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ล้านนา
  5.2.1   มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์ โดยเน้นการอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ
  5.2.2   นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
  5.2.3   ใช้ Power Piont บรรยาย
          -  ฝึกทักษะการวิเคราะห์และแก้ปัญหาในกรณีเหตุการณ์สมมติ
          -  การแนะนำเทคนิคการสืบค้นและคัดเลือกแหล่งข้อมูล
   5.3.1   ตรวจสอบความถูกต้องของแนวคิด และวิธีการแก้ปัญหาโดยใช้พื้นฐานความรู้ที่เรียนมา
   5.3.2   จากผลการสืบค้นข้อมูลด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ
   5.3.3   ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี
   5.3.4   ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
   5.3.5   ให้คะแนนผลงานและการนำเสนอ
   6.1.1 มีทักษะด้านแนวคิดในการนำเอาความคิดสร้างสรรค์ การออกแบบจากแรงบันดาลใจจากทฤษฎีสีมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบ
   6.1.2 มีทักษะในการทำหุ่นจำลองและผลิตชิ้นงานต้นแบบ โดยใช้หลักการของทฤษฎีสีในการออกแบบผลิตภัณฑ์  
   6.1.3 มีทักษะในการใช้ทฤษฎีสีทางการออกแบบในด้านของความงาม  ด้านประโยชน์ใช้สอย
   6.2.1 บรรยายประกอบการยกตัวอย่างด้วยสื่อการสอนมัลติมีเดีย การคิดวิเคราะห์ ถาม ตอบในชั้นเรียน
   6.2.2 มอบหมายงานให้ไปปฏิบัติงานในการออกแบบเพื่อฝึกทักษะ
   6.2.3 วิเคราะห์ วิพากษ์ผลงานของนักศึกษาแต่ละชิ้น เพื่อเป็นการเรียนรู้ร่วมกันในชั้นเรียน
   6.3.1 ประเมินจากผลงานที่ได้ปฏิบัติงานของนักศึกษาที่ได้รับมอบหมาย ตามกระบวนการออกแบบ การปฏิบัติงานและการนำเสนอผลงาน 
แผนที่แสดงการกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสู่รายวิชา (Curriculum Mapping)
กลุ่มวิชา 1.คุณธรรม จริยธรรม 2.ความรู้ 3.ทักษะทางปัญญา 4.ทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ 5.ทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลขและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ 6.ทักษะพิสัย
ลำดับ รหัสวิชา ชื่อวิชา 1 2 3 4 1 2 3 1 2 1 2 3 4 1 2 3 1 2 3
1 40000003 ทฤษฎีสี
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 2.3.1, 3.3.1 1. สอบกลางภาค สอบปลายภาค 2. คะแนนจากการประเมินงานที่ได้รับมอบหมาย 8,17/1-7,9-16 30%
2 2.3.2, 3.3.2, 3.3.3, 4.3.1, 4.3.2, 5.3.1, 5.3.2 การปฏิบัติงานและผลงาน แบบฝึกหัด - การทำงานเป็นทีม - ความรู้ความเข้าใจ - พัฒนาการในการใช้สี - กระบวนการในการทำงาน - การส่งงานตามที่ได้รับมอบหมาย - การนำเสนอรายงานผลการวิเคราะห์พัฒนาการผลงานของตนเองในรูปแบบแฟ้มสะสมผลงาน 1-17 60%
3 1.1, 1.2, 1.3 - การเข้าชั้นเรียน - การแต่งกาย - การส่งงานตามเวลาที่กำหนด - การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็น 1-17 10%
  1.1 โกสุม  สายใจ. สีและการใช้สี.กรุงเทพฯ : อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พับลิสซิ่ง, 2540.
  1.2 ฉัตร์ชัย  อรรถปักษ์. องค์ประกอบศิลปะ.กรงุเทพฯ : วิทยพัฒน์, 2550.
  1.3 โชดก  เก่งเขตรกิจ. ทฤษฎีและปฏิบัติศิลปะ. กรุงเทพฯ : เสริมวิทยบรรณาคาร, 2530.
  1.4 ทวีเดช  จิ๋วบาง. เรียนรู้ทฤษฎีสี.กรงุเทพฯ : โอเดียนสโตร์, 2547.
  1.5 สมเกียรติ  ตั้งนโม. ทฤษฎีสี.กรุงเทพฯ : โอเอสพริ้นติ้งเฮ้าส์, 2536.
  1.6 สุชาติ    เถาทอง. หลักการทัศนศิลป์.กรุงเทพฯ : นําอักษรการพิมพ์, 2538.
 
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ที่จัดทำโดยนักศึกษาได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจาก
นักศึกษาไว้ดังนี้
        1.1 การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน
        1.2 แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์  ดังนี้
       2.1   การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน
       2.2   ผลการเรียนของนักศึกษา
       2.3   การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอนโดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน  ดังนี้
       3.1   สัมมนาการจัดการเรียนการสอน
     ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชาได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการทดสอบย่อยและหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้
       4.1  การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร
       4.2   มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา  ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษาโดยตรวจสอบข้อสอบ วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา  ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา  เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น  ดังนี้
      5.1   ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ตามข้อ 4
      5.2   เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์