ระบบไฟฟ้ากำลัง

Electric Power System

เพื่อให้นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง วงจรกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบต่อหน่วย แบบจำลองและคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบจำลองและคุณลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายส่งไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายเคเบิล พื้นฐานของการไหลกำลังไฟฟ้า และการคำนวณความผิดพร่องทางไฟฟ้า
เพื่อให้นักศึกษามีความรู้พื้นฐาน เป็นการเตรียมความพร้อมด้านปัญหาในการนำความรู้ ความเข้าใจในระบบไฟฟ้ากำลัง เพื่อเป็นพื้นฐานการเรียนในวิชาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ มีการปรับปรุงเนื้อหาให้สอดคล้องกับที่สภาวิศวกรกำหนด
ศึกษาเกี่ยวกับโครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง วงจรกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบต่อหน่วย แบบจำลองและคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบจำลองและคุณลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายส่งไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายเคเบิล พื้นฐานของการไหลกำลังไฟฟ้า และการคำนวณความผิดพร่องทางไฟฟ้า
- อาจารย์ประจำรายวิชา ประกาศเวลาให้คำปรึกษาผ่านโซเชียลกลุ่ม
- อาจารย์จัดเวลาให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคล หรือรายกลุ่มตามความต้องการ 1 ชั่วโมง/สัปดาห์(เฉพาะรายที่ต้องการ)
- อาจารย์ผู้สอนแนะนำเวปไซด์ต่างๆการสืบค้นเนื้อหาตรงตามคำอธิบายรายวิชา
นักศึกษาต้องมีคุณธรรม จริยธรรมเพื่อให้สามารถดำเนินชีวิตร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างราบรื่นและเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม อาจารย์ที่สอนในแต่ละวิชาต้องพยายามสอดแทรกเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งต่อไปนี้ทั้ง 5 ข้อ เพื่อให้นักศึกษาสามารถพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมไปพร้อมกับวิทยาการต่างๆ ที่ศึกษา รวมทั้งอาจารย์ต้องมีคุณสมบัติด้านคุณธรรม จริยธรรมอย่างน้อย 5 ข้อตามที่ระบุไว้

เข้าใจและซาบซึ้งในวัฒนธรรมไทย ตระหนักในคุณค่าของระบบคุณธรรม จริยธรรม เสียสละ และ ซื่อสัตย์สุจริต มีวินัย ตรงต่อเวลา รับผิดชอบต่อตนเองและสังคม เคารพกฎระเบียบและข้อบังคับต่าง ๆ ขององค์กรและสังคม มีภาวะความเป็นผู้นำและผู้ตาม สามารถทำงานเป็นหมู่คณะ สามารถแก้ไขข้อขัดแย้งตามลำดับความสำคัญ เคารพสิทธิและรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น รวมทั้งเคารพในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ สามารถวิเคราะห์และประเมินผลกระทบจากการใช้ความรู้ทางวิศวกรรมต่อบุคคล องค์กร สังคม และสิ่งแวดล้อม มีจรรยาบรรณทางวิชาการและวิชาชีพ และมีความรับผิดชอบในฐานะผู้ประกอบวิชาชีพ รวมถึงเข้าใจถึงบริบททางสังคมของวิชาชีพวิศวกรรมในแต่ละสาขา ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
แนะนำกฎระเบียบการเข้าชั้นเรียน บรรยายพร้อมสอดแทรกเกี่ยวกับประเด็นทางจริยธรรมที่เกี่ยวข้อง มอบหมายงาน,แบบฝึกหัดโดยแบ่งหัวข้องานให้ไปศึกษาแบบรายกลุ่ม
พฤติกรรมการเข้าเรียน และส่งงานที่ได้รับมอบหมายตามขอบเขตที่ให้และตรงเวลา มีการอ้างอิงเอกสารที่ได้นำมาทำรายงาน อย่างถูกต้องและเหมาะสม ประเมินผลการวิเคราะห์กรณีศึกษา ประเมินผลการนำเสนอรายงานที่มอบหมาย

 
นักศึกษาด้องมีความรู้เกี่ยวกับโครงสร้างระบบไฟฟ้ากำลัง วงจรกำลังไฟฟ้ากระแสสลับ ระบบต่อหน่วย แบบจำลองและคุณลักษณะของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า แบบจำลองและคุณลักษณะของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายส่งไฟฟ้า ความสัมพันธ์ระหว่างแรงดันและกระแสไฟฟ้าในระบบไฟฟ้ากำลัง แบบจำลองและพารามิเตอร์สายเคเบิล พื้นฐานของการไหลกำลังไฟฟ้า และการคำนวณความผิดพร่องทางไฟฟ้า มีคุณธรรม จริยธรรม และความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาที่ศึกษานั้นต้องเป็นสิ่งที่นักศึกษาต้องรู้เพื่อใช้ประกอบอาชีพและช่วยพัฒนาสังคม และเป็นไปตามข้อบังคับรายวิชาของสภาวิศวกร ดังนั้นมาตรฐานความรู้ต้องครอบคลุมสิ่งต่อไปนี้
บรรยาย อภิปราย การทำงานกลุ่ม การนำเสนอรายงาน การวิเคราะห์กรณีศึกษา และมอบหมายให้ค้นหาบทความ ข้อมูลที่เกี่ยวข้อง โดยนำมาสรุปและนำเสนอ การศึกษาโดยใช้ปัญหา และการใช้วิธีการจำลองทางโปรแกรมคอมพิวเตอร์ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
ทดสอบย่อย สอบกลางภาค สอบปลายภาค ด้วยข้อสอบที่เน้นการวัดหลักการและทฤษฏี ประเมินจากการนำเสนอผลการค้นคว้าข้อมูล กรณีศึกษา หรือโจทย์จาก Problem – Based Learning
พัฒนาความสามารถในการคิดอย่างมีการคิดอย่างเป็นระบบ มีการวิเคราะห์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี
การมอบให้นักศึกษาทำแบบฝึกหัดที่ให้วิเคราะห์และแก้ไขปัญหา และการนำเสนอผลงาน อภิปรายผลการทำงานจากงานที่มอบหมายรายกลุ่มตามหัวข้อที่ผู้สอนกำหนด วิเคราะห์กรณีศึกษาหรือโจทย์ปัญหาในระบบไฟฟ้ากำลังโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลการจำลอง การสอบถามความคิดเห็นของผู้เรียนเกี่ยวกับผลการทำแบบฝึกหัด
สอบกลางภาคและปลายภาค โดยเน้นข้อสอบที่มีการวิเคราะห์สถานการณ์ หรือวิเคราะห์การประยุกต์ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลการจำลอง วัดผลจากการประเมินผลการจำลองจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์และการนำเสนอผลงาน สังเกตพฤติกรรมการแก้ไขปัญหา
พัฒนาทักษะในการสร้างสัมพันธภาพระหว่างผู้เรียนด้วยกัน พัฒนาความเป็นผู้นำและผู้ตามในการทำงานเป็นทีม พัฒนาการเรียนรู้ด้วยตนเอง และมีความรับผิดชอบในงานที่มอบหมายให้ครบถ้วนตามกำหนดเวลา
จัดกิจกรรมกลุ่มในการวิเคราะห์กรณีศึกษา มอบหมายงานรายกลุ่มและรายบุคคล โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยวิเคราะห์ผลการจำลอง

การนำเสนอรายงาน
ประเมินตนเอง และเพื่อน ด้วยแบบฟอร์มที่กำหนด ประเมินจากรายงานที่นำเสนอ พฤติกรรมการทำงานเป็นทีม ประเมินจากรายงานการศึกษาด้วยตนเอง
ทักษะการคิดคำนวณ เชิงตัวเลข พัฒนาทักษะในการสื่อสารทั้งการพูด การฟัง การแปล การเขียน โดยการทำรายงาน และนำเสนอในชั้นเรียน พัฒนาทักษะในการวิเคราะห์ข้อมูลจากกรณีศึกษา พัฒนาทักษะในการสืบค้น ข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการสื่อสาร เช่น การส่งทางอีเมล์ การสร้างห้องแสดงความคิดเห็นในเรื่องต่าง ๆ เช่น Wed Board Blog การสื่อสารการทำงานในกลุ่มผ่านห้องสนทนา Chat Room
มอบหมายงานให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง จากเว็บไซต์สื่อการสอน E- Learning และทำรายงานโดยเน้นการนำตัวเลข หรือมีสถิติอ้างอิง จากแหล่งที่มาข้อมูลที่น่าเชื่อถือ นำเสนอโดยรูปแบบและเทคโนโลยีที่เหมาะสม
ประเมินจากรายงาน และรูปแบบการนำเสนอด้วยสื่อเทคโนโลยี ประเมินจากการมีส่วนร่วมในการอภิปรายและวิธีการอภิปราย
มีทักษะในการบริหารจัดการในด้านเวลา เครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีทักษะในการปฏิบัติงานกลุ่ม มีการแบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ และมีความร่วมมือกันเป็นอย่างดี
สร้างทักษะในการปฏิบัติงาน สาธิตการปฏิบัติการโดยผู้เชี่ยวชาญ สนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมทางวิศวกรรมไฟฟ้ากับหน่วยงานภายในและภายนอก จัดนิทรรศการแสดงผลงานของนักศึกษา
มีการประเมินพฤติกรรมการปฏิบัติงาน มีการใช้งานวิจัยของอาจารย์ประกอบการเรียนการสอน มีการประเมินผลการทำงานในภาคปฏิบัติ
กิจกรรมที่ ผลการเรียนรู้ * วิธีการประเมินผลนักศึกษา สัปดาห์ที่ประเมิน สัดส่วนของการประเมินผล
1 1.1,1.2, 1.3, 2.2, 2.4, 3.2,4.4,4.5 ทดสอบย่อยครั้งที่ 1 สอบกลางภาค ทดสอบย่อยครั้งที่ 2 สอบปลายภาค 4 8 12 16 10% 25% 10% 25%
2 1.1-1.3,3.1-3.5,4.4 – 4.5,5.3 วิเคราะห์กรณีศึกษาค้นคว้า การนำเสนอ รายงาน การทำงานกลุ่มและผลงาน การอ่านและสรุปบทความ การส่งงานตามที่มอบหมาย ตลอดภาคการศึกษา 20%
3 1.1 – 1.3, 3.1-3.5 การเข้าชั้นเรียน การมีส่วนร่วม อภิปราย เสนอความคิดเห็นในชั้นเรียน ตลอดภาคการศึกษา 10%
- Elements of Power System Analysis by William D. Stevenson
- เอกสารประกอบการสอน
ไม่มี
เว็บไซต์ ที่เกี่ยวกับหัวข้อในประมวลรายวิชา เช่น MathLAB/simulink
การประเมินประสิทธิผลรายวิชานี้ ที่จัดทำโดยนักศึกษา ได้จัดกิจกรรมในการนำแนวคิดและความเห็นจากนักศึกษาได้ดังนี้

การสนทนากลุ่มระหว่างผู้สอนและผู้เรียน แบบประเมินผู้สอน และแบบประเมินรายวิชา ข้อเสนอแนะผ่านเว็บบอร์ด ที่อาจารย์ผู้สอนได้จัดทำเป็นช่องทางการสื่อสารกับนักศึกษา
ในการเก็บข้อมูลเพื่อประเมินการสอน ได้มีกลยุทธ์ ดังนี้

การสังเกตการณ์สอนของผู้ร่วมทีมสอน ผลการเรียนของนักศึกษา การทวนสอบผลประเมินการเรียนรู้
หลังจากผลการประเมินการสอนในข้อ 2 จึงมีการปรับปรุงการสอน โดยการจัดกิจกรรมในการระดมสมอง และหาข้อมูลเพิ่มเติมในการปรับปรุงการสอน ดังนี้

สัมมนาการจัดการเรียนการสอน การวิจัยในและนอกชั้นเรียน
ในระหว่างกระบวนการสอนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ในรายหัวข้อ ตามที่คาดหวังจากการเรียนรู้ในวิชา ได้จาก การสอบถามนักศึกษา หรือการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษา รวมถึงพิจารณาจากผลการ ทดสอบย่อย และหลังการออกผลการเรียนรายวิชา มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์โดยรวมในวิชาได้ดังนี้

การทวนสอบการให้คะแนนจากการสุ่มตรวจผลงานของนักศึกษาโดยอาจารย์อื่น หรือผู้ทรงคุณวุฒิ ที่ไม่ใช่อาจารย์ประจำหลักสูตร มีการตั้งคณะกรรมการในสาขาวิชา ตรวจสอบผลการประเมินการเรียนรู้ของนักศึกษา โดยตรวจสอบข้อสอบ รายงาน วิธีการให้คะแนนสอบ และการให้คะแนนพฤติกรรม
จากผลการประเมิน และทวนสอบผลสัมฤทธิ์ประสิทธิผลรายวิชา ได้มีการวางแผนการปรับปรุงการสอนและรายละเอียดวิชา เพื่อให้เกิดคุณภาพมากขึ้น ดังนี้

ปรับปรุงรายวิชาทุก 3 ปี หรือตามข้อเสนอแนะและผลการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ เปลี่ยนหรือสลับอาจารย์ผู้สอน เพื่อให้นักศึกษามีมุมมองในเรื่องการประยุกต์ความรู้นี้กับปัญหาที่มาจากงานวิจัยของอาจารย์หรืออุตสาหกรรมต่าง ๆ